เทศกาลวันวิสาขบูชา 2566

เดือนมิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้ มีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีความอัศจรรย์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นถึง 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อีกทั้งวันวิสาขบูชายังได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ

วันวิสาขบูชาในปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา กำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2566 ขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในส่วนกลาง ร่วมกับวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2566 ประกอบด้วย พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 19 รูป พิธีเวียนเทียน และอัญเชิญผ้าห่มองค์พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ การสาธิตและสืบสานประเพณีการกวนข้าวทิพย์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยจากเครือข่ายศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การสาธิตและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของดีชุมชนคุณธรรมและชุมชนโดยรอบวัดสระเกศ จำนวน 30 แห่ง กิจกรรม “ธรรม Talk Walk Rally” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 มงคล ภายในวัดฯ

นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมตอบปัญหาธรรมะ ผ่านทาง  Facebook กรมการศาสนา ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ถึงวันที่  3 มิถุนายน 2566 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม “ธรรม Talk Walk Rally” และ “ตอบปัญหาธรรมะ” จะได้รับใบโพธิ์มหามงคลจากสถานที่ตรัสรู้ คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย

สำหรับส่วนภูมิภาค ได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด องค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา และหน่วยงานต่างๆ บูรณาการการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมมาส่งเสริมการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการสืบสานเทศกาล ประเพณี และวัฒนธรรม นำวิถีถิ่น วิถีไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละภูมิภาคมาจัดกิจกรรมบนฐานของการเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา

และในโอกาสวันสำคัญดังกล่าวนี้ กรมการศาสนาได้จัดทำคีตธรรมบทเพลงวันวิสาขบูชาอันสื่อถึงความสำคัญของวันดังกล่าว เพื่อสร้างการรับรู้ เชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านให้ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามแบบวิถีชาวพุทธ นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ด้วยการสวดมนต์ รักษาศีล และเจริญจิตภาวนา ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพร้อมเพรียงกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

วธ.ตั้งรองอธิบดีกรมศิลป์-กรมศาสนา 4 ตำแหน่ง

8 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ลงนามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 58/2567 เรื่อง ให้โอนข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์

'เบลล่า ราณี' ชวนทอดผ้าป่าสามัคคี

นางเอกสายบุญ ช่อง 3 เบลล่า-ราณี แคมเปน พร้อมผู้จัดการส่วนตัว พลอย- วีณา เมษกำเหนิดชัย และคณะผู้มีจิตศรัทธา ได้รับอนุญาตจากพระเดชพระคุณฯ พระธรรมโพธิมงคล เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานบุญทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนโครงการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