'ความเสี่ยงอนาตต' วิจัยใหม่ของ'ยูนิเซฟ' พบไทยมีเด็ก'NEET' 7 ใน10คน ขาดแรงจูงใจเรียน-ทำงาน 

เยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training:NEET)หรือถูกเรียกสั้นๆว่า เป็นเด็กNEET ในประเทศไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้น ถือเป็นปรากฏการณ์ด้านสังคมและเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วง โดยปัจจุบันมีเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปีประมาณ 1.4 ล้านคน เป็นกลุ่มNEET หรือคิดเป็น 15 %ของเยาวชนทั้งหมด


และรายงานฉบับใหม่ของยูนิเซฟที่เผยแพร่วันนี้ พบว่า เยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่(ร้อยละ 68) ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะหรือหางานทำเพราะรู้สึกว่าตนเองขาดโอกาส


โดยงานวิจัยใหม่ “งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงานการศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, orTraining: NEET) ในประเทศไทย”ซึ่งจัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสนับสนุนโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงลึกชิ้นแรกที่นำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับเยาวชนกลุ่มNEET ในประเทศไทย โดยได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาและตลาดแรงงานรวมทั้งชี้ให้เห็นช่องว่างของนโยบายและบริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนนำเสนอแนวทางการแก้ไขเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว

นางคยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่ารายงานเรื่องนี้ สะท้อนความสำคัญเห็นความร่วมมือแก้ปัญหา  เนื่องจาก ประเทศไทยขณะนี้ กำลังเผชิญการปลี่ยนแปลงอย่างมากจากปัญหาสังคมผู้สูงอายุ และการใช้เอไอ ในระบบการทำงาน  ซึ่งหมายความว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่จะต้องมีความสามารถในการผลิตมากขึ้นกว่าคนรุ่นเก่า อย่างไรก็ตาม พบว่าเยาวชนไทยเรียนหนังสือมากขึ้น  แต่คนอายุ 15-24 ปี 1.4ล้านคน  ไม่ได้อยู่ในระบบการศีกษาและอบรมใด ๆหรือคิดเป๋น  15 % ของเยาวชนรุ่นนี้  นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าจำนวนเยาวชนที่อยู่ในตลาดแรงงานลดลงจาก 4.8 ล้านคนในปี 2554 เหลือ 3.7ล้านคนในปี 2564 โดยที่อัตราการว่างงานในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 โดยสูงกว่าอัตราการว่างงานของวัยผู้ใหญ่ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7  นอกจากนี่้ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ประมาณร้อยละ 70 ของเยาวชนกลุ่ม NEET เป็นผู้หญิงซึ่งส่วนใหญ่ออกจากโรงเรียนเมื่อตั้งครรภ์หรือมีภาระต้องดูแลคนในครอบครัว

นางคยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย


นอกจากนี้ ในปี 2565 สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กรมกิจการเด็กและเยาวชนและยูนิเซฟได้จัดทำการสำรวจเด็กและเยาวชนอายุ 10-25 ปีกว่า 55,000คนทั่วประเทศ และพบว่า มีเยาวชนไม่ถึงร้อยละ 40ที่รู้สึกว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันช่วยให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับตลาดแรงงาน ในขณะที่เพียงร้อยละ 36เห็นว่าการเรียนออนไลน์ที่โรงเรียนจัดให้นั้นมีประสิทธิผล

“ดังนั้นไม่น่าแปลกใจ เด็กหลายคนรู้สึกหมดหวังไม่มั่นใจ รู้สึกว่าไม่มีอนาคตสำหรับเขา จากการศึกษายังพบอีกว่า เด็ก 7 ใน 10 คน ออกจากโรงเรียน   ไม่กลับไปเรียนต่อหรือหางานทำ เพราะหมดความหวังและกำลังใจ ไม่อยากพัฒนาทักษะ ในขณะที่การก้าวไปข้างหน้า ทำให้ต้องช่วยเยาวชนให้กลับไปเรียนหรือหางานทำ เพื่อให้พวกเขาอยู่ในโลกที่ไม่มีความไม่แน่นอนสูง และเป็นโลกที่มีความซํบซ้อนมากขึ้น  ทำให้การแก้ไขปัญหาเรื่องNEET ต้องซับซ้อนไปด้วย     “


