ศาลเพิกถอนมติปลด 'สมชาย วงศ์สวัสดิ์' ออกจากราชการ โวลั่นได้ความยุติธรรมคืนมา

14 ก.ย.2565 - เวลา 14.30 น. ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ 39/2552 ลงวันที่ 21ม.ค. 52 ที่ลงโทษปลดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในขณะนั้นออกจากราชการ รวมทั้งเพิกถอนมติการประชุม อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 19ธ.ค. 51 เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรื่องดำ 5210006 เรื่องแดงที่ 0012155 และเพิกถอนมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.2551 ที่ลงมติว่านายสมชายกระทำผิด

คดีนี้นายสมชาย ยื่นฟ้อง กระทรวงแรงงาน,​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,​คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงแรงงาน (อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน),คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-5 กรณีกระทรวงแรงงาน​มีคำสั่งที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 ม.ค. 2552 ลงโทษปลดนายสมชายออกจากราชการ โดยอ้างว่าเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จากเหตุขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมพิจารณาสั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับ นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี และนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม 70 ล้านบาท จากการขายทอดตลาดที่ดินของศาลจังหวัดธัญบุรี ทั้งที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าการคืนเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ทางราชการเสียหาย

ส่วนที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนให้เหตุผลว่า ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตบัญญัติว่า คณะกรรมการป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดการทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นความผิดทางวินัยตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 อีกทั้ง พ.ร.ป ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 มิใช่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ การที่ป.ป.ช.ใช้อำนาจตาม พ.ร.ป ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ชี้มูลว่านายสมชาย กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงจึงไม่มีอำนาจกระทำได้ เมื่อป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดของนายสมชาย ดังนั้นมติของป.ป.ช.ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.2551 จึงมิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของป.ป.ช. มาเป็นสำนวนสอบสวนทางวินัย ของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2542 หากแต่จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนนายสมชาย ตามที่ป.ป.ช.มีมติว่ากระทำความผิดถามประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เพื่อให้นายสมชาย เป็นผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและมีโอกาสชี้แจงและมีโอกาสชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาตามขั้นตอน

แต่เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีคำสั่งกระทรวงแรงงานลงโทษปลดนายสมชาย ออกจากราชการ ตามมติป.ป.ช.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง คำสั่งทางวินัยดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการที่เป็นสาระสำคัญในการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 102 ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 จึงย่อมมีผลทำให้การที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของนายสมชาย ด้วยเหตุเดียวกันไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จึงมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงาน และคำสั่งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่คำสั่ง และคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลบังคับ

โดยนายสมชาย กล่าวภายหลังฟังคำพิพากษา ว่า วันนี้ได้รับความเป็นธรรมจากศาลปกครองสูงสุดว่าป.ป.ชไม่มีอำนาจในการไต่สวนตนเลย และให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงานที่สั่งให้ตนออกจากราชการ ซึ่งดีใจมากเพราะตนเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตมาโดยตลอด ไม่เคยมีเรื่องด่างพล้อยอะไรเลย แต่ชื่อเสียงต้องมาเสียไปมาตลอด20 ปี กับเรื่องที่ไม่สมควร วันนี้จึงถือว่าได้รับยุติธรรมกลับคืนมา ได้กลับมาเป็นข้าราชการที่บริสุทธิ์

"ผมเป็นคนที่อะไรสามารถให้อภัยได้ก็ให้อภัย ไม่ได้มีความรู้สึกอาฆาตมาตร้าย แต่คดีนี้ทำให้ผมซึ่งเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งถือว่าเป็นผู้นำด้านความยุติธรรม ต้องตกมาเป็นผู้ที่ถูกไล่ออก เพราะถูกป.ป.ช.ชี้ว่าผิดวินัยร้ายแรง ประมาทเลินเล้อ ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดของคนที่เป็นข้าราชการ แต่วันนี้ถือว่าได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา ซึ่งขอดูคำพิพากษาก่อนว่าจะสามารถพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยความเสียหายได้อย่างไร " นายสมชาย กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการเดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลปกครองในวันนี้ของนายสมชาย มีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร่วมเดินทางมารับฟังด้วย โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 5 ในคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และพวก เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธาริต และพวก ในคดีร่วมกันกระทำความผิดฉันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา จากการทำความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ กับพวก ในข้อหาสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อปี 2553 โดยธาริต ไม่ได้ไปศาล โดยอ้างว่าติดโควิด-19

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำขอพิจารณาคดีใหม่ของนิติบุคคล 'แอชตัน อโศก' ชี้ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย

ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลางไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของนิติบุคคลอาคารชุด แอชตัน อโศก ไว้พิจารณา

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์