'กทปส.' เตรียมจัดสรรทุน 1.5 พันล้าน หนุนวิจัยสร้างคุณภาพชีวิตหลากหลายด้านให้คนไทย

ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์

กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เดินหน้าผลักดันกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมสร้างประโยชน์ในเชิงสาธารณะ ชี้ในปีที่ผ่านมา กทปส. ได้สนับสนุนโครงการมากกว่า 500 โครงการ  ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จทั้งในด้านการส่งเสริมงานวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากร การรู้เท่าทันสื่อของกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งมีประชาชนคนไทยที่เข้าถึงเทคโนโลยีที่สนับสนุนเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้วิจัยและนักพัฒนาที่ต้องการผลักดันการสร้างประโยชน์สาธารณะ และใช้คลื่นความถี่ให้เกิดความยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัยและพัฒนาโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะที่สนใจขอรับทุน กทปส. จึงได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส. โดยคัดเลือก 11 โครงการไฮไลต์มาร่วมจัดแสดง

ประกอบด้วย1. โครงการสารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” พัฒนาโดยบริษัท สื่อดลใจ จำกัด2. โครงการขยายผลศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมด้อยโอกาสในกลุ่มบ้านสาขาบนพื้นที่สูง พัฒนาโดยมูลนิธิวิสาหกิจพลังงานชุมชน 3.โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการเฝ้าระวังไฟป่าและมลพิษทางอากาศด้วยเทคโนโลยีโลล่า พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 4.โครงการการศึกษาและพัฒนาหอฟอกอากาศอัจฉริยะโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมดูแลผ่านเทคโนโลยีไอโอที เพื่อการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่สาธารณะ พัฒนาโดยบริษัท ไทยโซลาร์เวย์ จำกัด5. โครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและระบุตำแหน่งการเผาในที่โล่ง โดยใช้โครงข่ายสื่อสาร อุปกรณ์เซ็นเซอร์ และอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน พัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

โครงการพิพิธภัณฑ์พกพา เปิดมิติใหม่การชมพิพิธภัณฑ์

6.โครงการการยกระดับการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์คดีความผิดทางเพศ ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หน่วยงาน พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 7. โครงการระบบบริหารข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑ์แบบพกพาเพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่จัดแสดงซึ่งมีข้อจำกัดด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ต  พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 8.โครงการรายการ กระต่ายตื่นรู้ พัฒนาโดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)9. โครงการฝึกอบรม The Metaverse โลกเสมือนจริง ที่กลายเป็นโลกสมจริง พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 10.โครงการยกระดับและปรับปรุงห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พัฒนาโดยวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ11.ท้ายสุด โครงการขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร สำหรับประโยชน์สาธารณะ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งโครงการนี้เองสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยได้รับรางวัลระดับโลก

โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการเฝ้าระวังไฟป่าและมลพิษทางอากาศด้วยเทคโนโลยีโลล่า

ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กล่าวว่า  การผลักดันโครงสร้างบริการกิจการด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถได้รับบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างอนาคตประเทศ โดยการจะทำให้เป้าหมายดังกล่าวเกิดขึ้น ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในยุคดิจิทัล คือต้องเน้นการสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ตรงกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง สอดรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่พัฒนาขึ้นต้องสามารถอยู่ได้ในระยะยาว และแบ่งปันไปยังกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความต้องการที่ใกล้เคียงกันได้ นอกจากนี้ยังต้องเป็นสะพานเชื่อมให้ผู้ใช้ก้าวทันกับเทคโนโลยี – ดิจิทัลที่ก้าวหน้า ก่อให้เกิดมูลค่า และเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ไปด้วยกัน

“สำหรับ การให้ทุนวิจัยสนับสนุนนวัตกรรมต่างๆ ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสาธารณะ และเป็นเวทีให้คนที่มีไอเดียใหม่ๆ ที่เป็นนักพัฒนา หรือโปรแกรมเมอร์ ได้พัฒนานวัตกรรม ที่มีความสำรคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ได้มีโอกาสแสดงความสามารถ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่างๆ เราต้องยอมรับว่าทุกคนนี้ เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโทรคมนารม เพื่อการคุยทางโทรศัพท์อย่างเดียว แต่ยังใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นและปฎิเสธไม่ได้ก็คือ เรื่องของเอไอ ที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้่นทุกวัน และที่เป็นห่วงคือ บทบาทของ Creative AI ว่าจะเข้ามาแทนที่คนหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ จะต้องมีการกำกับควบคุมดูแลทางโทรคมนาคม เพื่อการประมวลผล ขณะเดียวกัน ก็ต้องนำนวัตกรรมมาเป็นสิ่งที่ช่วยในการพัฒนาคนในประเทศ ให้เข้าใจ ใช้งานเป็น เกิดการซึมซับและได้ประสบการณ์ใหม่ๆ  Metaverse เป็นต้น “ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ กล่าว