นางคิมกล่าวเสริมว่าจะเห็นได้ชัดว่า เยาวชนกลุ่ม NEET มีความเสี่ยงสูงที่ต้องเผชิญกับความยากจน การถูกกีดกันและมักขาดโอกาสและช่องทางที่จะเพิ่มพูนทักษะและความสามารถของตนเองด้วยเหตุนี้ การพัฒนาโอกาสในการจ้างงาน การศึกษาและการฝึกอบรมตลอดจนการส่งเสริมให้สังคมยอมรับเยาวชนที่ขาดโอกาสจึง ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของไทย หากประเทศไทยต้องการเขยิบฐานะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ก้าวหน้าและเท่าเทียม


“รายงานใหม่ของยูนิเซฟยังระบุถึงความท้าทายต่าง ๆในการจัดการปัญหาเยาวชนกลุ่ม NEET เช่น การขาดนโยบายร่วมและการขาดการประสานงานหรือการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้บริการต่าง ๆ ทั้งในด้านการศึกษา การฝึกอบรมและการจัดหางานมีอยู่อย่างจำกัด แยกส่วน และไม่สอดคล้องกันซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยผู้นำและความมุ่งมั่นจากผู้กำหนดนโยบายในระดับสูงในการแก้ปัญหาดังกล่าว”

สุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าสถานการณ์ที่หลายประเทศทั่ว
โลกเจอขณะนี้ คือ การขาดแคลนคนวัยทำงาน ในปี2564   ประเทศไทยเข่าสู่สังคมสูงอายุ มีสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งหมด จากปัจจุบัน ประชากร 5 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 1คน แต่อีก20ปีข้างหน้า ประชากร2 คน จะต้องดูแลผู้สูงอายุ 1 คน อีกทั้ง ค่านิยมเรียนระดับปริญญาตรี และทำงานอาชีพอิสระ หรือเรียนไปด้วยทำงานด้วย ส่งผลให้กำลังแรงงานที่เข้าสูงตลาดแรงงานปรับลดลงต่อเนื่อง  และสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เยาวขนจำนวนมากสูญเสียโอกาส การทำงาน และการเรียน   ขณะที่สถานประกอบการต่างๆ ได้นำเอไอ ดิจิทัล เข้ามาสนับสนุนการทำงานมากขึ้น  ทำให้ความต้องการแรงงาน ลดถอยลง กระทรวงแรงงาน จึงเข้าไปส่งเสริมศักยภาพแรงงานทั้งในด้าน อัพสกิล รีสกิล และนิวสกิล  เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน   ซึ่งทั้ง 3 ด้านถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญการทำงานในปัจจุบัน แรงงานต้องมีขีดความสามารถการแข่งขัน และรู้เรื่องเอไอ  ต้องมีทักษะหลากหลาย ไม่สามารถทำงานแค่ด้านเดียว แล้วสามารถเลี้ยงชีพได้ไปจนถึงวัยเกษียณได้  ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของโลก และอิทธิพลเอไอ ดิจิทัล ที่มีบทบาทต่อใช้ชีวิต และการทำงานของผู้คน


