ดร.ณัฎฐ์ ชำแหละประชามติซ่อนรูป เตือนกบฏ! 'ปาตานี' แยกตัวเป็นเอกราช


กบฏแบ่งแยกดินแดนรัฐปาตานี 'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ 'การกำหนดอนาคตตนเอง' มติ UN ให้อำนาจ แต่คาบเกี่ยว การแยกรัฐอิสระ เป็นการแบ่งแยกดินแดน

9 มิ.ย.2566 - สืบเนื่องจากกรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนนักศึกษาแห่งชาติ PELAJAR BANGSA มีการเปิดตัวกลุ่มเป็นครั้งแรก ที่คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยได้เชิญนักวิชาการด้านสันติวิธีมาร่วมอภิปรายในหัวเรื่อง “การกำหนดอนาคตตนเอง (Self Determination) กับสันติภาพปาตานี” พร้อมทั้งมีการทำแบบสอบถามความเห็นของผู้ร่วมงานว่าเห็นด้วยกับ "สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเองหรือไม่” ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย

ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชน ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนีัว่า แนวคิด วิธีการ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกี่ยวกับความรู้สึกและความเชื่อในอดีตที่ต้องการปกครองตนเองในรัฐปาตานี หรือปัตตานีเดิมในระดับมลรัฐที่แยกตัวออกมาจากมาลายาอยู่ในเขตดินแดงประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

"ดังนั้น การแจกแบบสอบถามประชาชนที่ร่วมสัมมนาของกลุ่มขบวนนักศึกษาแห่งชาติ PELAJAR BANGSA ที่มีนายอิรฟาน อูมา เป็นผู้นำ จะต้องพิจารณาก่อนว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะการแบ่งแยกดินแดน ถือเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดน มีโทษทางอาญา" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าที่ผ่านมา ตนเห็นว่าในเรื่อง RSD RIGHT TO SELF-DETERMINATION หรือ สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง มีการเคลื่อนไหวมานานหลายปีในพื้นที่เป็นการเคลื่อนไหวในเชิงปิด ไม่มีการแสดงออก ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ เป็นไปตาม มติของสหประชาชาติหรือ UN มติที่ 1514 ในปี1960 ได้เขียน เพื่อให้ประเทศที่ถูกนักล่าอาณานิคม มีสิทธิเรียกร้องในการกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ ชะตากรรมของตนเองมีในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ เรื่องของการศึกษา ศาสนา และความเป็นอยู่

"แต่การเรียกร้องกำหนดตนเองเพื่อแยกรัฐปาตานีปกครองตนเอง หากเป็นเรื่องจริง ถือว่า เป็นภัยแก่ความมั่นคง หน่วยงานความมั่นคงยินยอมให้มีการสัมมาเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ ได้อย่างไร เพราะเป็นสารตั้งต้นความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ หากพิจารณาถึงแบบสอบถาม เพื่อสอบถามความต้องการของคนในพื้นที่ ไม่ต่างจากการจัดทำประชามติ รับฟังความคิดเห็นผู้เข้าร่วมในการประชุมสัมนา และเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาวิพากษ์วิจารณ์ ถามว่า สังคมได้ประโยชน์อะไร เชิงวิชาการหรือไม่อย่างไร เพราะหากจัดทำในเชิงวิชาการ นำไปสู่การปฎิบัติแท้จริง ส่งผลให้ไทยเสียดินแดน จะรุกลามไปยังจังหวัดใกล้เคียง นำไปสู่ให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการในประเทศไทย

ดังนั้นการแจกแบบสอบถามไม่ต่างจาก การจัดทำประชามติ การแยกพื้นที่อ้างรัฐปาตานี มาลายาเดิม ย่อมทำให้เกิดกระบวนการแยกเขตแดนเด็ดขาด ทำให้เกิดสภาพเสียดินแดน แม้จะซ่อนรูปเพื่อให้เป็นการประชามติโดยชอบด้วยกฎหมาย ลักษณะเปิด แต่ผลสุดท้ายจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย การแยกปกครอง กำหนดอนาคตของตนเอง โดยกำหนดเขต ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตยและรัฐปาตานี ปกครองตนเอง เท่ากับแยกอำนาจปกครองโดยเด็ดขาด ทำให้ไทยเสียดินแดน ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นกบฎแผ่นดิน พี่น้องประชาชนคนไทยยินยอมยกดินแดนให้กลุ่มคนไม่กี่คนให้ปกครองตนเองหรือไม่ เพราะวิธีการเหล่านี้ จะเห็นได้ชัดว่า เป็นใบเสร็จยืนยันว่า กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีจริง"

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยไม่ไปละเมิดต่อกฎหมายและบูรณภาพแห่งดินแดนนั่น เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ การที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในข้อมติดังกล่าวว่า ได้ตั้งข้อสงวนในเรื่องนี้ไว้แต่แรก ของการเข้าไปเป็นภาคีสมาชิกตามข้อมตินี้ ว่า การกำหนดชะตากรรมตนเองไม่ได้หมายรวมถึงการแบ่งแยกดินแดน เพราะว่าประเทศไทยเป็นอาณาจักรหนึ่งเดียวที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คืบหน้าปะทะเดือดปัตตานี รู้ตัว 2 คนร้ายถูกวิสามัญ พบมีหมายจับ

ภายหลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ จ.ปัตตานี ได้ปิดล้อมตรวจค้นบ้านเช่าเลขที่ 192/2 ม.1 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาส

'อังคนา' เผยสหประชาชาติจี้ไทยรับผิดชอบการสูญหายของ 'ทนายสมชาย' เมื่อ20ปีก่อน

นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักเคลื่อนไหวสตรี ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตร นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมุสลิมชาวไทยที่หายสาบสูญ โพสต์ข่าวสารจากเว็บไซต์ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่า

สหประชาชาติเตือน ฉนวนกาซาแทบไม่เหลือสภาพเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว

ความช่วยเหลือเข้าถึงฉนวนกาซาได้มากขึ้น สหประชาชาติและองค์กรช่วยเหลืออื่นๆ จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการรับและแจกจ่ายความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

แอฟริกาใต้ฟ้องศาลโลก กล่าวหาอิสราเอลเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

แอฟริกาใต้กล่าวหาอิสราเอลด้วยข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ที่ศาลสูงสุดของสหประชาชาติ เมื่อวัน

ปัตตานียังวิกฤติ! ชาวบ้านหนีตายบ้านทรุดใกล้พังถล่ม น้ำท่วมขยายวง 8 อำเภอ

สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดปัตตานียังวิกฤติ ได้ขยายเป็นวงกว้าง ได้รับผลกระทบแล้ว 8 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.หนองจิก อ.แม่ลาน อ.ยะรัง อ.สายบุรี อ.กะพ้อ อ.ทุ่งยางแดง อ.ไม้แก่น ทำให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนเป็นจำนวนมาก