อาภรณ์จากผ้าไทยร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติ’พระราชินี’

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ รักษา และสืบทอดงานผ้าไทย งานหัตถศิลป์ไทย อันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  3 มิถุนายน พ.ศ.2566 ชวนพสกนิกรชื่นชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติและความงดงามของผ้าทอจำลองจากฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และผลงานสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ผ่านนิทรรศการอาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1- 7 มิ.ย. 2566 

ผ้าทอจำลองจากฉลองพระองค์ 5 ผืน สะท้อนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นแบบอย่างการนําผ้าไทยมาใช้เพื่อเผยแพร่ความงดงามผ้าไทยสู่สายตาชาวโลก และก่อให้เกิดรายได้กลับมาสู่ผู้ผลิตในประเทศ

ผืนแรก ผ้าไหมแพรวาลายนาคหัวซุ้มมีประวัติความเป็นมาอันทรงคุณค่า โดยได้รับการสนับสนุนและ ส่งเสริมจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระราชินีฉลองพระองค์ตัดเย็บจากผ้าไหมแพรวาในโอกาสเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการแสดงดนตรีงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ กรุงเทพฯ ปี 62 ,ผ้าฝ้ายย้อมครามลายสะเก็ดธรรม ผ้าประจำจ.สกลนคร  พระราชินีฉลองพระองค์ชุดผ้าฝ้ายย้อมครามในโอกาสเสด็จฯ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม  จ.สกลนคร ปี 2564  ,ผ้าลายลูกแก้วเป็นผ้าลายโบราณที่ทอด้วยกรรมวิธียกตะกอ  เพื่อเปิดเส้นยืนแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งนี้ทำให้เกิดลวดลายนูนขึ้น  ,               ผ้าหางกระรอก ความสวยงามเกิดจากการเลือกสีและการควบตีเกลียวเส้นใย ผ้าไหมมัดหมี่มีชื่อเสียงเรื่องความงามของเส้นไหมและลวดลายที่มีอิทธิพลมาจากเขมร  พระราชินีฉลองพระองค์ตัดเย็บจากผ้าไหมมัดหมี่ ในโอกาสเสด็จฯ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา ปี2564

นอกจากนี้ นำเสนอพระฉายาลักษณ์ที่พระองค์เสด็จท้องถิ่นทั่วไทยด้วยฉลองพระองค์ผ้าทอไทย ซึ่งมีผ้าทอที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ จากนั้นตื่นตาตื่นใจกับการสร้างสรรค์ลายผ้า ผลสำเร็จจากโครงการ New Outlook on the Old Capital City : A Workshop on Preserving and Promoting Cultural Heritage, Identities, and Expressions through Contemporary Design in Sukhothai Province  ซึ่ง สศร.ร่วมกับเครือข่ายพัฒนา โดยองค์การยูเนสโกสนับสนุนงบฯ  เกิดผลงานร่วมสมัย  ได้แก่ ผ้าทอ  เครื่องแต่งกาย  เครื่องประดับ และรองเท้า ผลงานสื่อถึงสุโขทัยในมุมมองต่างๆ

จุดเด่นเป็นโซนนิทรรศการเสมือนจริง ผู้เข้าชมสามารถใส่แว่นวีอาร์เข้าชมนิทรรศการเหมือนเดินอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ชมแนวทางทำงานของนักออกแบบ มีการค้นคว้า มีแนวคิด แรงบันดาลใจสร้างสรรค์ลายผ้าร่วมสมัย  ก่อนเข้าสู่เส้นทางการชมงานกว่า 10  เมตร โชว์ผลงานออกแบบผ้าทอ ผ้าพิมพ์ลายที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมของสุโขทัย ผู้ชมเดินผ่าน สัมผัสผืนผ้าได้ จะได้กลิ่นหอมจากผืนผ้า เป็นนวัตกรรมการจัดแสดงรูปแบบใหม่

ลวดลายผ้าที่แสดง มีทั้งลายผ้า”บัวแห่งภูมิปัญญา”  แรงบันดาลใจมาจากดอกบัวและเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มรดกโลกของสุโขทัยนำมาผสมผสานกับลายนกคุ้ม และลายตีนจกของชาวสุโขทัย มาผสมผสานเป็นลายบัวแห่งภูมิปัญญา ที่มีกลิ่นไอวัฒนธรรมสุโขทัย ชัดเจน ลาย”สัญญะสุโขทัย” ออกแบบจากดอกบัวหลวง  ดอกไม้ประจำจังหวัด และงานประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ แล้วมีลายประกอบจากโคมลอยด้วย  แล้วยังมี”ลายพิกุล”  เป็นดอกไม้มงคลสื่อความเจริญรุ่งเรือง และนำลายเครือวัลย์จากวัดนางพญามาออกแบบ

