วาระแห่งชาติ 'ปัญหาเด็กเกิดน้อย' เรื่องของคนอื่น แต่กระทบโครงสร้างการพัฒนาประเทศ

15 ก.ย.2566- สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงแรงงาน , สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จัดเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 4 ในหัวข้อเรื่อง “เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อย : ปัญหาและทางออก” ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ

จากที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้วีดีโอคอล ชี้แจงถึงนโยบายการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกัลปัญหาสังคมผู้สูงอายุและอัตราเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลง ช่วงหนึ่งว่า ใน 12-13 เรื่องที่ได้นำเสนอและจะประกาศเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข คือ ปัญหาเด็กแรกเกิด ปัญหาการดูแลเด็กเล็ก โดยเฉพาะการให้นมบุตรอย่างน้อยตั้งแต่ 0-6 เดือน ซึ่งปัญหาที่พบคือ โครงสร้างประชากรของคนไทยขณะนี้เกิดการบิดเบี้ยว ประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขณะที่อัตราการเกิดใหม่น้อยมาก โดยอัตราเกิดที่เหมาะสมคือ 2.1 คนต่อประชากร 100,000 คน แต่ปัจจุบันพบว่าอัตราเกิดอยู่ที่ 1.6 คนต่อประชากร 100,000 คน หมายความว่าใน 1 ปีมีจำนวนการเกิดที่น้อยกว่า 50,000-60,000 คน ดังนั้นจากความคิดที่ว่าลูกมากจะยากจน ต้องเอาออกจากสมองคนไทย ทำให้คนไทยไม่ยอดมีบุตร โดยเฉพาะคนที่พื้นฐานการศึกษาที่ดี หรือกลุ่มคนที่มีฐานเศรษฐกิจรองรับ จึงเป็นปัญหาต่อการพัฒนาและการแข่งขันระดับประเทศ หากไม่เพิ่มฐานประชากร ในฐานะกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ จึงอยากจะผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ

นางวรวรรณ พลิคามิน

นางวรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ขยายถึงโครงสร้างประชากร ปัญหา โอกาส ที่บ่งชี้ผลกระทบหากเด็กเกิดน้อยว่า เนื่องจากโครงสร้างประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลง ในปี2566 ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ แต่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสังคมสำหรับผู้สูงอายุ แต่ในความจริงเป็นสังคมสำหรับทุกช่วงวัย เพียงแต่สัดส่วนประชากรแต่ละช่วงวัยเปลี่ยนไป แบ่งเป็นผู้สูงวัย 20% วัยเด็กจำนวน 16% และวัยแรงงาน 63% แต่ในอีก 10 ปีข้างหน้าไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด จะมีผู้สูงอายุมากถึง 28% วัยแรงงานจะลดลงเหลือเพียง 57% และวัยเด็ก 14% และในอีก 7 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุอาจจะเพิ่มจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประเทศ และวัยเด็กที่เกิดขึ้นลดลงเหลือเพียง 12% ในเชิงพื้นที่ยังพบว่าอัตราการเจริญพันธุ์รวมยอด(TFR ) กำหนดอยู่ที่ 1.6 คน แต่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำสุด

วรวรรณ กล่าวต่อว่า จากโครงสร้างประชากรดังกล่าว ปัจจุบันมีจำนวนประชากรไทยประมาณ 66 ล้านคน เมื่อเทียบการเกิดของเด็กในพ.ศ. 2508 มีอัตราเกิดอยู่ที่ปีละ 6 คน แต่ตอนนี้อัตราเกิดอยู่ที่ปีละ 1 คนกว่า และได้มีการคาดประมาณการไว้ว่าเด็กประถมวัยจะลดจำนวนลง โดยในปีพ.ศ. 2566 มีเด็กประถมวัย 0-6 ปี จำนวน 4.3 ล้านคน แต่ในปีพ.ศ. 2583 จะเหลือเพียง 3.1 ล้านคน ในขณะที่ปีพ.ศ. 2564 อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดประมาณ 2,700 คน คิดเป็น 5.2 คนต่อทารกแรกเกิดมีชีพ 1,000 คน หรือตายก่อนวัยอันควรด้วยอุบัติเหตุและจมน้ำกว่า 1,200 คน อีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ ขนาดครอบครัว เพราะขนาดครอบครัวที่มีเพียงสามี-ภรรยา และไม่มีลูกเพิ่มขึ้น 20% ส่วนครอบครัวแบบพ่อแม่-ลูกลดลงเหลือ 52% และเด็กที่อยู่ในครัวเรือนยากจนมีถึง 3.5 แสนคน ทางด้านโภชนาการที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้รับนมแม่อยู่ที่ 28.6% จึงทำให้เด็กโตสมวัยตั้งแต่ 0-5 ปีมีเพียง 73% เท่านั้น

