
8 ก.ย. 2566 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86 ซึ่งมีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามต่างไปจากอัลฟา (B1.1), โอมิครอน BA.2, XBB.1.5, และ EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จำนวน 54, 32, 28, และ 28 ตำแหน่งตามลำดับ ส่งผลให้โอมิครอน BA.2.86 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มจากผู้ที่เคยรับวัคซีนหรือเคยติดเชื้อโอมิครอน XBB มาก่อนได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับโอมิครอน EG.5.1 ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์หลักอยู่ในขณะนี้
ภูมิคุ้มกันจากผู้ที่เคยรับวัคซีนมาก่อนแต่ก็ยังมีการติดเชื้อโอมิครอน XBB ซ้ำ (breakthrough infection) พบว่าความสามารถเข้าจับและยับยั้งโอมิครอน BA.2.86 ในหลอดทดลองไม่ดีนักและพบว่าโอมิครอน BA.2.86 มีความสามารถในการต่อต้านภูมิคุ้มกันสูงกว่าโอมิครอน EG.5.1 อย่างมีนัยสำคัญถึง 1.6 เท่า

มีข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกให้ยกระดับการเฝ้าจับตาโอมิครอน BA.2.86 ห่างๆ (various under monitoring: VUM) มาเป็นการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด (variant of interest: VOI) เพราะพบว่าโอมิครอน BA.2.86 สามารถหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันสูงได้สูงสุดในบรรดาโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 480 ราย ดับเพิ่ม 2 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 19 – 25 พ.ย. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 480 ราย
‘หมอธีระ’ ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบในไทย ปีนี้มากกว่าปี65 ถึง 30%
สถิติผู้ป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia) ของไทย จากมกราคม ถึงตุลาคม 2023 พบว่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบที่รายงานสู่ระบบรายงาน 506 ของกระทรวงสาธารณสุข
หมอธีระวัฒน์ ย้ำชัดไม่ร่วมมือวิจัยและตัดต่อพันธุกรรมเชื้อไวรัสในค้างคาว หลังพบมีความเสี่ยงสูง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว