'พรรคร่วมรัฐบาล' ไม่เอาไพรมารีโหวต!

'ชินวรณ์' เผยพรรคร่วมรัฐบาลจ่อยื่นร่าง กม.ลูกประกบ ครม. เข้าสภา ธ.ค.นี้ ไม่เห็นด้วยไพรมารี่โหวต เหตุคนร่างไม่ได้เป็นนักการเมือง-ปฏิบัติไม่ได้จริง

24 พ.ย.25 - ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ว่า โดยหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญการเสนอกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะทำได้โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และอีกทางหนึ่งเสนอได้โดย ส.ส.จำนวน 1 ใน 10 แต่เนื่องจากกฎหมายนี้มีความสำคัญ วิปรัฐบาลมีความเห็นว่าเราควรที่จะได้รวมกันเสนอเป็นร่างเดียวกันเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ เพราะเป็นกฎหมายหลักที่ประกอบรัฐธรรมนูญและเป็นกฎหมายที่ต้องเสนอเข้าสภาให้ส.ว.ร่วมพิจารณาด้วย ที่สำคัญต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศบังคับใช้

นายชินวรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้วิปรัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมการยกร่างในส่วนของพรรคร่วมรัฐสภาแล้ว ซึ่งได้มีการประชุมนัดแรกไปแล้วเพื่อกำหนดกรอบสำคัญเพื่อที่จะเร่งรัดในการพิจารณากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ โดยในสัปดาห์นี้จะให้แต่ละพรรคส่งร่างที่แต่ละพรรคไปพิจารณากันมา แต่ประเด็นคือทาง ครม.ต้องมีการเสนอร่างโดยข้อเสนอแนะของ กกต. ซึ่งขณะนี้ กกต.ได้มีการร่างมาแล้ว 17 ประเด็น และกำลังรับฟังความคิดเห็นกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชน อย่างไรก็ตามในส่วนนี้เป็นหลักการของฝ่ายผู้ปฏิบัติคือ กกต. แต่ในฝ่ายทางการเมืองมีหลักการสำคัญ คือ 1.จะร่วมกันแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ โดยจะเน้นประเด็นสำคัญ เพื่อเป็นไปตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเท่านั้น ส่วนประเด็นที่เป็นการทำงานของ กกต.ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีการพิจารณาร่วมกันว่าเห็นด้วยหรือไม่ และ 2.เนื่องจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 180 วัน คาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่กระบวนการการพิจารณาร่วมกันของวิปรัฐบาลครั้งสุดท้ายให้เร็วที่สุด ภายในเดือนธันวาคมน่าจะเสนอต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้

เมื่อถามว่า เรื่องการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคร่วมรัฐบาลมีทั้งพรรคเล็ก พรรคใหญ่ จะเกิดปัญหาความไม่ลงรอยกันหรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า เมื่อที่ประชุมรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบเรื่องระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีข้อดีคือทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นพรรคการเมืองเข้มแข็ง และทำให้อิทธิพลของการซื้อเสียงลดลง ที่สำคัญคือการส่งเสริมเสรีภาพในทางการเมือง ให้ประชาชนสามารถเลือกได้ทั้งคนและพรรคได้ ซึ่งเป็นโมเดลของรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่จะทำให้พรรคการเมืองใหญ่มีความเข้มแข็งขึ้น พรรคเล็กมีข้อจำกัดในการคิดสัดส่วนตามข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญคือ ให้คิดสัดส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ คือเอาร้อยละมาคิดสัดส่วนที่ได้จริง เช่น ร้อยละ 60 ก็ได้ 60 คน ที่เหลือเศษสูงสุดเท่าไหร่ อีกหนึ่งพรรคก็จะได้อีกหนึ่งคน ข้อดีของระบบนี้คือจะไม่มีระบบบัตรเขย่งและไม่มี ส.ส.ปัดเศษ ฉะนั้นต้องยอมรับความจริงว่าต้องเขียนไปตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญเรื่องต้องเป็นบัตรเบอร์เดียวกัน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตัดสินใจลงคะแนนได้ง่ายขึ้น ระหว่างเบอร์พรรคการเมืองกับเบอร์ ส.ส.

เมื่อถามถึง เรื่องไพรมารีโหวต พรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอปรับแก้อะไรบ้าง นายชินวรณ์ กล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องพ.ร.ป.ว่าด้วยเรื่องพรรคการเมือง ซึ่งมีความคิดเห็นร่วมกัน ดังนี้ การส่งเสริมให้พรรคการเมืองสามารถแสวงหาสมาชิกของพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้นภายใต้บริบทของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือไม่จำเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าเป็นสมาชิก หรือหากจำเป็นต้องเก็บก็ขอให้น้อยที่สุด และ 2.จะมีการแก้ไขเรื่องการดำเนินการจัดทำไพรมารีโหวตที่เคยมีมาตามรัฐธรรมนูญปี 60 คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตกค้างจากรัฐธรรมนูญปี 60 ซึ่งร่างโดยคนที่ไม่ได้เป็นนักการเมือง

“ฉะนั้นหากอยากให้มีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งในระบบประชาธิปไตย ควรจะให้อำนาจพรรคการเมืองมีส่วนร่วมกับประชาชน เนื่องจากระบบไพรมารีโหวตเป็นระบบของซากรัฐธรรมนูญปี 60 ที่สร้างขึ้นมาโดยไม่จำเป็นและปฏิบัติไม่ได้จริง รวมถึงพรรคการเมืองและประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง จึงอยากเห็นประชาชนมีส่วนร่วมมาจากรากฐานของพรรคการเมืองตามหลักการ พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค”นายชินวรณ์ กล่าว

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของคำสั่ง คสช.ยังเป็นหลักคิดแบบระบบ ไม่ใช่ฐานความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คิดว่าควรส่งเสริมให้พรรคการเมืองได้มีบทบาทที่ขัดเจนในการสร้างประชาชนให้มีส่วนร่วม ยืนยันว่าการทำไพรมารีโหวต โดยการทำระบบแบบตัวแทนเขตตามคำสั่ง คสช.ในบทเฉพาะกาลเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้จริง เป็นหลักคิดที่ผิด ที่พื้นฐานในการส่งเสริมให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลจะดันทุรังแจกเงินดิจิทัล 5 แสนล้าน ถามคนไทย 4 ข้อ จะเลือกข้อไหนดี

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีรัฐบาลเดินหน้า โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ว่า

'อนุทิน' ไม่กังวลแบงก์ชาติท้วงแจกเงินดิจิทัล ชี้หากไม่ถูกกฎหมาย กฤษฎีกา-สภาพัฒน์ต้องแจ้งมา

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหนังสือเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

พรรคร่วมฯ เพียงเห็นชอบเชิงหลักการ รัฐบาลเล่นกลแจกเงินหมื่น หาเสียงนิยมให้พท.

'จตุพร' ซัดรัฐบาลเล่นกลซ่อนเจตนากู้เงินแจกหมื่น เชื่อปั่นความหวังเคลมดิจิทัลหาเสียงนิยมให้เพื่อไทย แต่ ปท.ชิบหายแบกหนี้ก้อนโต ชี้พรรคร่วมฯ เพียงเห็นชอบเชิงหลักการเท่านั้น

เย้ยพรรคร่วมรัฐบาล ยืนแถลงหนุน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' แค่ลมพัดไหว ไม่มีอะไรในกอไผ่

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โพสต์เฟซบุ๊กว่า

นายกฯ นำรมต.พรรคร่วม ยืนเรียงแถว แถลงครม.เห็นชอบหลักการดิจิทัลวอลเล็ต

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นำแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ , นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน

'เศรษฐา' ยันถกแกนนำพรรคร่วม ไม่ได้ส่งสัญญาณปรับครม. ถ้าเกิดขึ้นก็รู้เอง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการเรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบฯ ได้มีการส่งสัญญาณปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ ว่า ไม่มี ไม่ได้พูดคุย เมื่อถามว่า นอกจากพูดคุยเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตแล้วมีเรื่องอะไรบ้าง