ส่วนสถานที่เอื้ออำนวยต่อการดูแลเด็ก พบว่าสถานรับเลี้ยงเด็กที่เป็นศูนย์เด็กเล็กอายุ 0-2 ปี ยังคงมีเพียงแค่การนำร่องแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนสถานรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไปมีประมาณ 52,000 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียง 76%

ความท้าทายต่อการแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อย วรวรรณ แสดงความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เพราะการมีบุตรสำหรับคน Gen X และ Y คือเป้าหมายในชีวิตลำดับท้าย ทั้งนี้การกำหนดนโยบายการมีบุตร อาจจะต้องศึกษานโยบายในประเทศ ที่เคยมีการกำหนดนโยบายแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาทิ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สเปน และญี่ปุ่น อีกส่วนที่ท้าทายมากคือ การคลังของประเทศ ที่จัดเก็บภาษีรายได้น้อยลงเนื่องจากวัยแรงงานในอนาคตลดลง

ควรปัญหามองเด็กเกิดน้อยให้เป็นโอกาส วรวรรณ กล่าวว่า ในเรื่องงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกที่ลดลงเนื่องจากจำนวนเด็กเกิดลดลง สามารถนำไปบริหารการศึกษาในด้านอื่นๆได้ เป็นไปได้ว่าแรงงานอาจจะน้อยลง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทำงานด้วยนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาปรับใช้ และเป็นโอกาสที่จะรักษาจำนวนประชากรในระดับที่เหมาะสม ต่อการพัฒนาประเทศ ลดปัญหาการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ด้านนางสาวอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ผลกระทบเด็กเกิดน้อย ในเชิงภาพรวมของสังคม นอกจากในสังคมจะมีคำว่าเด็กเกิดน้อย ยังมีคำว่าเด็กด้อยคุณภาพ เนื่องจากเด็กที่เกิดในสภาวะของครอบครัวที่ไม่พร้อม การเลี้ยงดูไม่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้ได้มีการดำเนินการส่งเสริมเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด โดยมีผู้ลงทะเบียนประมาณ 3.2 ล้านคน ผู็ที่ได้รับเงินอุดหนุนอยู่ 2.3 ล้านคน โดยเป็นครอบครัวที่รายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสำหรับคุณแม่วัยใส โครงการส่งเสริมการให้นมบุตรต่างๆ แต่ทางออกของปัญหาเด็กเกิดน้อยนี้ต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง โดยได้มีการหารือการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดแบบถ้วนหน้า ซึ่งได้รับการลงมติไปเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว จึงคิดว่าอาจจะเป็นอีกแรงจูงในการมีลูก คลายความกังวลเรื่องภาระการเลี้ยงลูก

เด็กเกิดน้อย ผลกระทบต่อแรงงานในอนาคต นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พยายามเรียกร้องให้ผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการมีบุตรเพิ่มขึ้น ผ่านการผลักดันการสนับสนุนด้านเงินสงเคราะห์บุตรที่จะได้รับ 800 บาทต่อเดือน ตั้งแต่อายุ 0-6 ปี รวมไปถึงสิทธิรับค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ หรือการลาเพื่อคลอดบุตรกำหนดจำนวนวันลาเป็น 98 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนซึ่งประกันสังคมจ่าย 50% ของจำนวนวันลา 98 วัน แต่ตามกฎหมายขณะนี้ยังจ่าย 50% ของ 90 วันอยู่ แต่ในขณะนี้อาจจะต้องมีการพูดคุยเพราะนายจ้างยังจ่าย ทั้งนี้อีกสิ่งที่ต้องเร่งศึกษาและเสนอแนะเพิ่มเติมต่อกระทรวงฯ คือ สิทธิรับเงินสนับสนุนในภาวะมีบุตรยากในอนาคต

