'ชัยวุฒิ' ยัน สภาล่ม เป็นเรื่อง ส.ส. - ส.ว. พปชร.ไม่ได้สั่ง

16 ส.ค.2565- นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์กรณีมีการกล่าวหาว่าพรรคพปชร.สั่งการทำให้สภาล่ม ว่า การทำหน้าที่ของส.ส.และส.ว. เป็นเอกสิทธิ์ รวมถึงการไม่เข้าร่วมประชุมก็เป็นเอกสิทธิ์ของเขา และพรรคพปชร.ไม่ได้มีมติหรือคำสั่งในเรื่องนี้ว่าไม่ให้เข้าประชุม และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพปชร. ก็ไม่ได้สั่งการในเรื่องนี้ แต่ก็มีการคาดเดากันไปเอง แต่ยอมรับว่าส.ส. ส.ว. มีการพูดคุยกันในประเด็นนี้ว่าบางคนไม่เห็นด้วยกับการหาร 500 เพราะเกรงว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ โดยอาจจะงดออกเสียงหรือโหวตให้ตกในวาระ 3 หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญก็จะมีปัญหา เพราะต้องเสนอกฎหมายเลือกตั้งกันใหม่ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาหลายเดือนอาจไม่ทันสมัยประชุมนี้หรือไม่ทันในปีนี้

“จากการรับฟังส.ส.และส.ว. ส่วนใหญ่เห็นว่าจะไม่เข้าพิจารณาเพื่อให้กฎหมายไม่ผ่านในกรอบ 180 วัน แล้วใช้ร่างที่กกต.เสนอผ่านครม. ซึ่งถือว่าเป็นร่างที่เป็นกลางแน่นอน เพราะไม่ใช่ร่างที่ฝ่ายการเมืองใดฝ่ายการเมืองหนึ่งเสนอ และจะเร็วกว่าการให้กฎหมายไปถึงวาระ 3 และโหวตไม่ผ่าน ซึ่งถ้าดูจากเสียงที่ออกมาโหวตไม่ผ่านแน่นอน เพราะองค์ประชุมยังไม่ถึงครึ่งหากปล่อยไปถึงวาระ 3 กฎหมายก็คงไม่ผ่าน ต้องมาเสียเวลาทำกันใหม่ และจะเสียเวลามากอย่างไรก็ตามการที่จบเช่นนี้ เพราะทุกคนอยากให้กฎหมายเลือกตั้งออกมาเร็ว และเชื่อว่าร่างของกกต. เหมาะสมแล้ว มีความเป็นกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่เพื่อนสมาชิกเขาพูดกัน ยืนยันไม่มีใครกดดัน ได้ประโยชน์เสียประโยชน์”

เมื่อถามว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเผด็จการรัฐสภาที่พรรคเพื่อไทยและพรรคพปชร. ร่วมมือกันเพื่อให้กฎหมายไม่ผ่าน นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ไม่มีใครสั่งใคร ไม่มีคำว่าเผด็จการรัฐสภา เพราะส.ส.และส.ว.มีอิสระในการทำงาน และมองว่าจบแบบนี้ดีกว่า เพราะกฎหมายเลือกตั้งได้ประกาศใช้เร็วขึ้น วิธีนี้จะมีกฎหมายออกมาเร็วกว่า มีกฎหมายเลือกตั้งทัน หากจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ นี่คือความเห็นของเสียงส่วนใหญ่ ไม่ใช่เผด็จการอยากให้พูดด้วยเหตุด้วยผลไม่มีการเมืองเลย นี่คือวิธีที่ดีที่สุดหากเราคิดว่าหาร 500 มีปัญหา

ซักว่าถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมตอนโหวตวาระ 2 ผลถึงออกมาแบบนั้น นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของสมาชิก เหตุการณ์ตอนนั้นทุกคนก็มีความคิดของตัวเองไม่ใช่เป็นการสั่ง ทุกคนมีความคิดที่หลากหลาย กฎหมายเลือกตั้งมีผลกระทบต่อนักการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ จะให้ทุกคนเห็นตรงกันคงไม่ได้เพราะเป็นชีวิตของเขา เรื่องแบบนี้สั่งไม่ได้ เขาต้องคิดสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเขา ยืนยันเรื่องนี้สั่งกันไม่ได้แน่นอน

ถามย้ำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ส.ส.ถูกมองในแง่ลบ เพราะมัวแต่เล่นเกมนายชัยวุฒิ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เกม สิ่งที่ส.ส.และส.ว. ตัดสินใจเพราะเขาเชื่อว่าการทำแบบนี้จะทำให้ได้กฎหมายเลือกตั้งเร็วกว่า อยากให้เข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เกมการเมือง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

'เศรษฐา' การันตีโควตา รมต. ยังเป็นของพลังประชารัฐ ยันไม่ก้าวล่วงคนนั่งแทน 'ไผ่ ลิกค์'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้องวินิจฉัยคุณสมบัติ นายไผ่ ลิกค์ สส. กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ ว่า ยังไม่ทราบเรื่องนี้

'บิ๊กป้อม' ไฟเขียวลูกพรรคอภิปรายงบปี 67 อย่างเต็มที่ ยึดมั่นใช้เงินให้ตรงจุด

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2-3 ระหว่างวันที่ 20-22 มี.ค.นี้

'ครูมานิตย์' กำชับ สส.ฝ่ายรัฐบาล ร่วมประชุมงบ 67 หากสภาล่มต้องรับผิดชอบ

นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) และนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความพร้อม ในการเตรียมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

อัยการเรียก 'เรืองไกร' ให้ถ้อยคำ คดีร้อง 'เพื่อไทย' ล้มล้างปกครองหรือไม่

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือเชิญจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักงานอัยการสูงสุด