'อดีตรมว.คลัง' ชำแหละเงินดิจิทัลจะนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการโฆษณาเกินจริง

'อดีตรมว.คลัง' ชำแหละข้ออ้างเงินดิจิทัลจะนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการโฆษณาเกินจริง แนะเชิญบุคคลในแวดวงธุรกิจคริปโทมาสอบถามให้ละเอียดรอบคอบ สร้างระบบบล็อกเชนใหม่ใช้งบเท่าไหร่ เหตุใดจึงไม่ใช้ระบบที่เป็นอยู่

11 ต.ค.2566 - นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง เงินดิจิทัลไม่ได้พัฒนาสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (1) มีเนื้อหาดังนี้

ผมขอเรียนแนะนำท่านรัฐมนตรีคลัง

ข้ออ้างว่า โครงการเงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทย จะนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นั้น เป็นการโฆษณาเกินจริง
บีบีซี สัมภาษณ์ นายสถาพน พัฒนะคูหา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท สมาร์ทคอนแทรคท์(ไทยแลนด์) จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล และสมาร์ทคอนแทรคท์
เขามองว่า
รัฐไม่จำเป็นต้องพัฒนาบล็อกเชนใหม่ จะได้ไม่คุ้มเสีย
เพราะมีผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตและโมบายแบงกิ้ง หลายแอปฯ อยู่แล้ว เช่น เป๋าตัง, ทรูมันนี, เคพลัส, เอสซีบี อีซี เป็นต้น
ซึ่งจะสามารถรองรับความต้องการของรัฐบาลอยู่แล้ว
ถ้าจะสร้างระบบใหม่ ให้รองรับคนใช้ 56 ล้านราย
(เทียบกับ เอไอเอส 45 ล้านราย, แอปฯ เป๋าตัง 40 ล้านราย, แอปฯ กรุงไทย เน็กซ์ 17 ล้านราย, แอปฯ เคพลัส 19 ล้านราย)
ระบบจะต้องใหญ่มาก และงบประมาณลงทุนจะแพงมาก
ตัวอย่าง ธนาคารกรุงไทย ที่ให้บริการแอปฯ เป๋าตัง นั้น ในแต่ละปีต้องใช้งบประมาณลงทุนด้านไอที มากถึงปีละ 1.1 - 1.2 หมื่นล้านบาท
นายสถาพน เปรียบเทียบ เหมือนกับการสร้างสนามบินแห่งใหม่ โดยไม่มีแผนงานรองรับภายหลังโครงการสิ้นสุดลง
(ผมเสริมว่า ต่อไปจะกลายเป็นสนามบินร้าง เงินที่ลงทุนไปจะเสียเปล่า)
เขาเตือนว่า การกำหนดเป้าหมายจะแจกเงินให้ทันภายในไตรมาสแรกของปีหน้า นั้น ระยะเวลาในการพัฒนาและทดสอบระบบยักษ์ จะน้อยเกินไป
จะมีปัญหาความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล
นายรชฏ เลียงจันทร์ นักวิเคราะห์ สายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เคยเผยแพร่บทความไว้ด้วยว่า
เทคโนโลยีบล็อกเชน นั้น จะมีปัญหาเมื่อมีผู้ใช้จำนวนมาก
เพราะธุรกรรมบนบล็อกเชน นั้น จะต้องมียืนยันและตรวจสอบไขว้ไปไขว้มา
ยิ่งเครือข่ายบล็อกเชนมีผู้ใช้จำนวนมาก ระบบจะยิ่งใช้เวลานานขึ้น
ขณะนี้ บล็อกเชนของบิตคอยน์ ใช้เวลาตรวจสอบเพื่อโอนเงินนานถึง 10 นาที
บล็อกเชนของบิตคอยน์จึงเหมาะสำหรับการโอนเงินข้ามประเทศ เพราะถึงแม้ใช้เวลา 10 นาที แต่ระบบธนาคารปกติใช้เวลาถึง 2-3 วัน
แต่ระบบบล็อกเชน เช่นบิตคอยน์ ไม่เร็วพอสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
(ผมขอเรียนให้ท่านนายกเศรษฐา ทราบว่า กระบวนการตรวจสอบในบล็อกเชนของบิตคอยน์ในปัจจุบัน นั้น
ใช้ปริมาณไฟฟ้า มากกว่าประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศ
และกำลังไต่ระดับขึ้นไป จะเท่ากับประเทศนอร์เวย์
ถามว่า ท่านใดสั่งให้กระทรวงการคลังคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ระบบบล็อกเชนนี้จะใช้หรือยัง
และผมขอถามว่าใครจะเป็นผู้รับค่าใช้จ่าย)
ผมคาดว่าท่านนายกเศรษฐาในฐานะรัฐมนตรีคลัง คงจะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อปกป้องตัวท่าน
ผมจึงขอแนะนำให้คณะกรรมการเกี่ยวกับเงินดิจิทัล เชิญบุคคลในแวดวงธุรกิจคริปโทมาสอบถามให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่า
1 ถ้ารัฐจะลงทุนสร้างระบบบล็อกเชนใหม่ จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ ทั้งในการลงทุน และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแต่ละปี
2 ระบบบล็อกเชนใหม่ที่รัฐจะสร้างขึ้น จะตรวจสอบแต่ละธุรกรรมใช้เวลานานกี่นาที
และจะมีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์เท่าไหร่
3 การสร้างระบบบล็อกเชนใหม่ รวมถึงการทดสอบเพื่อให้ปลอดภัย 100% จะต้องใช้เวลานานแค่ไหน
4 เหตุใดจึงไม่ใช้ระบบที่มีอยู่แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมาคมธนาคารไทย' ลดดอกเบี้ยตอกย้ำความขัดแย้งนายกฯกับผู้ว่าฯธปท.

'อดีตรมว.คลัง' ชี้สมาคมธนาคารไทยลดดอกเบี้ย ตอกย้ำความขัดแย้งระหว่างนายกฯ กับผู้ว่าฯแบงค์ชาติ กลยุทธ์ที่นายกฯ งัดมาใช้นั้นไม่สำเร็จ ไม่มีผลต่อการลงทุนภาคเอกชนเพราะเป็นเพียงระยะสั้น

'อิทธิพร' ย้ำ กกต.ไม่มีอำนาจท้วงติงนโยบายแจกเงินดิจิทัล

'อิทธิพร' ตอบปม สว. ท้วง กกต. ไม่ทักท้วงเงินดิจิทัล เหตุ กม.ไม่ไห้อำนาจให้ความเห็น แต่กำกับรายละเอียด การใช้เงินพร้อมความคุ้มค่า

'อดีตรมว.คลัง' วิเคราะห์ 'ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา' แนะทางเลือกเหมือน ไทย- มาเลเซีย

'อดีตรมว.คลัง' วิเคราะห์ 'ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา' ชี้ไม่มีการระบุว่าเป็นการกำหนดแนวเขตทางทะเล ถ้าไทยฟ้องศาลโลกก็ไม่แน่ว่าจะชนะ แนะทางเลือกเจรจายุติปัญหาข้อพิพาท เช่น กรณีไทย- มาเลเซีย

'ธีระชัย' นิยามวิกฤตเศรษฐกิจ ตามมาตรา 53 ต้องพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์ 5 ข้อ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง เงื่อนไขมาตรา 53 มีเนื้อหาดังนี้