ขุดค้น'วัดจักรวรรดิ' พัฒนาย่านเมืองเก่า

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘วัดจักรวรรดิ’ เป็นวัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์  มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดนางปลื้ม ต่อมาเรียกว่า วัดสามปลื้ม ขณะนี้มีความจำเป็นสำคัญเร่งด่วนในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีวัดจักรวรรดิฯ 

ด้วยปัจจุบันวัดจักรวรรดิ ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เขตสัมพันธ์วงศ์ ล้อมรอบด้วยชุมชนและพื้นที่การค้าย่านสำเพ็งและพาหุรัดที่คับคั่งกลางใจเมือง และเป็นปูชนียสถานที่ประชาชนเดินทางเข้ามาสักการะบูชาประกอบศาสนกิจและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก โบราณสถานภายในวัดมีความชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลาและมีความเปราะบางต่อการถูกทำลายให้เสียหายจากการใช้พื้นที่ภายในวัดของผู้คนที่เข้ามาจอดรถ เพื่อซื้อของในย่านดังกล่าว 

เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิฯ ทำหนังสือถึงกรมศิลปากร (ศก.) ขออนุญาตบูรณะโบราณสถานและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของพื้นที่โบราณสถาน และขอให้ ศก. เข้าไปสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อประโยชน์ในการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์   นำมาสู่การเดินหน้าโครงการศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหารและพัฒนาการชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ สนับสนุนงบประมาณและความร่วมมือจากมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา 

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การดำเนินงานในระยะแรกจะเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพื้นที่โบราณสถานหรือเขตพุทธาวาสของวัดจักรวรรดิ ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – 12 เมษายน 2567    ซึ่งทางวัดจักรวรรดิขอให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินงานโบราณคดี เพื่อนำข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีไปใช้ในการออกแบบบูรณะโบราณสถานและการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในพื้นที่โบราณสถานวัดจักรวรรดิ รักษาศาสนสมบัติและมรดกวัฒนธรรมให้ยั่งยืน 

สำหรับรูปแบบการดำเนินงานทางโบราณคดีของโครงการฯ จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง เปิดโอกาสให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นประชาชนได้เข้ามาร่วมสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้นักโบราณคดีรุ่นใหม่ได้เข้ามาฝึกฝนและเรียนรู้ประสบการณ์จริงในการทำงานภาคสนามโบราณคดี 

“ ส่วนการสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ มุ่งศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนประวัติศาสตร์เมืองบางกอก โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลย่านสำเพ็ง เยาวราช และตลาดน้อย เพื่อเป็นทุนทางวัฒนธรรมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณภาพของสังคมในย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน ” อธิบดี ศก. กล่าว

วัดจักรวรรดิแห่งนี้มีสิ่งสำคัญและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มากมาย อาทิ พระวิหารที่เคยประดิษฐานพระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว ปัจจุบันประดิษฐานพระนาก พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 4 พระราชทานมาแทนพระบาง, จิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นเลิศสมัยอยุธยาภายในพระวิหารกลาง, ภาพเล่าเรื่องตำนานพระพุทธเจ้า 5 พระองค์และแม่กาขาวบนหน้าบันพระอุโบสถและวิหารพระนาก, พระพุทธบาท และพระพุทธฉาย แห่งเมืองบางกอก, พระพุฒาจารย์หรือท่านเจ้ามา อดีตเจ้าอาวาสสมัยรัชกาลที่ 5-6 พระเกจิอาจารย์ชื่อดัฝด้านการทำนุบำรุงศาสนาและการรักษาโรค, กรุพระเครื่องสมเด็จวัดสามปลื้ม และพระกริ่งชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา, ศาลเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสงครามอานามสยามยุทธ ระหว่างไทย ลาว เขมร และญวน และตำนานจระเข้ไอ้บอดวัดสามปลื้ม เป็นต้น

ดร.ภัทรวรรณ  พงศ์ศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กล่าวว่า การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อให้ทราบประวัติและการทับซ้อนของวัฒนธรรมแต่ละสมัยภายในวัด รวมถึงความสัมพันธ์ของศาสนสถานกับพัฒนาการชุมชนประวัติศาสตร์ในพื้นที่เขตสัมพันธ์วงศ์ โดยเฉพาะกลุ่มชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลย่านสำเพ็ง เยาวราช และตลาดน้อยที่สะท้อนบริบทความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในย่านเมืองเก่าที่อยู่อาศัยซ้อนทับต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้ 

ถือเป็นโมเดลต้นแบบของกระบวนการศึกษาทางโบราณคดีให้แก่วัดหรือศาสนสถานอื่นๆ ที่เป็นโบราณสถานหรือแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในย่านเก่าของกรุงเทพฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ'โกลเด้นบอย'ที่สหรัฐ ก่อนส่งคืน

26 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุประติมากรรมสำริด 2 รายการ ซึ่งมีหลักฐานว่าถูกนำออกจากประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย

อนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน 2 รัชกาล วัดราชประดิษฐฯ

คัมภีร์ใบลานที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตร คัมภีร์โบราณนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับวัด ซึ่งเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  เป็นคัมภีร์ใบลานที่เคยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมตั้งแต่สมัย ร.  4 ถือว่าเป็นคัมภีร์ใบลานฉบับหลวง

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ส่งมอบเรือพระราชพิธี 16 ลำ ให้ศก.ประดับตกแต่ง

5 เม.ย. 2567 - เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 16 ลำ ที่กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเรียบร้อยให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ โดยมี