
10 ก.ค. 2566- ที่โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการ “Dengue Effective for Treatment and Prevention” การดูแลรักษาและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารโรงพยาบาลราชวิถี และบุคลากรร่วมประชุมทั้งรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ทั่วประเทศ
นพ.โอภาสกล่าวว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในปีนี้มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ณ ช่วงเวลาเดียวกันเกือบ 3 เท่า รวมทั้งจากข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก พบว่าระยะหลังมีรายงานการป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในผู้ใหญ่ จากเดิมที่พบบ่อยในเด็ก ที่สำคัญ รูปแบบอาการไม่เหมือนกับที่เคยพบมา และมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ทำให้การวินิจฉัยโรค ในระยะแรกค่อนข้างยาก หากไม่ติดตามสังเกตอาการใกล้ชิดจะทำให้การรักษาล่าช้า ส่งผลให้อาจเกิดความรุนแรงและเสียชีวิตได้ ดังนั้น การวินิจฉัยโรคให้ได้ให้เร็วที่สุด ร่วมกับการที่ประชาชนสามารถสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัวได้ จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยลดการเกิดความรุนแรงของโรค โดยหากมีไข้สูงเฉียบพลันและสูงลอยมากกว่า 2 วัน ห้ามซื้อยากินเอง และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ และกรมควบคุมโรค จึงร่วมกับ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย บูรณาการการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในทุกมิติ ตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการการปรับปรุงแนวทางและสื่อสารประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ใหม่ในการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออกให้กับเครือข่ายบุคลากรทางสาธารณสุข การใช้มาตรการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกเพื่อให้เกิดความร่วมมือดำเนินงานในพื้นที่และลดความสูญเสียจากการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน
นพ. ธงชัยกล่าวว่า ในส่วนกรมการแพทย์นอกจากมีสถานพยาบาลเฉพาะทางดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อน เช่น โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี เป็นต้นยังมีภารกิจในการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ให้กับบุคลากรทั่วประเทศ ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ ราชวิทยาลัยต่างๆ พัฒนาคู่มือแนวทางการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคไข้เลือดออกทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และจัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออก ภาวะแทรกซ้อน และความรู้ด้านวัคซีนใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพบุคลากรการแพทย์ในการรองรับการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในขณะนี้
ด้านนพ.นิติ เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 27,377 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 33 ราย โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน พบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1,500 – 2,400 ราย เสียชีวิตสัปดาห์ละ 1-3 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคได้เพิ่มกลยุทธ์เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศ โดยเร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในชุมชนต่างๆ ในการป้องกันตนเอง การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โรค ร่วมกับมาตรการการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การประเมินแนวโน้มพื้นที่การระบาดของโรคหรือความชุกชุมของแหล่งโรค เพื่อประกาศเป็นโรคระบาดเฉพาะพื้นที่และวางมาตรการตอบโต้ รวมทั้งเน้นการควบคุมโรคให้เหมาะกับบริบทพื้นที่โดยเฉพาะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘สมศักดิ์-สปสช.’ อัดงบ 30 บาทรักษาทุกที่ เพิ่มบริการรถรับส่งผู้ป่วยทุพพลภาพ
“จิรพงษ์” แจ้งข่าวดี “สมศักดิ์-สปสช.”เพิ่มสิทธิประโยชน์ 30 บาทรักษาทุกที่ จัดรถรับส่งผู้ป่วยทุพพลภาพถึงที่ กำหนดอัตราราย
หนุนรัฐบาล 'ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า' สสส.เดินหน้าประสานทุกหน่วยงานปิดจุดอ่อน ห่วงเยาวชนตกเป็นเหยื่อเสพ 'พอดเค' ยาเสพติดรูปแบบใหม่มีอันตรายถึงตายได้ พร้อมเห็นชอบแผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา พัฒนาองค์ความรู้ สร้างค่านิยมใหม่ ดันนโยบายงานเลี้ยงปลอดเหล้า
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา มีจุดเน้นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้เพื่อผลักดันนโยบาย
'สมศักดิ์' ดันสมุนไพรไทยแทนยาแผนปัจจุบัน ชู 5 รายการใช้ได้ทันที รพ.ไหนใช้เยอะรับรางวัล 60 ล้าน
รมว.สาธารณสุข เปิดประชุมแพทย์ทั่วประเทศ เร่งส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในระบบ สปสช. หวังลดการนำเข้ายาต่างประเทศ พร้อมชูสมุนไพร 5 รายการใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ทันที เผย สปสช.เตรียมงบ 60 ล้านเป็นรางวัลให้โรงพยาบาลที่ปรับใช้สำเร็จ ตั้งเป้าปี 69 ยอดใช้สมุนไพรในระบบไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท
'สมศักดิ์' นำทัพ สธ. เสนอ 7 นโยบาย ขับเคลื่อน 'เศรษฐกิจสุขภาพ'
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงถึงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพผ่าน 7 นโยบายหลัก เพื่อส่งเสริมประเทศไทยเป็น
รัฐบาลเตือนเช็กอาการ 6 โรคหลังไปเที่ยวปีใหม่
รองโฆษกรัฐบาลขอ ปชช.เดินทางท่องเที่ยว ปลอดภัย ไร้โรค ไร้ภัย แนะหมั่นสังเกตอาการ หลังเดินทางกลับ หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์