
2 พ.ค. 2568 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เด็กเล็ก มีการติดเชื้อโควิด 19 แล้ว และมีภูมิต้านทานแล้วตั้งแต่วัยเด็ก วัคซีนมีความจำเป็นหรือไม่
การศึกษาการติดเชื้อ และภูมิต้านทาน ในวัยเด็กไทย อายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี (น้อยกว่า 5 ปี) มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก วัคซีนอาจไม่มีความจำเป็น
จากข้อมูลทำการศึกษา ในเด็กปกติแข็งแรง อายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี จำนวน 830 คน เป็นกลุ่มจำนวนขนาดใหญ่ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ 2567 หรือปีที่แล้ว ใน 4 จังหวัด คือ อยุธยา อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ และตรัง จะเห็นว่าการติดเชื้อในเด็กเกิดขึ้นเร็วมากในปีแรก พบว่าการติดเชื้อไปแล้ว 80% และเมื่ออายุ 3 ถึง 4 ปี ส่วนใหญ่จะติดเชื้อหมดแล้ว โดยจากประวัติ จะมีอาการน้อยมาก และมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น
เด็กกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดไม่เคยได้รับวัคซีน เราตรวจพบว่าติดเชื้อโควิดแล้ว (anti-N positive) และที่น่าสนใจเมื่อตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสสายพันธุ์ JN.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดในช่วงนั้น พบว่ามีภูมิ neutralizing แล้ว และภูมิต้านทานนี้ ยังสามารถข้ามไปยังสายพันธุ์ดั้งเดิม Wuhan แต่ระดับต่ำกว่า อย่างมีนัยยะสำคัญ
ไวรัสโควิด 19 ขณะนี้กลายพันธุ์ ไม่พบ JN.1 แล้ว ไปจนถึงตัว L แล้ว บ้านเราที่พบ เป็นสายพันธุ์ XEC ที่ค่อนข้างเด่น วัคซีนที่มีขายในบ้านเรายังเป็นสายพันธุ์ JN.1
จากข้อมูลการศึกษาของเรา แสดงให้เห็นว่าเด็กเล็กที่ปกติแข็งแรง ส่วนใหญ่จะติดเชื้อโควิด 19 ตามธรรมชาติ แล้ว และมีอาการน้อยมาก หรือไม่มีอาการ ทั้งที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย
จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าไวรัสนี้ ได้พัฒนาเป็นไวรัสโรคทางเดินหายใจ ที่แพร่กระจายได้ง่ายมาก เด็กเล็กส่วนใหญ่จึงติดไปแล้ว และมีภูมิต้านทานธรรมชาติเกิดขึ้น ส่วนในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ส่วนใหญ่ก็ได้รับภูมิต้านทานจากมารดา การศึกษานี้จึงทำการศึกษาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
จึงไม่มีความจำเป็นในการให้วัคซีนในเด็กเล็กไทยที่ปกติแข็งแรง เพราะส่วนใหญ่จะติดเชื้อในธรรมชาติอยู่แล้ว โดยเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ภายใน 1-2 ปีแรก เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ รายละเอียดดูได้จากรูปที่แสดง

การศึกษานี้ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ยังไม่มีการศึกษามาก่อน ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่ จะมีการนำมาเล่าให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง มีหลายเรื่องที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะ imprint immunity.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จริยธรรม' อยู่สูงกว่ากฎหมาย! 'หมอยง' ชี้ทุกคนต้องยึดมั่น ไม่ใช่เฉพาะแพทย์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนและให้กำลังใจ "แพทยสภา"
จุฬาฯ มหาวิทยาลัยหนึ่งเดียวและตัวแทนของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมฉลอง Pride Month อย่างยิ่งใหญ่ในงาน Bangkok Pride 2025
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมเดินหน้าสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมและเปิดกว้างทางความคิด ด้วยการเข้าร่วมงาน Bangkok Pride 2025 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ธีม “Born to be Together” นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียว ที่ได้รับเกียรติให้เป็น 1 ใน 6 ขบวนหลักของ Pride Parade ปีนี้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ สนามเทพหัสดิน
ดักคอ 'ทักษิณ' อย่างัดมุกติดโควิด เบี้ยวขึ้นศาล 13 มิ.ย.
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังอ้ำอึ้งเรื่องไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
รัฐบาลเตือนระวังสุขภาพหลัง โควิด-19 กลับมาระบาดในหลายภูมิภาค
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกประกาศเตือนสถานการณ์ก