กมธ.ฯ ปรับไทม์ไลน์วันออกเสียงประชามติ พร้อมเลือกตั้ง หลัง 60 วัน แต่ไม่เกิน 150 วัน

กมธ.ประชามติ ปรับเนื้อหา ขีดไทม์ไลน์วันออกเสียง พร้อมวันเลือกตั้ง ตั้งเงื่อนไข ไม่เร็วกว่า60วันไม่ช้ากว่า150วัน พบ ‘อนุทิน’ ชงแปรญัตติ เพิ่มเกณฑ์ 1ใน4 ขอคนมาใช้สิทธิ เป็นเงื่อนไขผ่านประชามติ

29 ก.ค.2567-นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยความคืบหน้าของการประชุมหลังจากพิจารณามาแล้ว 4 ครั้งว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปในประเด็นการกำหนดวันออกเสียงประชามติ ที่ร่างเดิมกำหนดให้ออกเสียงในวันเดียวกันกับวันเลือกตั้ง สส. ที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป วันเลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเนื่องจากดำรงตำแหน่งครบวาระ ได้กำหนดช่วงระยะเวลาเพิ่มเติม คือ กำหนดวันออกเสียงตามการเลือกตั้งดังกล่าวก็ได้ แต่ต้องไม่เร็วกว่า 60 วัน และไม่ช้ากว่า 150 วัน เพิ่มเข้ามาเพื่อให้เกิดความชัดเจน

สำหรับประเด็นเกณฑ์การออกเสียงประชามติที่เป็นข้อยุตินั้น พบว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ได้ส่งความเห็นของกระทรวงมหาดไทยที่ขอให้แปรญัตติในประเด็นเกณฑ์ของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ โดยขอให้ใช้เกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของผู้มีสิทธิออกเสียง เพิ่มเติมจากเกณฑ์ผ่านประชามติที่ใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้ ทั้งนี้ในความเห็นดังกล่าวนั้นตนรับเป็นผู้แปรญัตติด้วย และต้องรอการพิจารณาของกมธ.อีกครั้ง เนื่องจากในประเด็นดังกล่าวนั้นต่างจากตามเนื้อหาที่เสนอต่อสภาที่กำหนดให้ใช้เกณฑ์ผ่านประชามติเพียงแค่เสียงข้างมากของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงเท่านั้น

นอกจากนั้น กมธ.ยังได้รับหนังสือจากภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ภรป.) ที่เสนอต่อกมธ.เมื่อ 26 ก.ค. เพื่อเสนอความเห็นต่อการจัดทำเนื้อหาหลายประเด็น อาทิ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และหน่วยงานรัฐ สนับสนุน อำนวยความสะดวกให้ประชาชน พรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน สามารถแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการทำประชามติและรณรงค์รูปแบบต่างๆ  กำหนดให้มีอาสาสมัครการออกเสียงประชามติเพื่อความเที่ยงธรรม สุจริต เป็นต้น

“ข้อเสนอของ ภรป. ยังขอให้ สภาฯ และวุฒิสภาเร่งพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติโดยเร็วเพื่อให้ทันต่อการออกเสียงประชามติจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ครั้งแรก พร้อมกับการเลือกนายก อบจ. ในวันที่ 3 ก.พ.2568 ด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ 'นิรโทษกรรม' งัดข้อประชามติชั้นเดียว

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' จ่อเข็น 'กม.นิรโทษฯ' ถกพร้อมร่างอื่น พ่วงเดินหน้า 'กม.ประชามติ' แนะ 'ประธานสภาฯ-วิป' เร่งหารือแนวทาง 'แก้ รธน.' เหตุ อาจเสียเวลาเปล่า

ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ

สว.พันธุ์ใหม่ อ้างต่างประเทศใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำผลประชามติบิดเบือน

น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนถึงร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ไม่ว่ามติของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะออกมาเป็นอย่างไร

'พิพัฒน์' ปัด ภท.-รทสช. ฮั้วกันหนุน 'ถาวร' ชิงนายก อบจ.สงขลา

'พิพัฒน์' ปัดข่าว ภท.-รทสช. จับมือส่ง 'ถาวร' ชิง นายก อบจ.สงขลา ยันไม่เคยคุย 'พิมพ์ภัทรา' หลังลือจ่อย้ายซบพรรคนํ้าเงิน รับภูมิใจไทยอยากครองภาคใต้เพิ่ม แต่ไม่ใช้วิธีฮั้วรวมกันตี