“นอกจากนี้ยังพยายามที่จะผลักดันให้มีศูนย์เด็กเล็กในสถานประกอบการขนาดใหญ่ ที่มีมากถึง 500,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์เด็กเล็กเพียง 102 แห่ง ลดจำนวนลงเพราะไม่มีมีการเด็กเกิด และขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยยังส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวมีลูก เพราะเป็นแรงงานมีฝีมือที่ขาดไม่ได้ มีศูนย์เด็กเล็ก มีพี่เลี้ยง มีครูให้การศึกษารองรับ ให้ที่พักสำหรับครอบครัว เพื่อให้แรงงานอยู่กับนายจ้างอย่างมีความสุข กลับกันกับไม่ได้มีการจูงใจให้แรงงานไทยมีลูก อาจจะด้วยปัจจัยที่คนไทยมีที่พักในประเทศ หรือมีโรงเรียนรองรับการศึกษาตามสิทธิอยู่แล้ว ” นันทชัย กล่าว

นันทชัย กล่าวอีกว่า ในอนาคตหากไม่มีการเร่งหาทางออกอาจจะทำให้ประกันสังคม ที่มีคนจ่ายเงินน้อยกว่าคนใช้เงิน หากเกษียณและส่งเงินเดือนสุดท้ายแก่ประกันสังคม จะได้รับเงินบำนาญ 50% จากที่นำส่งประกันสังคม ทั้งนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับเกษียณอายุที่อาจจะขยายจาก 55 ปี หรือไม่ได้ทำงานในการรับเงินบำนาญ เป็น 60 ปี เพราะคนวัยนี้ก็ยังแข็งแรงและทำงานได้ ก็อาจจะรับเงินบำนาญได้ที่อายุ 65 ปีเป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอชลน่าน' เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์เฟซบุ๊กครั้งแรก ชี้แจงทุกประเด็นหลังหลุดเก้าอี้

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรมว.สาธารณสุข โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณ เพจแพทย์ชนบท ที่โพสตให้กำลังใจผม และท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ เทพสุทิน แต่ก็มีบางอย่างที่ผมคิดว่า

ปลอบ 'ชลน่าน-ปานปรีย์' อย่าน้อยใจ ถือว่าชะตายังดีที่ยังไม่ต้องอยู่ในคุกเหมือน 'บุญทรง'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ว่า

'หมอวรงค์' ฟันธง! เพื่อไทยกำลังตกต่ำ ทำลาย 'หมอชลน่าน' จนหมดราคาเป็นเพียงลูกจ้างบริษัท

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า พรรคเพื่อไทยกำลังตกต่ำ โดยส่วนตัว ผมกับหมอชลน่าน

‘จตุพร’ ซัดอำนาจเบื้องหลังปรับครม. ยังมีจิตปกติหรือไม่ แนะไปตรวจสุขภาพจิต

‘จตุพร’เย้ยอำนาจเบื้องหลังปรับ ครม.ยังมีจิตปกติหรือไม่ แนะรีบไปตรวจสุขภาพจิต อ้างเขี่ยทิ้งชลน่าน สะท้อนเอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีมาตรฐานอารมณ์ ส่วน ‘ปานปรีย์’ลาออก รมต.ต่างประเทศ บอกความนัยคนจริง ยึดหลักการ สั่งซ้ายหันขวาหันไม่ได้

‘เทพไท’ เชื่อมีอาฟเตอร์ช็อก หลัง ‘ปานปรีย์’ ไขก๊อก จับตาจะเกิดอะไรขึ้นเร็วนี้

เทพไท ชื่นชมการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวของนายปานปรีย์ มหิทธานุกร ในการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

'ชลน่าน' เผยคืบหน้าแอมโมเนียรั่วที่บางละมุง มีผู้ป่วย 160 ราย อาการหนัก 9

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ภายหลังเข้าพบ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ประมาณ 30 นาที ว่า ไปเรียนนายกรัฐมนตรี ถึงสถานการณ์โรงน้ำแข็ง ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่มีแก๊สรั่ว ซึ่งเบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นแอมโมเนีย