สแกนรายชื่อโหวต 'พิธา' นั่งนายกฯ 33ส.ว.ลาประชุม อีก 11 คน ซุ่มเงียบ ด้านส.ส.แต่ละฝ่ายไร้งูเห่า

14 ก.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการลงคะแนนโหวตนายกรัฐมนตรี มีสาระที่น่าสนใจ คือ ในส่วนของส.ว.ที่ลงคะแนนเห็นชอบให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯนั้น มี 13 คน ได้แก่ 1.นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ 2.พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา 3.นายเฉลา พวงมาลัย 4.นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล 5.พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒน์ รอดบางยาง 6.นายพิศาล มาณวพัฒน์ 7.นายพีระศักดิ์ พอจิต 8.นายมณเฑียร บุญตัน 9.นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์10.นายวันชัย สอนศิริ 11.นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ 12.นพ.อำพล จินดาวัฒนะ 13.นางประภาศรี สุฉันทบุตร เกือบทั้งหมดเป็นไปตามข่าวก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า จะลงมติสนับสนุนนายพิธาเป็นนายกฯ

อย่างไรก็ตามปรากฏว่า มีส.ว.บางส่วนที่เคยระบุจะลงคะแนนสนับสนุนนายพิธา แต่กลับไม่ยอมลงมติให้ อาทิ น.ส.ภัทรา วรามิตร นายประมาณ สว่างญาติ นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ นางประยูร เหล่าสายเชื้อ นายดิเรกฤทธิ์ เจนคลองธรรม ขณะที่นายรณวริทธ์ ปริยฉัตรตระกูล นายทรงเดช เสมอคำ ลงมติงดออกเสียง

ในส่วนการลงคะแนนโหวตนายกรัฐมนตรี มีส.ว.ลาการประชุมทั้งหมด 33คน ทำให้เหลือจำนวนส.ว.ที่เข้าร่วมประชุม 216 คน อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าในการลงมติโหวตนายกฯ มีส.ว.ที่ขานชื่อลงมติเพียง 205คนเท่านั้น แสดงว่า มีส.ว.อีก 11คน ที่ไม่ได้ลาประชุม แต่ไม่ยอมร่วมลงมติใดๆทั้งสิ้นในการโหวตนายกฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนการลงคะแนนของส.ส.ปรากฎว่า ลงคะแนนไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด โดย 8 พรรคร่วมรัฐบาลลงคะแนนในทิศทางเดียวกันทั้ง 312 เสียงคือ เห็นชอบนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ส่วนใหญ่ลงมติไปในทางไม่เห็นชอบนายพิธาเป็นนายกฯ ได้แก่พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า ลงมติงดออกเสียง

ส่วนพรรคเล็กก็ลงมติแตกต่างกัน อาทิ พรรคใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ลงมติงดออกเสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคท้องที่ไทย ลงมติไม่เห็นชอบ

ทั้งนี้มีส.ส.เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ 499คน จากจำนวน 500คน ขาดไป 1คนคือ นายศักดิ์ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย เนื่องจากป่วยนอนอยู่โรงพยาบาลบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่ได้ปาดหน้า! 'พิธา' ตั้งใจมาเชียงใหม่จริง ลั่น ก.ก.ได้อันดับ 1 ต้องช่วยกันทำงาน

'พิธา' รับตั้งใจมาเชียงใหม่จริง แต่ไม่ได้ปาดหน้า 'ทักษิณ' ยัน ไม่มีนัยยะการเมือง มองกระแสพื้นที่ ไม่มีใครเป็นเจ้าถิ่น ลั่น 'ก้าวไกล' ได้รับคะแนนความไว้วางใจได้ สส.มากเป็นอันดับ 1 ก็ต้องช่วยทำงาน​

ฝ่ายค้านกู้ศรัทธา? 'พิธา' บอกลาสภา

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นเวทีของฝ่ายค้านนำโดยพรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์ ซ้อมใหญ่ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมสภาหน้าตามรัฐธรรมนูญ 151

‘พิธา’ ชี้ยุบพรรคคือการติดเทอร์โบให้พรรคที่ถูกยุบ ได้แต้มต่อเลือกตั้งครั้งหน้า

ที่โรงแรมเมเปิ้ล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล และ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 วันนี้ ถึงการอภิปรายทั่วไปตาม ม.152

พิธาพลิกตำรา ‘รอดยุบพรรค’ เชื่อแค่ตักเตือน

"พิธา" ย้ำเตรียมแผนรับมือไว้แล้วหากศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล ชี้ต้องใช้ดุลพินิจ ความผิดมาตรา 49-มาตรา 92 มีความต่างกัน เชื่อศาลจะให้ความยุติธรรม