หมกมุ่น! ปชน.ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคเดียว 17 ฉบับรอบรรจุวาระ

'ปชน.' ยื่นร่างแก้ รธน.รายมาตราต่อรัฐสภาแล้ว รวม 17 ฉบับ สบช่องเขี่ย 'สว.' พ้นทาง พร้อมให้สิทธิพรรคฝ่ายค้านได้นั่ง 'ปธ.-รองปธ.สภา' ติดทางด่วน สอบ 'ป.ป.ช.' รอวิป 3 ฝ่าย เคาะวันเข้าสภา

14 พ.ย. 2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ถึงความเคลื่อนไหวต่อการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภายหลังนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ มีการเตรียมนัดประชุมคณะกรรมการประสานงาน หรือวิป 3 ฝ่าย คือ วุฒิสภา สส.ฝ่ายรัฐบาล สส.ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ในช่วงต้นเดือน ธ.ค. ก่อนเปิดสมัยประชุมสภาฯ ในวาระพิจารณากำหนดกรอบการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีผู้เสนอต่อรัฐสภา

โดยในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภานั้น ล่าสุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่รายละเอียด การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ในสภาฯ ชุดที่ 26 มีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา เข้ามาแล้ว รวม 17 ฉบับ ซึ่งเป็นฉบับที่ สส.พรรคประชาชน เข้าชื่อเสนอทั้งหมด ได้แก่ 1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยสาระสำคัญ คือ ตัดเงื่อนไขที่ต้องใช้เสียง สว.​ร่วมโหวตเป็นจำนวนตามเกณฑ์กำหนด โดยเปลี่ยนใช้เสียง สส.เห็นชอบทั้งหมด และมีเงื่อนไข คือ ต้องได้เสียง สส.เห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ของสภา

2.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตัดประเด็นเงื่อนไขกรณีต้องไม่มีสมาชิกพรรคที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ ออกไป เพื่อให้ผู้นำฝ่ายค้าน ในฐานะพรรคการเมืองหลักในฝ่ายค้านสามารถมีตำแหน่งรองประธานสภาฯ หรือ รองประธานสภาฯ ได้

3.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ว่าด้วยหน้าที่และอำนาจของ คณะกรรมาธิการ โดยเพิ่มอำนาจให้ สอบสวนข้อเท็จจริงได้ จากเดิมที่กำหนดหน้าที่เพียง สอบหาข้อเท็จจริง 4.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 199 ว่าด้วยขอบเขตอำนาจศาลทหาร ที่กำหนดกรอบอำนาจให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้กระทำความผิดเป็นบุคคล เฉพาะในระหว่างการประกาศสงคราม

5.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ว่าด้วยหน้าที่ของบุคคล ซึ่งแก้ไข (5) ที่กำหนดให้มีหน้าทที่รับราชการทหาร ตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็น รับราชการทหารเมื่อมีภัยสงครามหรือเหตุที่ประเทศเผชิญสงครามในระยะเวลาอันใกล้ตามที่กฎหมายกำหนด 6.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งตัดข้อห้ามการใช้สิทธิและเสรีภาพ ประเด็นที่จะกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐออกไป

7.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 ว่าด้วยการขยายการใช้สิทธิและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่ไม่ให้กฎหมายใดจำกัดการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการติชม ด้วยความเป็นธรรม อีกทั้งยังกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพทางวิชาการ และกำหนดบทคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
8.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ว่าด้วยสิทธิการขอประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ที่แก้ไขให้การคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างรวดเร็ว และเหตุที่ไม่ปล่อยตัวชั่วคราว กำหนดบทบัญญัติเป็นกรณีเฉพาะว่า เพราะมีพฤติการณ์อันเชื่อได้ว่าหากปล่อยตัวชั่วคราวจะทำให้เกิดกรณีหลบหนี หรือ เหตุอื่น
นอกจากนั้น ได้เพิ่มข้อความในวรรคท้ายขึ้นใหม่ โดยกำหนดระยะเวลาคุมขังของผู้เป็นจำเลย ห้ามเกิน 1 ปี ทั้งในศาลชั้นต้น หรือ ชั้นศาลอุทธรณ์ กรณีไม่ถูกพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

9.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ว่าด้วยการเสมอภาคทางเพศ ซึ่งได้แก้ไขในวรรคสองให้ บุคคลทุกคน ไม่ว่าเพศ เพศสภาพ เพศวิถี หรือ อัตลักษณ์ทางเพศใดมีสิทธิเท่าเทียมกัน 10.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยสิทธิของประชาชนและชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เพิ่มเติมให้สิทธิของบุคคลดำรงชีพอยู่อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นแล้ว ยังได้เพิ่มบทว่าด้วยหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ ต่อเรื่องในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยหรือคุณภาพชีวิต และยังกำหนดเงื่อนไขของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ให้องค์กรอิสระ ประกอบด้วย เอกชน สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ

11.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยการศึกษา ซึ่งกำหนดให้บุคคลได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยสิทธิในการรับทราบข้อมูล ข่าวสารสาธารณะ ซึ่งเพิ่มบทบัญญัติที่ว่าด้วย การได้รับคุ้มครองจากรรัฐในกรณีเปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตภาครัฐ พร้อมทั้งกำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารของรัฐ ยกเว้นความลับทางราชการ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน

13.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ว่าด้วยการยื่นตรวจสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้อำนาจ สมาชิกรัฐสภาดำเนินการผ่านประธานรัฐสภา ซึ่งได้กำหนดให้ ประธานรัฐสภาหลังได้รับเรื่องต้องส่งให้ประธานศาลฎีกาทันที โดยตัดเงื่อนไขที่ ประธานรัฐสภาต้องใช้ดุลยพินิจว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาออก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ พรรคประชาชน โดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภามาแล้ว 4 ฉบับ คือ 1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มมาตราว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ คือ รัฐมนตรี สส. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตัดคุณสมบัติที่ว่าด้วยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงออก และเชื่อมโยงไปยังกระบวนการตรวจสอบ ของ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำผิดจริยธรรมร้ายแรงด้วย

2.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการลบล้างผลพวงรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค.2557 และการป้องกันและต่อต้านรัฐประหาร 3.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติและยกเลิกแผนการปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และ 4.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกมาตรา 279 และเพิ่มสิทธิให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากคำสั่ง การกระทำของ คสช.หรือ หัวหน้า คสช. มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายได้

ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ ประธานรัฐสภา ต้องพิจารณาความถูกต้องของรายละเอียดการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระภายใน 15 วัน ส่วนจะพิจารณาในช่วงเวลาใดของสมัยประชุมนั้น ตามการปฏิบัติปกติจะขึ้นอยู่กับการหารือของวิป3 ฝ่าย ที่จะสรุปออกมา

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กมธ.ต่างประเทศ' ซัดรัฐบาลไร้น้ำยา ผ่าน 3 สัปดาห์ ไร้ข้อสรุป ปล่อยเมียนมาจับ 4 คนไทย

'กมธ.ต่างประเทศ' ผิดหวังทางการไทย ผ่าน 3 สัปดาห์ เมียนมาจับลูกเรือ 4 คน ยังไม่รู้น่านน้ำใคร จี้ 'นายกฯอิ๊งค์' สั่งการเชิงรุก ข้องใจมัวห่วงเสียผลประโยชน์คนบางกลุ่มหรือไม่

'เท้ง-ไหม' ชำแหละ 'นายกฯอิ๊งค์' เหมือนฝากงานรมต. มากกว่าแถลงผลงานรัฐบาล

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน พร้อมด้วย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลงานรัฐบาลครบ 90 วัน เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

'เจ๊ไหม' จี้ถามปฏิรูปภาษี-ล้วงทุนสำรอง 'จุลพันธ์' ยก OECD ที่ไทยจะเข้าเป็นสมาชิกเป็นต้นแบบ!

'ศิริกัญญา' จี้ถาม 'ปฏิรูประบบภาษี' บอก ฟังแล้วเหนื่อยไม่มีเป้าหมาย 'จุลพันธ์' แย้งบอกเป็นแนวทางศึกษา ระบุ 'ไม่มีโจทย์ ไม่มีเป้า ไม่มีธง' แค่เดินหน้าไป เหน็บเอาใจยากพอสมควร

'ณัฐวุฒิ' ดับกลางอากาศ! 'เจี๊ยบ-สาวกส้ม' แห่แชร์คลิปตาสว่างหลงเชื่อ 'ไอ้เต้น' มา 20 ปี

นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล หรือ “เจี๊ยบ” อดีตสส.ก้าวไกล โพสต์คลิปวิดีโอความเห็นของผู้ที่เคยสนับสนุน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกฯ

อ้าว! 'อมรัตน์' สมเพช 'นักโต้วาที' เมาตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ

นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล หรือ “เจี๊ยบ” อดีตสส.ก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล” ถึงนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ท้านายกฯอิ๊งค์ ถ้าให้เกียรติสภา ควรมาตอบกระทู้สดผู้นำฝ่ายค้าน

'ปธ.วิปค้าน' ลั่น 'หัวหน้าเท้ง' ถามกระทู้สดนายกฯ แน่นอน ข้องใจทำไมต้องแถลงผลงานวันเดียวกัน ทั้งที่รู้ล่วงหน้าแล้ว เหน็บ 'อิ๊งค์' ถ้าเห็นความสำคัญสภา สะดวกตอบสัปดาห์ไหนก็พร้อมเสมอ