กมธ.แรงงาน เสนอรื้อสูตรคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ-ใช้บอร์ดพหุภาคี แก้ปัญหาค่าจ้าง

กมธ.แรงงาน เสนอรื้อสูตรคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ-ใช้บอร์ดพหุภาคี แก้ปัญหาค่าจ้าง - ชงตั้งสภาแรงงานจังหวัด 'สส.ก้าวไกล' ชี้ กก.ไตรภาคี มีอำนาจไม่ทบทวนค่าแรงตามนายกฯสั่ง แนะฝ่ายการเมืองแก้กฎหมายเปลี่ยนเงื่อนไขปรับค่าจ้าง เหตุสูตรคำนวณล้าหลัง

22 ธ.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการค่าจ้าง หรือ บอร์ดไตรภาคี มีมติยืนฐานการปรับค่าจ้างตามเดิม ระหว่าง 2–16 บาท ว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากกฎหมายการคำนวณค่าแรงของไตรภาคีล้าสมัย ทำให้สูตรการคิดคำนวณหาค่าแรง จำเป็นจะต้องมีการแก้ไข เช่น ในกรณีของพื้นที่จังหวัดปัตตานีนั้น ที่จริงจะต้องปรับลด 1 บาทไม่ใช่ปรับเพิ่ม 2 บาท แต่เนื่องจากจังหวัดนราธิวาส และยะลา ได้ปรับ 2 บาท จึงทำให้ปรับจังหวัดปัตตานีด้วย เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า ในอดีตกระทรวงแรงงาน เป็นกรมแรงงานในกระทรวงมหาดไทย กฎหมายจึงตามไม่ทัน ทำให้เกิดความขัดแย้งในอำนาจระหว่างรัฐมนตรี ,ปลัดกระทรวง ,อธิบดี และตัวแทนไตรภาคีจากฝั่งนายจ้าง เป็นนายจ้างที่บางครั้ง เป็นลูกจ้างที่นายจ้างมอบหมายมา จึงทำให้เป็นการทำงานตามคำสั่งนายจ้าง ทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบารมีตัวแทนนายจ้าง ยังเหนือกว่าลูกจ้าง จึงขอเสนอว่า ให้มีการเปลี่ยนระบบไตรภาคี เป็นพหุภาคี หรือรูปแบบใหม่ ๆ รวมถึงการจัดตั้งสภาแรงงานจังหวัด และจำเป็นจะต้องพิจารณาบริบทอีกหลายมุมว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ควรจะเป็นค่าแรงที่เป็นธรรมหรือไม่ และการขึ้นค่าแรงแต่ละครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้ประโยชน์กับแรงงานไทยน้อย เพราะแรงงานไทย ที่ได้รับปรับขึ้น 2-16 บาท แต่ส่วนใหญ่แรงงานต่างชาติได้ประโยชน์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องยกระดับฝีมือแรงงานไทย และให้ได้รับใบรับรองด้วย

ส่วนกมธ.จะมีการเสนอรัฐบาลปรับเกณฑ์การขึ้นค่าแรง ทั้งสูตรการคำนวณ และองค์ประกอบบอร์ดไตรภาคีอย่างไรนั้น ประธานกมธ.แรงงาน กล่าวว่า กมธ.ฯ ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาแล้ว ทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการบริหารระบบ กฎหมาย การจัดตั้งแรงงานจังหวัด เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้พิจารณาดำเนินการต่อไป

ด้านนายสุเทพ อู่อ้น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานกมธ.แรงงาน กล่าวว่า หลายพรรคการเมืองหาเสียงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำไว้ แต่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำมีเงื่อนไขกฎหมายเดิมที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น คณะกรรมการไตรภาคีที่ถือกฎหมายอยู่มีอำนาจ และมีสิทธิที่จะดำเนินการเต็มที่ ส่วนภาคการเมือง ต้องไปแก้ไขในส่วนของกฎหมายเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องของเงื่อนไขการปรับค่าจ้าง ซึ่งชัดเจนว่าสูตรการคิดอัตราค่าจ้างปัจจุบันเป็นสูตรที่ยังล้าสมัย โดยตามหลักสากลเรื่องค่าจ้าง ของ 1 คน ต้องสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ 3 คน แต่สูตรของกระทรวงแรงงานปัจจุบัน 1 คน สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ 1 คนเท่านั้น อีกทั้งแต่ละคน มีภาระ บ้านเช่า ข้าวซื้อ รถผ่อน ลูกเรียน และเลี้ยงดูพ่อแม่

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่กมธ.ฯจะผลักดันให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดความชัดเจน ว่าต่อไปการเมืองจะมายุ่งกับเรื่องค่าจ้างไม่ได้ ถ้ามีกฎหมายมาควบคุมโดยเฉพาะ ซึ่งพรรคก้าวไกลได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ที่ขณะนี้ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นแล้ว ร่างกฎหมายดังกล่าว มีเนื้อหาปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไปตามเรื่องGDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและCPI หรือดัชนีราคาผู้บริโภค ที่จะมีการปรับเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจะเป็นระบบที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับการปรับตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยไม่เกี่ยวกับการเมือง รวมทั้งต้องปรับเรื่องSKILLหรือทักษะแรงงาน เมื่อกำหนดค่าจ้างขึ้นตามค่าครองชีพ ควรจะต้องปรับ1% ที่จะให้สูงกว่าค่าจ้างที่มีการปรับตามค่าครองชีพ เพื่อให้มีเงินค่าจ้างที่เป็นธรรมและมีเงินสะสมในบั้นปลายชีวิต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ใช้แรงงานเฮ! 1 พ.ค.2567 วันแรงงาน "พิพัฒน์" ย้ำชัดประกาศแน่ ทำเร็วขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ลูกจ้างโรงแรมเฮ 13 เม.ย เริ่มรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เตือนนายจ้างไม่จ่ายผิดกฎหมาย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานในประเภท

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่

'สส.ภูมิใจไทย' โวยตั๋วเครื่องบินไปอันดามันแพงหูฉี่

'สส.ภูมิใจไทย' โวยตั๋วเครื่องบินไปอันดามันแพงหูฉี่ กระทบการท่องเที่ยว-วัดไร้คนทำบุญ ชาวบ้านต้องหนีไปขึ้นเครื่องที่สุราษฎร์-นครฯ เพราะราคาถูกกว่า