บทเรียน'แคดเมียม' ทางออกจัดการกากอุตสาหกรรมในอนาคต

จากเหตุการณ์การขุดและเคลื่อนย้ายกากแร่แคดเมียมจากบ่อเก็บกากแร่ในบริเวณโรงถลุงสังกะสีเดิมในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปยังโรงงานในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร และพบเพิ่มเติม จ.ราชบุรี จ.ชลบุรี และใจกลางกรุงเทพมหานคร แต่กากแร่แคดเมียมที่โรงงานปลายทางดังกล่าว กลับมีปริมาณน้อยกว่าที่แจ้งขออนุญาตขนย้ายและไม่ถูกจัดเก็บอย่างเหมาะสม วันนี้กากแคดเมียมที่ล่องหนยังหาไม่เจอ ส่วนกากแคดเมียมที่ซุกตามโรงงานต่างๆ ที่ยังไม่สิ้นพิษภัยทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไม่ต่างกับระเบิดเวลาสารเคมี

แม้ว่าจะวางแผนและซักซ้อมเพื่อจัดการขนย้ายกากแคดเมียมออกจากโรงงานหลอมอลูมิเนียมและโกดังสินค้าที่สมุทรสาคร  ก่อนส่งกลับไปฝังกลบที่เดิมจังหวัดตาก วันที่ 28 เมษายนนี้ แต่กากแคดเมียมสารก่อมะเร็งสร้างความหวาดวิตกให้กับชาวบ้าน  ทั้งในพื้นที่ที่มีการสะสมของกากแคดเมียมและพื้นที่ปลายทาง ตลอดจนระหว่างการขนย้ายจะป้องกันผลกระทบอย่างไร ซ้ำด้วยกรณีไฟไหม้โรงงานเก็บกากสารเคมีและกากอุตสาหกรรม จ.ระยอง ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตโยงเหตุเพลิงไหม้โรงงานสารเคมีภาชี จ.อยุธยา เหตุการณ์ซ้ำซาก สะท้อนเห็นถึงปัญหาด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของเสียอันตรายของไทย

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) เปิดเวทีทบทวน วิเคราะห์การบริหารจัดการปัญหา  เสนอมาตรการยกระดับการจัดการของเสียอันตรายในอนาคต ผ่านมุมมองนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวงเสวนา “บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม? ” เมื่อวันก่อน ดำเนินรายการโดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ  มีบทบาทติดตามมลพิษอุตสาหกรรม  กล่าวว่า กรณีแคดเมียมมีความพยายามพาไปสู่ประเด็นจะจัดการกากแคดเมียมกว่าหมื่นตันอย่างไร และที่เหลืออยู่ใต้ดินอย่างไร แต่ก่อนจะไปจุดนั้น สิ่งที่คู่ขนาน กฎหมายจะจัดการผู้กระทำผิดได้มากน้อยแค่ไหน สังคมพุ่งไปที่ บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด จ.สมุทรสาคร กระทำผิด บริษัทแถลงตอบโต้ พร้อมเปิดเผยสัญญา  ถามว่า  บมจ. เบาด์ แอนด์ บียอนด์ เจ้าของโครงการผิดมั้ย หากมองตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566 ถือว่ากระทำผิดแน่นอน

แต่บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายกับเจ แอนด์ บี ซึ่งเจ แอนด์ บี อาจคิดว่าได้ทองมา เพราะกากแคดเมียมเมื่อนำไปหลอมแล้วจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ไม่คิดว่าการจัดการกากแคดเมียมเกินความสามารถของตัวเองจะจัดการได้ ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขายมีอำนาจเหนือกฎหมายหรือไม่ เพราะการขุด รื้อถอน จัดการกาก การดูแลหลุมที่ขุด เป็นหน้าที่  เจ แอนด์ บี  ปัญหาและความเสียหายที่เกิดขึ้นการขนจากตากมาสมุทรสาคร และกระจายต่อไปยังโรงงานต่างๆ เป็นการกระทำผิดของ เจ แอนด์ บี