รศ.ดร.รัตติยา พูนละออ นำเสนองานวิจัย

รศ.ดร.รัตติยา พูนละออ จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการศึกษา“งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงานการศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, orTraining: NEET) ในประเทศไทย กล่าวถึงการศึกษาวิจัย ว่าเป็นการหาสาเหตุเยาวชนกลายป็น NEETและแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งภาพรวมพบว่า การเป็นNEETไม่ได้มาจากการที่ไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น  การป็นเป็นNEETนานๆ เสี่ยงที่จะยากจน ไม่สามารถใช้ทักษะในตลาดแรงงานได้ เพราะการสะสมทุนมนุษย์ไม่ได้มีแต่การเรียนอย่างเดียวแต่จะต้องมีการอบรมด้วย  การที่มีเยาวชนที่เป็น NEETจำนวน 1.4-1.5ล้านคน หรือคิดเป็น 1ใน 6 คน อายุ 15-24 ปี  ทำให้การวิจัย ได้มุ่งเป้าที่จะหาสาเหตุอะไรทำให้เกิด NEET  วิเคราะห์ผ่านทางฐานข้อมูลทุติยภุมิ  ศึกษาท้ั้งนโยบาย ระดับจังหวัดไปจนถึงการสัมภาษณ์พ่อแม่เยาวชน 120 ครอบครัว เป้าหมายเพื่อให้ได้ภาพจริงๆ   เพราะการสัมภาษณ์ แต่เยาวชนอย่างเดียว อาจไมได้ข้อมูลสาเหตุแท้จริง จึงต้องเข้าไปดูคอรบครัวด้วย


ผลการศึกษาพบไฮไลท์ 4 ประเด็น คือ 1. เยาวชนที่เป็น NEET มีความหลากหลาย คนที่NEET ไม่ใช่มีแต่เด็กยากจนเท่านั้น แต่เป็นกลุ่มเยาวชนที่เผชิญปัญหาและมีความซับซ้อนในปัญหาหลายอย่าง หรือมีความท้าทายเป้าหมายของชีวิต การศึกษาจึงต้องมองทุกกลุ่มไปพร้อมๆกัน

2.การศักษานี้ มุ่งหวัง ให้เกิดแรงบันดาลใจ ศึกษาพบว่า ในจำนวน 1.4 ล้านคน เยาวชนที่เป็นNEET  มี 81.1%หรือ 870,000 คน  ไม่อยากเรียนไม่อยากทำงาน  แม้จะมีการเปิดอบรมหรือทำงาน แต่เขาอาจไม่เลือก จึงต้องมองถึงแรงขับของปัญหา


3.สาเหตุเป็นNEET มีความซับซ้อนมีผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ซึ่งไม่สามารถฟันธงได้ว่าเด็กเลิกเรียนจะต้องมาเป็น NEETบางคนออกจากโรงเรียนกลางครันเพื่อมาทำงาน ดังนั้น การหาสาเหตุจึงต้องดูเป็นรายกรณีไป  


4. ที่ผ่านมากาารแก้ปัญหาเยาวชนมีมาตรการเยอะมาก  แต่นโยบายและการปฎิบัติ ไม่ต่อเนื่อง และไม่มีประสิทธิภาพมากนัก  ซึ่งความเห็นนี้ ขอพูดเฉพาะการแก้ปัญหา เฉพาะกลุ่ม NEET แม้จะมีความพยายามดึงเด็กกลับเข้ามาในระบบ แต่ไม่มีความต่อเนื่อง


“การแก้ปัญหาเด็กกลุ่ม NEET ต้องมีความอึด ทน และใช้เวลายาวนาน “รศ.ดร.รัตติยา กล่าวย้่ำ


ในการศึกษายังพบอีกว่า  ผู้หญิงเป็น  NEET มากกว่า ผู้ชาย เกือบหนึ่งเท่าตัว  ขณะที่ในช่วงอายุ 15-18 ปี เยาวชนหญิงกับชาย มีลักษณะเป็นNEET  พอๆกัน  แต่พอเข้าสู่ช่วงปลายของการเป็นเยาวชน ย จะเห็นสัดส่วนผู้หญิงที่เป็น NEET เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด  การหาสาเหตุจึงต้องดูความแตกต่างตามช่วงอายุด้วย


ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ชนบท กับเมือง การศีกษาพบว่า NEET ในชนบาทมีมากกว่าในเมือง และแม้ว่า เยาวชน ที่เป็นNEET จะกระจายทุกจังหวัดในประเทศไทย แต่พบว่าพื้นที่ภาคใต้น่าเป็นห่วง วัยรุ่นช่วงปลายสัดส่วนNEET  ผงกขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้


