'พิภพ'เตือนการตัดทอนคำพิพากษาศาลรธน.จะนำไปสู่ความเข้าใจผิด ซ้ำรอย6ตุลา19

'อดีตแกนนำพันธมิตรฯ'เตือนการตัดทอนอย่างจงใจสั้นๆ ต่อคำพิพากษาศาลรธน.จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดเหมือนฝ่ายขวาทำในเหตุการณ์ 6ตุลา19 จนเกิดการฆ่านักศึกษาประชาชนอย่างโหดเหี้ยม

12 พ.ย.2564 - นายพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โพสต์ข้อความ ระบุว่า
การหลอกลวงของกลุ่มปฏิเสธสถาบันกษัตริย์
โดยการตัดทอนอย่างจงใจ สั้นๆ ต่อคำพิพากษาศาล รธน.
และเผยแพร่ออกไป ด้วยการตั้งคำถามต่อท้าย
จน ดร.ไชยันต์ ต้องออกมาชี้แจง
และนำข้อความเต็มประโยคมาให้อ่านกัน
การตัดทอนข้อมูลนั้น จะนำไปสู่ความเข้าใจผิด
เหมือนที่ฝ่ายขวาทำในเหตุการณ์ 6 ตุลา.19
จนเกิดการฆ่านักศึกษาประชาชนอย่างโหดเหี้ยม
ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต้องระวังกันให้มากในวันนี้
ที่มีการใช้ข้อมูลเท็จในโลก online

ทั้งนี้ ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสื่อมวลชนรายหนึ่งโพสต์ทวิตเตอร์หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยม็อบราษฎรล้มล้างการปกครองว่า การสื่อสารโดยยกข้อความสั้นที่ตัดออกจากบริบท อาจทำให้คนรับเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น จั่วหัวว่า “เห็นได้ว่าประวัติศาสตร์การปกครองของไทยนี้ อำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด” จริงๆแล้ว ข้อความนี้อยู่ในบริบทข้อความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้

“โดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 2475 เห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์การปกครองของไทย อำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด นับตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา ตลอดจนกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์มีพระราชภารกิจสำคัญยิ่งเพื่อรักษาความอยู่รอดของบ้านเมืองและประชาชน โดยดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย นำกองทัพต่อสู้ปกป้อง และขยายราชอาณาจักรตลอดเวลา ในยุคที่ผ่านมาถือหลักปกครองตามหลักศาสนา และทศพิธราชธรรมปกครอง พระมหากษัตริย์จึงเป็นที่เคารพศรัทธา ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดหลายร้อยปี”

และเขียนต่อด้วยว่า “แม้เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 คณะราษฎรผู้ก่อการ และประชาชนชาวไทย เห็นพ้องต้องกันอันเชิญพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักคงอยู่กับระบอบประชาธิปไตย โดยเรียกว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และราชอาณาจักรคงไว้ซึ่งระบอบนี้ต่อเนื่อง ทำนองเดียวกับประเทศต่าง ๆ ที่มีความเป็นมาของชาติแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือเอกลักษณ์ หรือสัญลักษณ์ และทรัพย์สมบัติชาติ จะมีกฎหมายห้ามทำให้มีมลทิน หรือชำรุด”

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เขาแยกระหว่าง ก่อน และ หลัง 2475

หลัง พ.ศ.2475 พระมหากษัตริย์ไทยจึงไม่มีอำนาจการปกครองเหมือนอย่างก่อนหน้า พ.ศ.2475 ครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' แนะเดินตามแนวรบ.ทำประชามติ3รอบก่อนแก้รธน. จะปลอดภัย แม้เสียเวลา-งบฯ

'วันนอร์' แนะเดินตามแนว รัฐบาล ชงทำประชามติ3รอบก่อนแก้รธน. เป็นทางปลอดภัย แม้เสียเวลา-งบประมาณ แต่ถ้า2รอบอาจขัดคำวินิจฉัยศาลฯ หวั่นแก้ไขไปก่อนถูกตีตก แย้มถกร่างแก้ไขฯได้ในสมัยวิสามัญได้ ชี้หากเสนอใหม่ สาระ-สถานการณ์จะเปลี่ยน

'อ.ไชยันต์' เปิดพระราชบันทึก Democracy in Siam พระปกเกล้าฯ เตรียมการสู่ปชต.

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า

'อ.ไชยันต์' โต้ 'อ.สุลักษณ์' ยันร่างรธน.ของร.7กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ-การเลือกตั้งไว้ด้วย

'อ.ไชยันต์' ยกสาระสำคัญของเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ที่ร.7จะพระราชทาน โต้ อ.สุลักษณ์ ยันร่างรธน.มิได้เพียงเสนอให้มีนายกฯเท่านั้น แต่ได้กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ และการเลือกตั้งไว้ด้วย