ประธานกสทช. ยังได้เดินชม นิทรรศการ 11ผลงานวิจัย ที่กทปส.ให้การสนับสนุน พร้อมกับแสดงความคิดเห็นว่า แต่ละงานวิจัยมีประโยชน์และเชื่อมโยงกับกิจกรรมผู้คนในสังคม เช่น โครงการกระต่ายตื่นรู้  ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือว่าเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในสังคม ดังที่เห็นกันแล้วว่าทุกวันนี้มีคลินิกความงาม หรือผ่าตัดเสริมความงามเยอะมาก การโฆษณาฉีดโบท็อกซ์ หรือเรื่องที่คนไม่อยากแก่ อยากอายุยืน ทำให้มีธุรกิจกลุ่มนี้ผุดขึ้นมากมาย หรือการกินคอลลาเจน กินแล้วไปอยู่ตรงไหน ไปจุดที่ต้องการหรือไม่ เป็นสิ่งที่โครงการจะมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องกระตุกสังคมให้ไตร่ตรอง  หรืองานวิจัย เรื่องพิพิธภัณฑ์พกพา มีประโยชน์ทำให้คนอยากไปพิพิธภัณฑ์มากขึ้น และการไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไม่จืดชืดเหมือนแต่ก่อน เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่มีความสะดวก เพียงสแกนแล้วกดฟัง ไม่ต้องอาศัยไกด์แนะนำเหมือนแต่ก่อน จึงมีความน่าสนใจมาก หรือโครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและระบุตำแหน่งการเผาในที่โล่ง โดยใช้โครงข่ายสื่อสาร อุปกรณ์เซ็นเซอร์ และโดรน และการวิจัยพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอที สำหรับการเฝ้าระวังไฟป่า และมลพิษทางอากาศด้วยโลล่า ที่สามารถรายงานจุดที่มีการจุดไฟเผา และคุณภาพอากาศ PM2.5 ได้ ก็มีประโยชน์ต่อปัญหาการเผาและหมอกควันที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นทุกปี

โครงการยกระดับและปรับปรุงห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่นำแอปพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์ มารับแจ้งปัญหากับกทม.ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับทุนจาก กทปส.นับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง หลังใช้แอบพลิเคชั่นนี้ มีผลลัพธ์ 9  ดี อาทิ แก้ปัญหาไฟฟ้าดับได้ 28.000 ดวง ติดตั้งกล้องป้องกันอาชญากรรมได้กว่า 60,000 ตัว แก้ไขปัญหาได้กว่า 200,000 เรื่องจากที่ในช่วง1ปีกว่าที่มีการแจ้งเข้ามา 400,000 เรื่อง นอกจากนี้ ยังบรรเทาปัญหาขยะ ความสะอาดได้  ตลอดจนช่วยประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ด้วย

สำหรับแนวทางการจัดสรรเงินกองทุนในปี 2567 เบื้องต้นคณะกรรมการบริหารกองทุนได้มีมติเรื่องการกำหนดกรอบการจัดสรรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำเสนอกรอบการจัดสรรเงินดังกล่าวให้ กสทช. พิจารณา โดยมีการกำหนดกรอบวงเงินในการจัดสรรเงินทุนแต่ละประเภท คือ ทุนประเภทที่ 1 ทุนแบบเปิดกว้าง (Open Grant) 300 ล้านบาท ทุนประเภทที่ 2 เป็นทุนตามนโยบายคณะกรรมการบริหารกองทุน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทุนมุ่งเป้า (Strategic Grant) 600 ล้านบาท และทุนต่อเนื่อง 100 ล้านบาท และทุนประเภทสุดท้าย คือ ทุนให้กับกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 500 ล้านบาท .


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.วินัย' ยกงานวิจัยต่างชาติย้ำลดเกลือลดความดันโลหิตได้

'ดร.วินัย' ยกงานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์-มหาวิทยาลัยแอละบามา เบอร์มิงแฮม ยืนยันการลดบริโภคเกลือจะช่วยลดความดันโลหิตได้!

ประธาน กสทช. โต้ข่าวบินบ่อยเพราะเปิดคลินิกในต่างประเทศ

ในการประชุมสำนักงาน กสทช. ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 22 กันยายน 2566 ณ หอประชุมชั้น 2 สำนักงาน กสทช. ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.

ลุยงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อย. จัด e-Consult ช่วยผู้ประกอบการ

รัฐเร่งผลักดันงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อย. จัด e-Consult พร้อมระบบสนับสนุนผู้ประกอบการ นักวิจัย ออกผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสุขภาพสู่ท้องตลาดเร็วขึ้น

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สรุปผลสอบบุคลากรผิดชัด ไล่ออกเหตุผลงานวิจัยผิดปกติ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ดำเนินการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวจนเป็นที่ยุติพบว่าบุคลากรรายดังกล่าวมีพฤติการณ์กระทำความผิดวินัยร้ายแรงอันเกี่ยวเนื่องจากพฤติการณ์ที่ผิดปกติของการตีพิมพ์ผลงานวิจัย