“ แต่ถ้ามาดูประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566 เบาด์ แอนด์ บียอนด์ ไม่หลุดความผิดชอบ เพราะข้อกฎหมายระบุเจ้าของกากต้องรับผิดชอบต่อกากที่สร้างความเสียหายต่อสุขภาพคนและสิ่งแวดล้อม  จนกระทั่งปัญหานั้นจัดการเสร็จสิ้นปลอดภัย จะอ้างสัญญาซื้อขายไม่ได้  เป็นเรื่องการตีความทางกฎหมาย อยากให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาดีๆ มิฉะนั้นเท่ากับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ด้วย  เรื่องกากแคดเมียมปริมาณมหาศาล และเป็นสารพิษร้ายแรงส่งผลกระทบสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ขัด พรบ.วัตถุอันตราย รวมถึงกฎหมายหลายฉบับเบาด์ แอนด์ บียอนด์ เป็นผู้กระทำผิดรายแรก เป็นต้นทาง    ก่อนเคลื่อนไปสู่จัดการกาก เรื่องนี้ต้องสู้กันอีกยาว ตราบใดมีกฎหมาย แต่เอาผิดไม่ได้ กรณีแคดเมียมจะเกิดอีกมาก เราพร้อมจะอยู่ใต้สภาวะการณ์นี้ รอให้อาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม กลายเป็นสงครามสิ่งแวดล้อมอย่างนั้นเหรอ “ เพ็ญโฉม กล่าว

ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศย้ำกรณีกากแคดเมียมเป็นการปะทุออกมาถึงความล้มเหลวโดยอย่างสิ้นเชิงในการแก้ปัญหากากอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม  เมื่อปี 41 มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเต็มที่ กากมีปริมาณมาก มีโรงงานรับบำบัดกากอุตสาหกรรม 10 กว่าโรง ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายและเพิ่มเติมประเภทโรงงานรีเคิล ประเภท 106 ซึ่งเจ แอนด์ บี เป็นโรงงาน 106    ปี 2548 – 2557 โรงงานบำบัดกากเพิ่มประมาณ 500 แห่ง มีการยกเว้นกฎหมายผังเมืองและมีการเร่งหลายอย่างทำให้ โรงงานรีไซเคิลประเภทนี้เพิ่มเป็น 2,500 แห่ง

กระทรวงอุตสาหกรรมปล่อยผีกากอุตสาหกรรมที่มีปัญหารุนแรงมากอย่างน้อย 11 ประเภท สามารถรีไซเคิลได้ แต่ไม่ได้วางมาตรการสิ่งแวดล้อมควบคู่เลย โรงงาน 106 โรงงานรีไซเคิลกากของเสียที่เป็นกากอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันใช้แล้ว กากปิโตรเลียม สารเคมีมากมาย  ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA ) ไม่ต้องมีมาตรการควบคุมการปล่อยมลพิษอากาศ ไม่ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้คุณภาพ   ไม่มีเทคโนโลยีชั้นดี  โรงงาน เจ แอนด์ บี ไม่มีระบบเหล่านี้ อุตสาหกรรมจังหวัดตาก อนุมัติได้อย่างไร

“ ถ้าขุดคุ้ยลงไปให้ลึก นอกจากนโยบายปล่อยผีกากอุตสาหกรรมแล้ว การแก้ไขกฎหมายเรื่อยมา จนกรณีกากแคดเมียมปะทุออกมา สะท้อนถึงความไม่โปร่งใสทั้งระบบอนุมัติ อนุญาต ให้มีการกำจัดกากอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่  ล่าสุด  โรงงานเก็บกากของเสียอุตสาหกรรม วิน โพรเสส ที่บ้านหนองพะวา  จ.ระยอง เกิดเพลิงไหม้  นี่คือ อุบัติภัยสารเคมีที่เกิดซ้ำๆ เมื่อโรงงาน 106 ไม่ได้มาตรฐาน รับซื้อกากจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาเก็บกองไว้  กรณีซุกกากที่โรงงาน อ. ภาชี เพิ่งไฟไหม้ สองปีก่อนโรงงานรีไซเคิลที่ราชบุรีก็ไฟไหม้หลายครั้ง กระทรวงอุตสาหกรรมต้องรับผิดชอบ “ เพ็ญโฉมกล่าว

