สปสช. แจงเหตุที่หน่วยบริการยังต้องรอเงินจ่าย เพราะอยู่ระหว่างเร่งเสนอของบกู้เงินฯเพิ่ม เหตุช่วงโควิดระบาดหนัก ผู้ติดเชื้อเพิ่มหลักพัน หลักหมื่นรายต่อวัน การเบิกจ่ายค่ารักษาพุ่งสูงหมื่นล้านบาท ทำให้งบเตรียมไว้ไม่เพียงพอ
22 ต.ค.2564-นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่แต่ละวันเพิ่มสูงนับหลักพันรายถึงหลักหมื่นราย ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารับบริการจากหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ทั้งบริการคัดกรองการติดเชื้อ บริการรักษาพยาบาล บริการฉีดวัคซีน และบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านและในชุมชน (HI/CI) ส่งผลต่อการเบิกจ่ายค่าบริการต่างๆ ของหน่วยบริการที่ส่งเข้ามายัง สปสช. เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตามไปด้วยเช่นกัน โดยเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม อยู่ที่ 5,000-7,000 ล้านบาท เดือนสิงหาคมเพิ่มเป็น 11,000 ล้านบาท และด้วยการเบิกจ่ายค่าบริการของหน่วยบริการที่มีระยะเวลาเบิกจ่าย 1-2 เดือน ทำให้เดือนกันยายนเพิ่มสูงถึง 15,000 ล้านบาท มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้งบประมาณที่ สปสช. ขอรับเพิ่มเติมจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ สำหรับบริการโรคติดเชื้อโควิด-19 ไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายค่าบริการกรณีโควิด-19 และทำให้เกิดภาวะรอจ่ายหน่วยบริการเป็นจำนวน 20,829.23 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา สปสช. รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และนำเรื่องหารือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อเร่งแก้ปัญหา โดยให้ สปสช. จัดทำคำของบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ สำหรับบริการโรคติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน ได้รับทราบและมีมติเห็นชอบแล้วในการประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา
นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ สปสช. ได้นำเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในหมวดรายการและประเภทบริการอื่นหรือรายการ “รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสะสม ที่ไม่มีภาระผูกพัน ทำการทดรองจ่ายค่าบริการโควิด-19 ที่ค้างจ่ายหน่วยบริการส่วนหนึ่งไปก่อนระหว่างรอการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม
“ขอชี้แจงหน่วยบริการที่ได้ร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งได้ส่งเรื่องเบิกจ่ายเข้ามายัง สปสช. แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชดเชยค่าบริการนั้น ขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างประสานของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำมาจ่ายชดเชยแล้ว ทันทีที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี สปสช. จะเร่งโอนงบประมาณเพื่อจ่ายค่าบริการกรณีโควิด-19 ที่ค้างจ่ายโดยเร็ว และคาดว่าจะสามารถจ่ายได้ในกลางเดือนพฤศจิกายน” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สิ้นสุดทางเลือก ‘ดร.ประจิตต์‘ย้ำ ต้องเลิกMOU44โดยด่วน!! | ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร
ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567
เหนือชั้นกว่าทักษิณ I ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567
'ดอกไม้และผีเสื้อ'แห่งองค์สิริศิลปิน ส่งต่อความสุข
ตลอดเดือนธันวาคมนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ชวนประชาชนร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพและเรียนรู้พระกรณียกิจกับนิทรรศการ “สิริศิลป์ศรีจักรีจุฬาภรณ์” ดั่งดอกไม้บาน รังสรรค์ความงดงามจากผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ “ดอกไม้และผีเสื้อ” ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ
ครั้งแรกในแผ่นดิน ร.10 I ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567