เพลง 'วิสาขบูชา' เวอร์ชั่นใหม่ โดนใจวัยรุ่น

ศน.เปิดตัวเพลงวันวิสาขบูชาที่เรียบเรียงใหม่ ต้อนรับเทศกาลวันวิสาขบูชา มั่นใจเข้าถึงคนรุ่นใหม่ เนื้อ-ทำนองน่าฟัง

29 พ.ค.2566 - นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) กล่าวว่า  เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากลของโลก กรมการศาสนานำบทเพลงวันวิสาขบูชา มาเรียบเรียงและสร้างสรรค์ใหม่อีกครั้ง เพื่อมอบเป็นเสียงเพลงแห่งคีตธรรมน้อมรำลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพลงวันวิสาขบูชานี้ กวีนิพนธ์ไว้โดย ส.ลูกพระร่วง ในทำนองเพลงมอญที่คุ้นหูชาวไทย เนื้อหาของบทเพลงได้กล่าวถึงความหมายนัยยะสำคัญของวันวิสาขบูชา คือเป็นวันที่มีความอัศจรรย์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นถึง 3 ประการ คือ วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยการรวมตัวกันของน้อง ๆ เยาวชนรุ่นใหม่จากโรงเรียนเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมขับร้อง ได้แก่ เด็กหญิงจิรัชญา ศรีนุช โรงเรียนหอวัง เด็กหญิงธนัชญา ศรีนุช โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า เด็กหญิงเพ็ญสินี จงเจริญศักดิ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) เด็กชายมีเดช ปิยวิมลนันท์ และเด็กชายมีคุณ ปิยวิมลนันท์ จากโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

" บทเพลงวิสาขบูชาที่จัดทำขึ้นใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึงมวลชนคนรุ่นใหม่ที่นิยมรับชมและรับฟังผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย โดยใช้เทคนิคการเผยแพร่และดึงให้คนมาสนใจ ด้วยการวนซ้ำเพื่อให้คนฟังเข้าใจง่าย เมื่อนำเนื้อที่เป็นหลักธรรม และใส่จังหวะทำนองที่น่าฟัง จะทำให้จดจำเนื้อเพลงและร้องตามได้ นอกจากนี้ กรมยังได้เผยแพร่บทเพลง และมิวสิควิดีโอเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ โดยสามารถรับชมได้ทางสื่อสารมวลชนและแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งเฟสบุ๊ค ยูทูป และทวิตเตอร์ ของกรมการศาสนาอีกด้วย  "นายชัยพล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ

ผู้แสวงบุญอินเดียเพิ่ม ขยายศูนย์ดูแลพุทธศาสนิกชน

ปี 2567 มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นคนเดินทางมาจาริกแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ณ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล นำมาสู่แผนการขยายศูนย์อำนวยความสะดวกดูแลผู้แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิให้มีเพิ่มมากขึ้น พระมหานิพนธ์ ญาณวีโร

สัมผัสสถานที่จริง'สังเวชนียสถาน' ต่อยอดงานศาสนา

พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปสัมผัสสถานที่จริงที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ 4 แห่ง สถานที่ประสูตร  สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ในประเทศอินเดียและเนปาลอีกครั้งจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

พลังศรัทธาชาวใต้ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากสาธารณรัฐอินเดียอัญเชิญประดิษฐานชั่วคราวภายในวิหารมณฑป ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล หรือที่ชาวกระบี่เรียกว่า “วัดบางโทง” ด้วยริ้วขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา

'เชียงใหม่'ขยายเวลาสักการะพระบรมสารีริกธาตุ

ตามที่รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย โดยกระทรวงวัฒนธรรมอินเดีย สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

พรุ่งนี้วันสุดท้าย สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่ท้องสนามหลวง

2 มี.ค.2567 - ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่กรมการศาสนา ประกาศขยายเวลาเปิดและปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค.  ตั้ง