อย่างไรก็ตาม เธอแสดงความกังวลการขนย้ายแคดเมียมไปตาก ระบุตามหลักการในการเคลื่อนย้ายกากต้องใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ปิดมิดชิด แต่ถุงบิ๊กแบคที่พบทั้งปริและขาด ไม่ต้องพูดถึงฝนตก แค่ลมพัดมามลพิษสามารถปนเปื้อนในอากาศกระจายไป ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ  สำหรับกากที่หายไปยังหาไม่เจอ คิดว่าส่วนหนึ่งหลอมไปแล้ว ซึ่งไม่มีการรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แสดงถึงช่องโหว่ของระบบ

จากการติดตามเฝ้าระวังมลพิษอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร เพ็ญโฉมเผยเคยทำวิจัยฝุ่น PM2.5 ที่สมุทรสาคร พูดคุยกับโรงหล่อหลอม ซึ่งเป็นแหล่งปล่อยฝุ่นพิษใหญ่ พบผู้ประกอบการต้องการปรับเปลี่ยนสู่เทคโนโลยีที่ดีขึ้น ต้องใช้ทุนสูง กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีนโยบายสนับสนุน อยากเสนอโครงการนำร่องที่สมุทรสาคร เป็นเขตอุตสาหกรรมเก่าแก่ มีสารพิษปนเปื้อนตกค้างยาวนาน  ถ้าเอาจริง หนุนการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจะสามารถพลิกโฉมได้ พ่วงสมุทรปราการก็ดี เพราะใกล้กรุงเทพฯ   ปัจจุบันพื้นที่ที่มีโรงงานเก็บกากของเสียอุตสาหกรรม นอกจากยังพบที่อยุธยา ระยอง ราชบุรี กลางดง รวมถึง จ. เพชรบุรี

ข้อเสนอแนะจากเวทีนี้ เพ็ญโฉม กล่าวว่า ต้องทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบ ดำเนินคดีภาคเอกชนผู้กระทำผิด ถ้าไทยจะพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ต้องทำให้ได้ การจัดการกากแคดเมียมมีเกณฑ์พิจารณาไม่ว่าจะขนกลับไปที่เดิมหรือดำเนินการอย่างไร รัฐต้องประกาศแผนออกมา และมีผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ รวมถึงมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีนี้สังคมให้ความสนใจควรรายงานผลปฏิบัติงานให้ทราบเป็นระยะ ใช้เป็นกรณีตัวอย่างดำเนินการให้รัดกุมและประเมินค่าใช้จ่าย เพื่อใช้ในการวางแผน ไม่ให้เกิดซ้ำ เป็นบทเรียนราคาแพง

ส่วนระบบการอนุมัติอนุญาตแนบท้ายใบประกาศต้องทบทวนการรีไซเคิลเท่ากับการกำจัดของเสียหรือไม่  สผ.ต้องปรับปรุงมาตรการอีเอไอ รวมโรงงานลำดับที่ 106 ด้วยมั้ย กระทรวงอุตสาหกรรมทบทวนการรีไซเคิลของเสียอันตรายต้องเข้มข้น ที่สำคัญต้องแก้ไข พรบ. โรงงาน ปัจจุบันอนุญาตตลอดชีพ แต่กลับมีการให้เช่าช่วง ขายต่อสร้างความสียหายในพื้นที่ เสียงบประมาณมหาศาล แต่กฎหมายตามไปเอาผิดไม่ได้ ส่วน พรบ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมต้องสร้างโครงสร้างอำนาจสมดุลการจัดการสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสนับสนุนให้มีกฎหมาย PRTR  เพราะหลักการ PRTR ต้องเผยแพร่สารเคมีที่ครอบครอง สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้  เป็นระบบวางฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แม้ไม่ครอบคลุมข้อมูลมลพิษทั้งหมด แต่ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานได้เต็มที่ สร้างสังคมที่โปร่งใส

