ประชาธิปัตย์ ชูเลือกตั้งบัตร 2 ใบ จำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์หาร 500


29 ก.ค.2565 - นายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช และรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในการพิจารณาร่วมกันของสมาชิกรัฐสภาที่ผ่านมา ก็เป็นที่เข้าใจของประชาชนทั่วไปเรียบร้อยแล้วว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2566 นั้น จะมี ส.ส. 2 ประเภท คือ ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เบอร์ผู้สมัคร ส.ส.เขต และบัญชีรายชื่อ จะไม่ใช้เบอร์เดียวกัน รวมทั้ง วิธีการได้มาซึ่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ สมาชิกรัฐสภา ก็ได้คล้อยตามสิ่งที่ น.พ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ได้อภิปรายแสดงเหตุผลต่อที่ประชุม

ก็คือ การใช้จำนวน ส.ส.ทั้งหมดในสภา คือ 500 คน นำไปหารคะแนนเสียงทั้งหมดในการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ซึ่งเหลือเพียงรายละเอียดที่จะต้องแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งคาดว่า จะสามารถครบกำหนดตามที่วางไว้คือวันที่ 15 สิงหาคมนี้

แต่ปรากฏว่า มีความเคลื่อนไหวของแกนนำรัฐบาลและ ส.ส.บางรายที่เห็นว่า หากจะเดินตามสูตรที่กำลังพิจารณาในขณะนี้ อาจจะทำให้ตัวเองหมดโอกาสกลับเข้าไปทำหน้าที่ ส.ส.ในสมัยหน้า จึงได้มีการเสนอให้กลับไปใช้วิธีการเดิมที่ใช้กันมาในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 นั่นก็คือ บัตรใบเดียวที่มัดมือชกเลือกทั้งเขตและบัญชีรายชื่อ และวิธีคิดคำนวณที่พิสดาร ซึ่งไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ทำให้เกิดข้อสงสัยเป็นอย่างมาก แต่กลับมีความเคลื่อนไหวที่จะปัดฝุ่นนำวิธีการนี้มาเพื่อสร้างความได้เปรียบกับตัวเอง ท่ามกลางความงุนงงสงสัยของประชาชนที่มองว่า สภาชุดนี้กำลังจะกลายเป็นสภาโจ๊ก เพราะกลับไปกลับมาเอาแน่เอานอนไม่ได้

นายชัยชนะ กล่าวต่อว่า ดังนั้น ในเมื่อขณะนี้การแก้ไขพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ใกล้มาถึงขั้นพิจารณาในวาระสามแล้ว จึงควรที่จะให้มีการลงมติพิจารณาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะยังมีขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญฯ ที่จะต้องให้รัฐสภาส่งร่าง พ.ร.ป.ที่เห็นชอบแล้วนั้น นั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็นต่อไปภายใน 10 วัน นับตั้งแต่รับเรื่อง ซึ่งหากไม่มีการทักท้วง ก็ให้รัฐสภาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้ง ยังมีช่องทางการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกด้วย ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาได้ดำเนินการมาทั้งหมดขัดกับรัฐธรรมนูญนั้น รัฐสภาก็ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยและเร่งรีบดำเนินการพิจารณาให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาที่จะต้องไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2566 เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรที่จะสร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เพียงเพื่อเอาชนะในทางการเมืองเท่านั้น

"ผมเห็นว่า กระบวนการที่รัฐสภา ดำเนินการไปนั้น เป็นที่รับรู้ของประชาชนทั่วไปกันหมดแล้ว ดังนั้น แกนนำรัฐบาลและ ส.ส.ที่มีความกลัวว่าจะสอบตกนั้น ไม่ควรที่จะพลิกแพลงหาวิธีการพิสดารพันลึกใดๆ ให้ได้รับชัยชนะหรือเพียงเพื่อให้ตัวเองกลับมาเท่านั้น

เพราะในที่สุด ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจในคูหาเลือกตั้งว่า จะให้ใครเป็น ส.ส.ดูแลทุกข์สุขของประชาชนภายในเขต และจะให้พรรคการเมืองใดเป็นแกนหลักในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ ซึ่งการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ถึงขั้นจะกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ คือการใช้บัตรใบเดียวตอบคำถาม 2 ข้อ เพียงเพื่อสนองความต้องการตัวเองนั้น นอกจากจะเป็นการแกงหม้อใหญ่ ให้กับหลายๆ ฝ่ายแล้ว ประชาชนก็มองรัฐสภาชุดนี้เป็นสภาโจ๊กไปด้วย เพราะท่าที่แบบกลับไปกลับมา เอาความแน่นอนและหาสาระอะไรไม่ได้ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดีในสายตาของประชาชนอีกด้วย" นายชัยชนะ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เสรี' เผยมี 27 สว. อภิปรายรัฐบาล รับอาจไม่ดุเดือดเพราะไม่มีการลงมติ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ของ ส.ว. ในวันที่ 25 มี.ค.ว่า จะมีผู้อภิปราย 27 คน ส่วนประเด็นที่จะอภิปราย จะยึดตามกรอบญัตติที่เคยยื่นไป