จากผ้าทอ ผ้าพิมพ์ลาย มาเพิ่มมูลค่าสร้างสรรค์ออกแบบเครื่องกายที่มีความสวยงาม   ซึ่งนำมาเสนอในนิทรรศการนี้มากกว่า 10 ผลงาน  อย่างชุดเดรสและเสื้อสูทจากผ้าทอลายบัวแห่งภูมิปัญญา   หรือเสื้อคอตั้งแขนยาวประยุกต์แบบเดรสสั้นจากผ้าทอลายพิกุล เสื้อแขนกุดผสมผสานการตัดเย็บด้วยผ้าทอ พู่ระบายจากผ้าทอลายสัญยะสุโขทัย แล้วยังมีเดรสเก๋ๆ สีเหลืองนวลจากผ้าทอลายเผาเทียนเล่นไฟ 

ส่วนผลงานเครื่องประดับจากโครงการฯ สร้างสรรค์จากวิถีชีวิต  ศิลปวัฒนธรรมสุโขทัย  มายลสร้อย ต่างหู กำไล แหวน  ด้วยแนวคิดออกแบบเครื่องประดับชุดลายสังคโลก ชุดสังคโลก ชุดจักสาน  ชุดปลาตะเพียน วัสดุที่ใช้เงินแท้ และเศษเครื่องสังคโลก สร้างมูลค่ากับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น  และภาพลักษณ์ใหม่ๆ แปลกตาขึ้น ใครชอบเครื่องประดับห้ามพลาด นอกจากนี้ มีโซนหนังสือจำลอง พลิกชมหนังสือการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย ผ่านการสัมผัสทัชสกรีน  ผู้สนใจยังสามารถรับหนังสือเล่มภายในงานได้ด้วย นิทรรศการฯ เปิดวันที่ 1 มิ.ย. เวลา 17.00 น.  สามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดพิธีเปิดนิทรรศการและร่วมรับฟังการเสวนาหัวข้อ “การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม” โดย รศ.ดร. ดนัย เรียบสกุล ม.นเรศวร วิชระวิชญ์  อัครสันติสุข นักออกแบบผ้าไทยแบรนด์ WISHARAWISH นครินทร์ ยาโน ศิลปินศิลปาธร  เจ้าของแบรนด์ Yano และศรัณญ  อยู่คงดี นักออกแบบแห่งปี 2564 สาขาการออกแบบเครื่องประดับ พร้อมชมการแสดงแบบเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับโดยนางแบบและนายแบบ ผ่านแพลตฟอร์ม  Facebook  Live ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย อีกช่องทาง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยกย่อง 7 ศิลปิน’ศิลปาธร’ 2566

ศิลปินรางวัล”ศิลปาธร” นับเป็นต้นแบบของคนรุ่นใหม่ที่มีพลังความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทรงคุณค่า เชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมอันเป็นทุนทางวัฒนธรรม ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ ทุ่มเทเวลา ความคิด ทักษะและประสบการณ์ความรู้สร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ชาติอย่างเต็ม

ขึ้นทะเบียน 14 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมชาติ

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มีการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ  ประจำปี พ.ศ. 2565 มีดังนี้  1.บ่อเกลือ 2 ตำนานนางผมหอม 3.ตำนานหลวงพ่อพระใส 4.แห่นกบุหรงซีงอ 5.นาเกลือ

ประกาศ 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ 'เที่ยวชุมชน ยลวิถี' ปี 66

20 ก.ย.2566 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พสนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร เน้นใช้ “พลังบวร” เป็น

วธ.คว้ารางวัล'สำเภา-นาวาทอง'

14 ก.ย.2566 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เข้ารับมอบรางวัล “สำเภา-นาวาทอง” ปี 2566 จากหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย

ยลผ้าซิ่นงามที่พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน

ใครที่เคยขึ้นเหนือไปจังหวัดน่าน น่าจะมีโอกาสได้สัมผัสผ้าซิ่นตีนจกลายน้ำไหล ผ้าทอพื้นเมืองโบราณของชาวน่านที่ยังคงอัตลักษณ์โดดเด่นและมีการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้ามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีหลายชุมชนรวมตัวกันตั้งกลุ่มผ้าทอแบบโบราณเพื่อสืบสานวัฒนธรรม ตลอดจนมีพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมผ้าโบราณ

2 ตลาดน้ำใกล้กรุง วิถีเพลินตา

ตลาดน้ำเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมีวิถีชุมชนให้เรียนรู้ในบรรยากาศที่แสนเพลิดเพลิน ตอนนี้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดโครงการ “10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย”