พท. ซัดเดือด! กกต. รัฐประหารคนกรุงผ่านแบ่งเขตเลือกตั้ง

‘เพื่อไทย’ กางตำรากฎหมายจวก กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งบิดเบี้ยว พื้นที่เดียวกันมีผู้สมัคร 3 คน เย้ยต่อไปต้องเรียก ส.ส.แขวง โวยปชช.โดนรัฐประหารผ่านการแบ่งเขต จี้ทบทวนด่วน

13 ก.พ. 2566 – ที่พรรคเพื่อไทย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาค กทม. พรรคเพื่อไทย นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ส.ส. กทม. และน.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรค ร่วมแถลงกรณีการเสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย ในเขตพื้นที่ กทม. ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งในพื้นที่ กทม. นั้น เดิมมี 5 รูปแบบ ซึ่งมากกว่าจังหวัดอื่นๆ อยู่แล้ว ล่าสุด กกต. แบ่งออกมาเพิ่มอีกรวมเป็น 8 รูปแบบ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการเลือกตั้ง ส.ส.เขต เรียกได้ว่าเป็นการแบ่งเขตที่บิดเบี้ยว ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ การแบ่งเขตรูปแบบที่ 6 – 8 นี้ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นๆ ไม่เห็นด้วย เพราะจะเป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชน เกิดความไม่สะดวกเพราะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับที่อยู่อาศัย รวมถึงสร้างความลำบากต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ทำให้ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ซึ่งเคยทำงานมา

“การแบ่งเขตดังกล่าวยังส่งผลให้ผู้สมัครพบปัญหาว่าในเขตเดียวมีผู้สมัครถึง 3 – 4 คน ต่างพรรคต่างเบอร์กัน จะเป็นเหตุให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปผิดพลาดบกพร่อง เกิดบัตรเสียจำนวนมาก และไม่เป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย กกต. ควรยึดตามหลักกฎหมายและความเป็นจริง ขอเรียกร้องให้ กกต. ทบทวนใหม่” โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุ

ด้านนายวิชาญ กล่าวว่า การแบ่งเขตรูปแบบ 6 – 8 ซึ่ง กทม.มีทั้งหมด 30 เขต จำนวนประชากรประมาณ 5 ล้านคน จากการรวบรวมความเห็นของประชาชน และพิจารณาตามหลักของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงระเบียบของ กกต. เป็นเกณฑ์ เห็นว่าการแบ่งเขตแบบ 1-3 มีความชัดเจน พื้นที่มีความคาบเกี่ยวกัน การจัดรูปแบบดังกล่าวมีความสอดคล้องกว่า ไม่สร้างความสับสน มี 25 เขต จาก 30 เขต ที่ไม่ต้องแบ่งเขตเพิ่มเติมใหม่

“การแบ่งเขตแบบที่ 6 – 8 มีโอกาสสร้างความสับสนให้ประชาชนมากกว่า หากมีการแบ่งพื้นที่ตามแขวง คงเรียก ส.ส.เขต ไม่ได้ ต้องเรียกว่า ส.ส.แขวง และจะสร้างผลเสียคือบัตรเสียจะมากขึ้น จากการฟังเสียงประชาชน พรรคเพื่อไทยจึงเสนอว่ารูปแบบการแบ่งเขตแบบที่ 1-2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะเขตหลักๆ ยังอยู่ ไม่ถูกแบ่งแยก จึงมีความสะดวกต่อประชาชนมากกว่า” นายวิชาญ กล่าว

น.ส.สุภาภรณ์ กล่าวว่า อยากถามว่า กกต. ทำหน้าที่กี่วันใน 4 ปี จึงทำหน้าที่แบ่งเขตออกมาเป็นเช่นนี้ การแบ่งเขตรอบนี้ขัดต่อมาตรา 29 ซึ่งต้องยึดหลักการแบ่งเขตแบบเดิมก่อน ที่ต้องยึดถือการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเดิมเสียก่อน แต่ในแบบที่ 6 และ 7 มีการยกการแบ่งเขตแบบเดิมกลับมาน้อยมาก และรูปแบบที่ 8 ไม่มีการแบ่งเขตแบบเดิมอยู่เลย การแบ่งแบบคร่อมแขวงคร่อมเขตจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของทางราชการ

“ส.ส.ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแก้ไขกฎหมายเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสียงถึงปัญหาในพื้นที่ด้วย สำหรับเขตของดิฉันคือ ภาษีเจริญ ในรูปแบบที่ 7 นั้น ถูกแบ่งเป็นถึง 3 เขตการเลือกตั้ง คือเขตเลือกตั้ง 28 30 และ 32 จึงขอตั้งคำถามว่า กกต. ยึดหลักการใดในการแบ่งเขตเช่นนี้ เชื่อว่าประชาชนกำลังถูกรัฐประหารผ่านการแบ่งเขตเลือกตั้ง แล้วระบอบประชาธิปไตยจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร” น.ส.สุภาภรณ์ ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธาน กกต. แจงความคืบหน้าเลือก สว. ชุดใหม่

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต. กล่าวถึงความคืบหน้าของระเบียบ และประกาศกกต. เกี่ยวข้องกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า เสร็จไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมี 1 ฉบับที่ส่งไปแล้ว และอยู่ระหว่างการ