“หลายคนคิดว่าคนเป็น NEET  เป็นพวกมีการศึกษาน้อย แต่ไม่จริงทั้งหมด คนเรียนจบมหาวิทยาลัย  ก็เป็น NEETการหางานคนกลุ่มนี้มีความท้าทาย  ยังมีกลุ่มไม่พร้อมทำงานอยากก็มี กลุ่มอยากจะพัฒนาทักษะ  3 ใน 4 เป็นคนทำงานที่บ้าน เป็นหญิงมากกว่าชาย กลุ่มอยากทำงานแต่หางานไม่ได่ หรือหางานที่ไม่ตอบโจทย์ตัวเอง เป็นกลุ่มการศึกษาไม่สูง อีกส่วนเป็นพวกจบมหาวิทยาลัย”

ความเสี่ยงที่อาจทำให้กลายเป็น NEET พบว่า เป็นเพศหญิง มีความพิการ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มาจากปัญหาครอบพบว่าคนอยู่กับแม่เลี้ยงเดี่ยว มีโอกาสป็น มากกว่ากลุ่มอื่น หรือคนที่ถูกบูลลี่ในโรงเรียน มีการดร็อปเอาท์ออกจากโรงเรียน มีแนวโน้มที่จะเป็นNEET เพิ่มขึ้นสูง

รศ.ดร.รัตติยา  กล่าวอีกว่า การศึกษาวิจัย ข้อเสนอแนะแก้ปัญหา 7ข้อ คือ 1. จะต้องมีกฎหมาย นโยบาย กลยุทธิ์ มีการสร้างแผน ที่แก้เรื่อง NEET โดยเฉพาะออกมา  ซึ่งปัจจุบันยังไม่มี 2. ต้องมีการบูรณาการผล มอนิเตอร์ปัญหาในระยะยาว เพื่อไม่ให้เด็กที่ได้รับการแก้ปัญหาหรือมีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบ 3.เสริมทักษะคน ที่ทำงานในระบบ ในรูปแบบไลฟ์ เอ็ดดูเคชั่น  เป็นการแนะนำเพื่อพัฒนาทุกช่วงอายุ  4.การทบทวนสิทธิ์เพื่อจูงใจ 5.การปรับระบบการเรียนให้มีความยืดหยุ่น ดึงให้เยาวชนอยู่ในระบบกาารเรียนการศึกษามากขึ้น เพื่อไม่ให้เด็กเลิกเรียนกลางครัน 6.เกื้อหนุนให้เข้าถึงเด็กกลุ่มนี้ อาจเป็นเข้าถึงระดับตำบล 7.เสริมให้มาตรการเกี่ยวข้องกับแรงงานเห็นประสิทธิผลกลุ่มเป้าหมายจริงๆ  โดยต้องมีคนดูแลโครงสร้าง มีคณะกรรมการหลายระดับในการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนจริงๆ โดยอาจเป็นระด้บชุมชน หรือระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ


“ปัญหา NEET ยิ่งพบเร็วยิ่งดี การแก้ปัญหาจะใช้ต้นทุนน้อย  ระบบที่ดูแลต้องมีทุกภาคส่วนเข้าถึงศูนย์กลาง  เชื่อมโยงด้วยข้อมูลที่เปิดกว้าง   มีแผนแก้ไขรายบุคคล  เข้าถึงเยาวชนด้วยการสื่อสารหลายทาง และที่สำคัญ ต้องเข้าใจตรงกันว่า NEET คืออะไร   เพราะหลายหน่วยงานให้ความหมาย NEETที่ไม่ตรงกัน   เพิ่มลิมิตของครู ทั้งศักยภาพและจำนวน เด็กบางคน เจอบูลลี่จากครู ที่ไม่ใช่ครูแนะแนวด้วยซ้ำ เรื่องนี้การแก้ต้องเป็นLong Term ทั้งในแง่ทรัพยากร เวลา และต้องมีช่วยเหลือ เป็นระบบpool ท้้งภาครัฐ-เอกชน ทำให้เยาวชนได้เรียนฟรีจริง  “รศ.ดร.รัตติยากล่าว.

การแถลงงานวิจัยใหม่ของยูนิเซฟ


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่