หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน จนเอาชนะได้ในวันที่ 10 เรียกว่า “วันวิชัยทศมิ” หรือ “วันรามนวมี” เป็นวันเฉลิมฉลองในชัยชนะในคืนที่สิบ แสดงถึงธรรมะที่สามารถชนะอธรรม และการมีปัญญา ศาสนิกชนจะนำเทวรูปพระแม่อุมาเทวีและเทวรูปอื่นๆ ขึ้นขบวนแห่ไปบนเส้นทางเพื่อรับบารมีจากองค์เทพในคืนนี้ ตลอดเทศกาลศาสนิกชนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ๆ สวยงาม เต้นรำ ร้องเพลง เฉลิมฉลองกันทั้งวันทั้งคืน
ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ”วัดแขกสีลม’ ศาสนสถานในการกำกับดูแลของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง องค์การทางศาสนาศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ที่กรมการศาสนาให้การรับรอง จัดงานเทศกาลนวราตรีระหว่างวันที่ 2 – 14 ต.ค.2567
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วธ. กล่าวว่า วธ. โดยกรมการศาสนา ดำเนินนโยบายร่วมกับองค์การศาสนา 5 ศาสนา จัดโครงการเทศกาลประเพณีทางศาสนา 5 ศาสนา ประกอบด้วยกิจกรรม “เสน่ห์วันวาน เทศกาลงานวัด” ของศาสนาพุทธ “วันอาซูรอสัมพันธ์” ของศาสนาอิสลาม “เทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส” ของศาสนาคริสต์“เทศกาลนวราตรี”, “เทศกาลดิวาลี” ของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และ “วันครบรอบ 555 ปี วันคล้ายวันประสูติคุรุนานักซาฮิบ องค์ปฐมศาสดา” ของศาสนาซิกข์ เพื่อส่งเสริม Soft Power ในมิติศาสนา 5 ศาสนา สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและเทศกาลในมิติศาสนา สร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มั่นคง และสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างศาสนิกชน ส่งผลให้เกิดความสงบสันติสุขของสังคม ศาสนิกชนทุกศาสนาอยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี
ทุกๆ ปี เทศนวราตรี มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ภายในงานจัดกิจกรรมบูชาองค์เทพที่สำคัญศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็นไปตามลำดับวันในพิธี วันที่ 2 ต.ค. 67 เป็นวันก่อนเริ่มงานเทศกาลนวราตรี มีพิธีบูชาองค์พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ต่อมาช่วงบ่ายถึงค่ำเป็นพิธีบูชาเทพประจำแผ่นดิน และเทพแห่งดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า เพื่อขอจัดงานนวราตรีประจำปี 2567 เมื่อเสร็จสิ้น จะมีพิธีบูชาพระแม่ทั้ง 3 ตลอดทั้งวัน เสริมสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
วันที่ 3 ต.ค. เริ่มงานเทศกาลนวราตรี มีพิธีอัญเชิญธงสิงห์ขึ้นเสา วันที่ 4 – 5 ต.ค.พิธีบูชาองค์พระแม่มหาทุรคาเทวี เทพแห่งอำนาจ บารมี วันที่ 6 – 8 ต.ค. พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมีเทวี เทพแห่งความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
วันที่ 9 ต.ค. พิธีสยุมพรองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีและองค์พระศิวะมหาเทพ เป็นพิธีอภิเษกสมรสขององค์เทพ จะมีขบวนขันหมากและพิธีอภิเษกตามความเชื่อของศาสนาฮินดู เป็นพิธีกรรมที่ได้รับความสนใจจากศาสนิกชนและคู่รักที่จะมาขอพรเพื่อสมหวังในความรัก ศาสนิกชนที่เข้าร่วมในพิธีอภิเษกสมรสจะได้ร่วมในขบวนแห่ขันหมาก ประกอบด้วยขนมมงคลบนถาดบูชาสำหรับถวายองค์เทพ จบพิธีศาสนิกชนนำกลับไปรับประทานเพื่อสิริมงคลได้
วันที่ 10 ต.ค. พิธีบูชาพระแม่มหาสรัสวตีเทวี เทพแห่งศิลปวิทยาการ พิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี และองค์พระศิวะมหาเทพ วันที่ 11 ต.ค. พิธีบูชาพระแม่มหาสรัสวตีเทวี เทพแห่งศิลปวิทยาการ วันที่ 12 ต.ค. งานแห่วันวิชัยทัศมิ อีกหนึ่งพิธีกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ถือเป็นการแห่ฉลองชัยชนะของพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ในภาคพระแม่ทุรคาที่มีชัยต่อมหิษาสูรตามตำนาน วันที่ 14 ต.ค. พิธีอัญเชิญธงสิงห์ลง และพิธีอาบน้ำคณะพราหมณ์และคณะคนทรง หลังจากเสร็จพิธีคณะพราหมณ์จะนำสายสิญจน์ที่ผ่านการทำพิธีตลอด 10 วัน มาผูกข้อมือให้แก่สานุศิษย์ผู้ศรัทธา
งานนวราตรี เป็นเทศกาลสำคัญศาสนาฮินดู ศาสนิกชนสามารถเดินทางเข้ามาร่วมพิธีได้โดยไม่มีการจำกัดศาสนา เชื่อกันว่าจะช่วยเสริมสิริมงคลให้กับชีวิตของตนเองและครอบครัว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
วธ.จัดกิจกรรมถวายพระราชกุศล ร.9
28 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์และกลุ่มภาคีเครือข่ายจัด “กิจ
ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ
รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'
ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน
เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้
ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา
เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ
หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก