'จุรินทร์' เตือนอย่าใช้ รธน.40 เป็นตัวตั้ง เดี๋ยวเกิดรัฐบาลกินรวบ

“จุรินทร์” เตือนรัฐบาล! อย่าใช้ รธน.40 เป็นตัวตั้ง เพราะเป็นบ่อเกิดนายกตรวจสอบไม่ได้ จนได้รัฐบาล”กินรวบ”มาแล้ว

24 ก.ย. 2566- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการศึกษาการทำประชามติและกำหนดแนวทางการแก้ไข รธน. ของรัฐบาลว่า หลักการในเรื่องของการไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 เป็นเรื่องที่ทั้งตนและพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุน และล่าสุดตนก็ได้แสดงจุดยืนในการประชุมรัฐสภาตอนแถลงนโยบายของรัฐบาลอีกครั้งชัดเจนแล้ว แต่ที่ต้องทักท้วงไว้เสียแต่ต้นคือหลักคิดในเรื่องของการที่รัฐบาลจะใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นต้นแบบนั้น ตนขอให้คิดให้รอบคอบ เพราะรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่ออกแบบให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป จนบางยุคทำให้การตรวจสอบรัฐบาลโดยเฉพาะผู้นำรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีทำได้ยากมากจนทำให้ไม่สามารถตรวจสอบหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้เลยถ้านายกรัฐมนตรีตั้งรัฐบาลด้วยเสียงเกินกว่า 3 ใน 5 คือเกินกว่า 300 เสียงขึ้นไป เพราะ รธน.40 ระบุว่าจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ฝ่ายค้านต้องมีเสียงเกินกว่า 200 เสียงหรือ2ใน 5 ขึ้นไปเท่านั้น ทำให้บางยุคไม่สามารถตรวจสอบนายกรัฐมนตรีได้เลยตลอดอายุรัฐบาล นำไปสู่การมีรัฐบาล”กินรวบ”ดังที่เคยประสบในบางยุค เพราะนายกรัฐมนตรีอาศัยช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญตั้งรัฐบาลเกิน 300 เสียงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบตั้งแต่ต้น อีกทั้ง รธน.40 ก็ยังให้อำนาจฝ่ายบริหารเข้าไปมีบทบาทในการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ จนนำไปสู่การใช้ช่องว่างของรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารเกิดรัฐบาล”กินรวบ” จนต้องแก้ไขในปี 2550 ในที่สุด

นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า ถ้าใช้รัฐธรรมนูญปี 40 มาสวมในสถานการณ์ปัจจุบันการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเศรษฐาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเพราะรัฐบาลมีเสียงเกิน 3 ใน 5 นั่นคือมีถึง 314 เสียง ฝ่ายค้านมีไม่ถึง 200 เสียง ก็จะไม่สามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ถ้านายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด ล้มเหลวและเกิดการทุจริตคอรัปชั่นขึ้นมาในอนาคต จะเท่ากับพาประเทศย้อนยุคกลับไปสู่ปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตได้อีก จึงควรคิดกันให้รอบคอบ

นายจุรินทร์ยังกล่าวอีกว่าที่พูดนี้ไม่ได้แปลว่าจะตั้งธงอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกแล้ว ซึ่งตนขอพูดเสียก่อนเลยว่าไม่เกี่ยวกันและยังไม่ใช่เวลา เพราะรัฐบาลเพิ่งเริ่มต้น ตนเพียงแต่ต้องการทักท้วงไว้เพราะ รัฐธรรมนูญเป็นกติกาสำคัญของประเทศและหากแก้แล้วต้องใช้ต่อไปในอนาคต จะได้ไม่พาประเทศย้อนยุคกลับไปสู่ปัญหาที่เคยเกิดในอดีตที่เราไม่อยากเห็นอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.ไฟเขียวทำประชามติแก้รธน. 3 ครั้ง ครั้งแรกใช้งบ 3.2 พันล้าน

นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ได้เข้ามารายงานข้อสรุปของคณะกรรมการฯ

ก.ก.แตะ'ทักษิณ'แค่ผิว ปชป.ติดหล่มร่วมรัฐบาล

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย. ถือเป็นเวทีของฝ่ายค้าน นำโดย พรรคก้าวไกล และ พรรคประชาธิปัตย์ สังคมคาดหวังจะมีการเปิดแผลให้รัฐบาลก่อนปิดสมัยประชุม 9 เม.ย.นี้

'ทนายบอน' ลากไส้พวกร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ อาศัย สรร. เป็นช่องทางแสวงหาอำนาจโดยอ้างประชาชน

นายณัฐนันท์ กัลยาศิริ หรือ ทนายบอน อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่ารัฐธรรมนูญถ้าจะแก้เพื่อประชาชน แก้เป็นรายมาตราครับ

'ธนกร' หนุนส่งศาลรธน.วินิจฉัย อำนาจหน้าที่รัฐสภาแก้ไขรธน.

นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวภายหลังรัฐสภาร่วมลงมติเห็นชอบให้รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้