‘สมศักดิ์’ เผยมติ ครม. เคาะงบบัตรทองปี 2569 ‘2.65 แสนล้านบาท’ เน้นหนักงานป้องกันโรค

ณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ปีงบประมาณ 2569 รวม 2.65 แสนล้านบาท เน้นหนักงานในระดับชุมชน เพิ่มงบผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขึ้น 90% เพิ่มวงเงินควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชนขึ้น 20% เพิ่มเงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นขึ้นอีก 53.45% และเพิ่มงบสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการนวัตกรรมขึ้นอีก 72.9%

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 ก.พ. 2568 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2569 วงเงิน 265,295,582,100 บาท โดยในส่วนของเงินเหมาจ่ายรายหัวได้ปรับเพิ่มเป็น 4,175.99 บาท/คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 ประมาณ 9.09% นอกจากนี้ยังได้เพิ่มสัดส่วนงบประมาณในหลายรายการ เช่น เพิ่มค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขึ้น 90% เพิ่มค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิและหน่วยนวัตกรรม 72.9% หรือเพิ่มค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ขึ้นอีก 53.45% เป็นต้น

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การพัฒนาทางการแพทย์ และความซับซ้อนของระบบบริการสุขภาพ ฯลฯ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ค่าบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนและค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่งบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับคนไทยทุกคนทุกสิทธิยังมีสัดส่วนเพียง 12.73% ของงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อย

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินและลดภาระความเสี่ยงทางการคลัง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงเห็นสมควรให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการเร่งสร้างจิตสำนึกด้านสุขภาพให้กับประชาชนผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการใช้บริการทางด้านสาธารณสุขอย่างมีเหตุผล เพื่อลดความจำเป็นในการใช้บริการทางการแพทย์และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว อีกทั้งพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกัน เป็นระบบ Service Data ที่เชื่อมโยงข้อมูลของผู้ป่วยในทุกสิทธิการรักษาพยาบาลอย่างครบถ้วนและทันสมัย เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนของบริการและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามผลการรักษา

รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ครม. ยังให้ข้อคิดเห็นในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการให้บริการสาธารณสุข โดยอาจจัดทำโครงการความร่วมมือในรูปแบบของการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การให้บริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน หรือการใช้ทรัพยากรของภาคเอกชนเพื่อเสริมศักยภาพของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยลดภาระ ด้านงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ รวมทั้งให้ สปสช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพิจารณาให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นโดยเร่งด่วน เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า งบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2569 จะแบ่งเป็น 9 ส่วนหลัก ประกอบด้วย

1.ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง จำนวน 47.5 ล้านคน วงเงิน 198,367,877,000 บาท คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัว 4,175.99 บาท/คน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 16,526,712,400 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 9.09%

2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ประกอบด้วย ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ 3,651,761,000 บาท และค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 877,601,500 บาท รวมวงเงิน 4,529,362,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 319,917,000 บาท หรือ 7.60%

3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง วงเงิน 16,074,980,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 2,568,814,300 บาท หรือ 19.02%

4. ค่าบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน และผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง) ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่ งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง วงเงิน 1,355,313,000 บาท งบบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน วงเงิน 132,154,000 บาท และงบบริการควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วงเงิน 73,012,800 บาท รวมวงเงิน 1,560,479,800 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 261,555,500 บาท หรือ 20.14%

5. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 1,490,288,000 บาท

6. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ประกอบด้วย 6.1 บริการด้วยทีมแพทย์ประจำครอบครัว วงเงิน 153,518,900 บาท 6.2 บริการที่ร้านยา วงเงิน 701,464,600บาท 6.3 บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล วงเงิน 199,147,700 บาท 6.4 ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) 171,883,500 บาท 6.5 บริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน วงเงิน 56,904,600 บาท 6.6 บริการนวัตกรรมด้านทันตกรรม วงเงิน 719,127,300 บาท 6.7 ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาล วงเงิน 1,101,597,900 บาท 6.8 บริการนวัตกรรมการแพทย์แผนไทย วงเงิน 87,829,200 บาท 6.9 บริการนวัตกรรมด้านเวชกรรม วงเงิน 483,932,800 บาท และ 6.10 บริการนวัตกรรมด้านกายภาพบำบัด วงเงิน 95,073,000 บาท รวมวงเงินทั้งหมด 3,770,479,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 1,590,251,500 บาท หรือ 72.94%

7. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 7.1 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร วงเงิน 3,870,312,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 1,348,105,000 บาท หรือ 53.45% 7.2 ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน วงเงิน 5,514,367,800 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 2,614,121,800 บาท หรือ 90.13% 7.3 ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด วงเงิน 541,016,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 10,048,000 บาท หรือ 1.89%

8. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ วงเงิน 562,229,800 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 39,306,800 บาท หรือ 7.52%

และ 9. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว สำหรับคนไทยทุกคนทุกสิทธิ ประกอบด้วย 9.1 ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั่วไป จำนวน 67,627,000 คน วงเงิน 27,761,917,400 บาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2568 จำนวน 2,377,956,900 บาท หรือ 9.37%  และ 9.2  ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) จำนวน 6,215,900 คน วงเงิน 1,252,271,800 บาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมศักดิ์' นำขับเคลื่อนโครงการ 'คนไทย 7.2 ล้าน รู้ค่าความเสี่ยงโรคไต'

ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กทม. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดตัวและประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนโค

'สมศักดิ์' ตอบกระทู้ สว. ย้ำนโยบายรัฐบาลเพื่อไทย สอดรับแนวคิดแพทย์ชนบท

ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบกระทู้ที่นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา ตั้งถามกรณีแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนแนวคิดและการดำเนินงานของขบวนการ

หนุนรัฐบาล 'ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า' สสส.เดินหน้าประสานทุกหน่วยงานปิดจุดอ่อน ห่วงเยาวชนตกเป็นเหยื่อเสพ 'พอดเค' ยาเสพติดรูปแบบใหม่มีอันตรายถึงตายได้ พร้อมเห็นชอบแผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา พัฒนาองค์ความรู้ สร้างค่านิยมใหม่ ดันนโยบายงานเลี้ยงปลอดเหล้า

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา มีจุดเน้นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้เพื่อผลักดันนโยบาย

'สมศักดิ์' ฝากผู้อบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ช่วยป้องกันเหตุระหว่างจนท.รัฐกับประชาชน

“สมศักดิ์” วอนผู้เข้าอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการจัดการความขัดแย้งในระบบสาธารณสุข ช่วยป้องกันเหตุพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