'หมอยง' เตือนปีนี้ 'ไข้เลือดออก' ระบาดหนัก

9 มิ.ย. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้เลือดออก ปีนี้จะระบาดมากตามวงจร

ไข้เลือดออกจะระบาดมาก ปีเว้น 1-3 ปี ถ้าดูตามข้อมูลการระบาดของไข้เลือดออกจะมาเป็นระลอกทุก 1-3 ปี ดังแสดงในรูป

การระบาดระลอกใหญ่เกิดขึ้นก่อนการระบาดของโควิด 19 ในปี พ.ศ. 2562 และเว้นช่วงการระบาดในช่วงโควิด ทั้งนี้เพราะเราหยุดอยู่บ้านกันมาก ปิดโรงเรียน มีการล็อกดาวน์ การเดินทางก็น้อยลงการแพร่กระจายเลยน้อยลง

ทั้งที่การระบาดของไข้เลือดออกเกี่ยวกับยุง ไม่ได้เป็นการติดต่อในระบบทางเดินหายใจ จึงว่างเว้นการระบาดใหญ่มาถึง 3 ปี และถ้าตามวงจรปีนี้เป็นปีที่เข้าสู่ภาวะปกติ โอกาสที่จะระบาดเพิ่มขึ้นมีมาก

ฤดูกาลของไข้เลือดออกจะสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการระบาดของโรคทุกคนต้องช่วยกัน ลดการแพร่กระจายของยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้มากที่สุด และป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด จะเป็นการลดการระบาดของโรคลงได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

แพร่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ นักท่องเที่ยวทะลักแห่เที่ยว ฉลองสงกรานต์ 5 วัน เงินสะพัดกว่า 100 ล้าน พลิกโฉมหน้าก้าวสู่เมืองหลัก

งานเฉลิมฉลองสงกรานต์ สีสันมหัศจรรย์ 1,000 ปี และงาน Indigo Blue City ที่จัดขึ้นที่เมืองแพร่ ประสบความสำเร็จเกินคาด นักท่องเที่ยวทะลักจน

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