ด้าน ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่าโจทย์ที่แท้จริงของแคดเมียม ไม่ใช่เร่งหาคนทำผิด แต่คือ ทางการจัดการมลพิษ และทำให้คนเข้าใจคนกลุ่มนั้น คือใครบ้าง แต่ก็ต้องหาคนทำผิดไปพร้อมกัน  ความเร่งด่วนของปัญหาและการดำเนินการ นโยบายของรัฐบาล คือขนกลับไปจังหวัดตาก หลุมเดิมถูกขุด สภาพไม่สมบูรณ์พอที่จะฝังกลบ ซ่อมหลุมต้องใช้งบขน งบซ่อม และใช้เวลา ต้องทำอีเอไอใหม่ จะตกหลุมแก้ปัญหา เพราะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จะล่าช้า มีผู้เสนอให้เอาคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่มีข้อระวังการแตกร้าวต่อไป แต่ทางออกที่น่าจะเหมาะสมดินคลุม ปลูกต้นไม้เพื่อสกัดแคดเมียม ตอนนี้คนตากไม่ยอม ขนไปที่อื่นก็ไม่ยอม เช่นกัน แล้วจะไปไหนได้ นอกจากกลับไปที่เดิม ตาก แม้รัฐบอกจะมีมาตรฐานดูแล แต่คนยังไม่เชื่อมั่น

“ การเอากากแคดเมียมมาฝังกลบอย่างมั่นคงและปลอดภัยมันมีจริงมั้ย แต่ไม่ใช่ เป็นเพียงทคโนโลยีที่ดีที่สุด เหมือนการเอาระเบิดเวลามาทิ้งในประเทศ เสี่ยงจากอุบัติเหตุ เสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ปลอดภัยที่สุด คือ ไม่ทำเหมือง ไม่ถลุง จะสร้างสมดุลได้อย่างไร มีการเสนอเทคโนโลยีที่มีอยู่ที่ดีที่สุดกับเทคโนโลยีที่ปฏิบัติได้จริง  แต่ผมเสนอเทคโนโลยี 3 ขา มุ่งคิดถึงผลกระทบครบทุกด้าน  เช่น ใช้ปูนขาวมาตกตะกอนกำจัดปรับเสถียรแคดเมียมไม่ให้ออกมา แต่กลับสร้างโลกร้อน หรือบำบัดน้ำเสียโดยไปถึงขนาดกำจัดด้วยการกลั่นเป็นน้ำบริสุทธิ์ ใช้พลังงานสูงมีการปล่อยคาร์บอน “

อาจารย์ธงชัยกล่าวด้วยว่า กากแคดเมียมปกติต้องฝังกลบ ณ ที่จุดกำเนิดอย่างถาวร แต่นี่ขุดมาแล้ว กระจายออกไปแล้ว ความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว แล้วจะขนกลับไปจะเพิ่มความเสี่ยงอีกทำไม คำตอบที่เอาออกไปนอกประเทศที่เขาต้องการและมีศักยภาพ โดยเฉพาะเมื่อมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ขายได้ แต่ถ้าประเทศเพื่อนบ้านไม่มีศักยภาพ ก็ไม่ควรเอามลพิษไปให้บ้านเขา

ผู้ทรงคุณวุฒิมองว่า กากแคดเมียมขายได้ นักธุรกิจขุด ขน ลำเลียงมา ย่อมมีที่ไป ไปหลอม ไปหล่อที่ไหน ต้องหาคำตอบ PPP เป็นคำตอบ ใช้ข้อดีของแต่ละฝ่าย โจทย์ คือ กฎหมายไทย กฎหมายนานาชาติ การขนย้ายข้ามพรมแดน กฎหมายคือตัวหนังสือ แก้ไขอีไอเอ เป็นกฎหมายรอง ไม่ใช่ พรบ.  ส่วนกากแคดเมียมที่ยังหาไม่เจอ เป็นระเบิดเวลายังอยู่ในประเทศไทย กากแคดเมียมที่กอง ชลบุรี สมุทรสาคร และบางซื่อ  ยังไม่มีมาตรการจัดการที่เหมาะสม ระหว่างรอการเคลื่อนย้าย สามารถปรับปรุงโกดังจัดเก็บที่ปลอดภัย ไม่กระจายสู่ภายนอก รวมถึงติดตามตรวจสอบ รายงานผล ข้อเท็จจริงให้กับชาวบ้านในพื้นที่

“ การปฎิรูประบบราชการ ระบบยุติธรรม ให้แก้กฎหมายให้ทันกาลและทันการณ์ เพื่อแก้ปัญหาแคดเมียม ระบบข้อมูลและรายงาน PRTR ที่ต้องผลักดัน ระบบบิ๊กดาต้า ต้องนำข้อมูลดิบมาเวิคราะห์ และนำไปใช้งานต่อได้ ซึ่งต้องปฏิรูปอีกเยอะ  เจ้าหน้าที่รัฐต้องมองครบปัจจัยให้เป็น ไม่ใช่แก้ปัญหาหนึ่ง สร้างอีกปัญหาหนึ่ง ระบบติดตามทั้งเอกชน  รัฐ ประชาชน รวมถึงนำไปขยายผลในกรณีอื่นๆ รวมถึงรัฐต้องทำแผนตอบโต้เหตุการณ์สารเคมีที่ทันท่วงที   ที่ผ่านมา มีการรายงานตัวเลขไม่จริงอยู่มาก ทำให้การจัดการผิด เป็นโจทย์ใหญ่มาก “ อาจารย์ธงชัยเสนอทางออกในท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บทสนทนาทรงพลัง'อินสนธิ์ วงค์สาม-ทวี รัชนีกร'

2 ศิลปินระดับชาติวัย 90 ปี สร้างผลงานชั้นเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอมาตลอดชีวิต ปัจจุบันยังทำงานศิลปะอย่างจริงจัง แต่ละผลงานสะท้อนถึงวิธีคิด​ที่ชัดเจนและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจผ่านการสร้างงานศิลป์รูปแบบใหม่ๆ ​ด้วยการค้นหาสิ่งใหม่ ดัดแปลงสิ่งเก่า​ ค้นหาแก่นแท้ในผลงานของตัวเอง​

วธ.โชว์'โขน-วัฒนธรรม4ภาค' ต้อนรับงานฟีฟ่า คองเกรส

15 พ.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ทางคณะกรรมการการฯ ได้มอบหมายให้ สวธ. จัดการแสดงทางวัฒนธรรม ในวันที่ 15 พฤษภาคม และวันที่ 16 พฤษภาคม โดยวันที่ 15 พฤษภาคม จะมีการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ ที่ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล

แห่ทวงสัญญา 'อิ๊งค์-นิด-อ้วน' ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะขอให้ศาลปล่อยผู้ต้องหาคดีม.112

ในสังคมออนไลน์ กลุ่มที่สนับสนุน น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ "บุ้ง ทะลุวัง" ภายหลังการเสียชีวิตของ บุ้ง ได้มีการแชร์คำพูดของแกนนำพรรคเพื่อไทย ช่วงหาเสียงเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2566 ต่อนโยบายที่เกี่ยวกับผู้ต้องหาคดีม.112