"ดร.ณัฏฐ์" มือกฎหมายมหาชน เผยกรณี "สส.ปูอัด" ถูกศาลออกหมายจับคดีข่มขืน มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน ในระหว่างสมัยประชุม เว้นแต่สภาอนุญาต
7 ก.พ.2568 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีศาลจังหวัดเชียงใหม่ออกหมายจับนายไชยามพวาน มั่นเพียรตจิตต์ หรือ "ปูอัด" สส.กรุงเทพมหานคร พรรคไทยก้าวหน้า (เดิมสังกัดสส.พรรคก้าวไกล) ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น ซึ่งศาลได้ออกหมายจับที่ จ.262/2568 ลงวันที่ 4 ก.พ.2568 และพนักงานสอบสวนทำหนังสือถึงประธานรัฐสภาเพื่อให้ส่งตัวมาดำเนินคดีอาญา
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าเอกสิทธิ์คุ้มกัน สมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 125 จะต้องพิจารณาว่า ขณะที่ศาลได้ออกหมายจับผู้ต้องหาที่ดำรงตำแหน่ง สส. อยู่ในระหว่างสมัยประชุมสภาหรือไม่ หากอยู่ระหว่างสมัยประชุมสภา นายไชยามพวาน มั่นเพียรตจิตต์ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคไทยก้าวหน้า ย่อมได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 125 วรรคหนึ่ง เพราะข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวนยังไม่มีการพิสูจน์ว่า ผู้ต้องหากระทำความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญในเอกสิทธิ์คุ้มกันสมาชิกรัฐสภา เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 125 ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียก ตัว สส.หรือ สว.ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้น เป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกหรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด
"เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับที่ผ่านมา บัญญัติเอกสิทธิ์คุ้มกันสมาชิกรัฐสภา เป็นเกราะป้องกันสถานะความเป็น สส.ในระหว่างสมัยประชุมเท่านั้นที่ห้าม จับ คุมขังหรือหมายเรียก เว้นแต่สภาอนุญาตหรือความผิดซึ่งหน้า"
นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า เอกสิทธิ์ (Privilege) หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือกลุ่มบุคคลบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้ผู้นั้นเกิดความชอบธรรมในการอ้างสิทธิเพื่อยืนยันผลประโยชน์บางประการเป็นพิเศษที่เหนือบุคคลอื่น กล่าวคือ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐจะมีเอกสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษที่จะไม่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาในทางใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เช่น เอกสิทธิ์ทางการทูต และ เอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น
เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา หมายถึง สิทธิเด็ดขาด ของสมาชิกรัฐสภาที่จะกล่าวแถลงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน หรือการกระทำอย่างอื่นในที่ประชุมสภา โดย มิให้บุคคลอื่นมาเกี่ยวข้อง จะไปฟ้องร้องว่ากล่าวในทางใดไม่ได้ ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง และไม่อาจนำเรื่องนั้นไปฟ้องร้องได้อีกไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใดก็ตาม
ส่วนความคุ้มกัน(Immunity) หมายถึง การที่คอยป้องกันให้ปลอดภัย, คุ้มครองให้พ้นจากบางสิ่งบางอย่าง เช่น คุ้มกันโรค คุ้มกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง
ดร.ณัฐวุฒิ อธิบายว่า ความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา หมายถึง ความคุ้มกันที่รัฐธรรมนูญให้แก่สมาชิกรัฐสภาที่จะไปประชุมตามหน้าที่ โดยไม่อาจถูกจับกุม คุมขัง หรือดำเนินคดีใดๆในลักษณะที่จะขัดขวางต่อการมาประชุมในช่วงเวลาใดเวลา หนึ่งหรือในระหว่างสมัยประชุม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอยู่เสียก่อน ความคุ้มกันนี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งนี้เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวความคุ้มกันจะหมดไปและอาจดำเนินคดีต่อไปได้ ไม่ได้หมายความว่า เอกสิทธิ์คุ้มกันสมาชิกรัฐสภา ระหว่างสมัยประชุม จะทำให้ สส.มีอภิสิทธิ์เหนือกว่าประชาชน
แต่การที่พนักงานสอบสวนขอหมายจับเพราะความผิดมีอัตราโทษตามกฎหมายเกิน 3 ปีขึ้นไป พนักงานสอบสวนสามารถขอออกหมายจับต่อศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 66 ส่วนการขอตัวเพื่อดำเนินคดี เป็นขั้นตอนที่จะต้องปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญเพราะผู้ต้องหามีสถานะความเป็น สส.อยู่ขณะกระทำความผิด ถือเป็นขั้นตอนปกติ
"ในการส่งตัวในสมัยประชุมสามัญของสภา ส่วนใหญ่ ในทางปฎิบัติที่ผ่านมาทุกยุคทุกสมัย ประธานรัฐสภา จะไม่ส่งตัวมาให้พนักงานสอบสวน จึงต้องรอให้หมดสมัยประชุมถึงจะส่งตัวมา เว้นแต่ สส.ท่านนั้นจะยินยอม สละเอกสิทธิคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาพบพนักงานสอบสวน ส่งผลทำให้หมายจับสิ้นผลไป เพราะอย่าลืมว่า หมายจับของศาลย่อมมีผล แต่รัฐธรรมนูญห้ามมิให้จับกุม คุมขัง หรือหมายเรียก ตัว สส.ในระหว่างสมัยประชุม" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ผู้นำฝ่ายค้านถอยกรูด ตัดชื่อ 'ทักษิณ' ขาดความรู้กม.-เสียมวยในศึกซักฟอก
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ "ดร.ณัฏฐ์" นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงฝ่ายค้านเตรียมแก้ไขญัติติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตัดชื่อนายทักษิณ ชินวัตร ออกโดยขอขยายเวลาอภิปรายเป็น 30 ชั่วโมง ว่าต้องแยกระหว่างกัน กรณีขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็น
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ปมฮั้วเลือกสว. 'กกต.' อ้างอิงคำพิพากษาพกโพยเข้าเขตเลือกสว.ไม่ผิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่ากรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) อ้างอิงคำพิพากษาศาลอาญาทุจริตอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 12
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ประธานสภาฯ สั่งแก้ญัตติซักฟอกได้ พาดพิงคนนอกเอกสิทธิ์ไม่คุ้มครอง
ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้ปมศึกฟอก "วันนอร์"ปธ.สภา สั่งให้แก้ไขร่างญัตติฯได้ พาดพิงคนนอก เอกสิทธิ์ไม่คุ้มครอง
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ 'มวยล้มต้มคนดู' ข้อหาสมคบฟอกเงิน เป็นอำนาจของ DSI ไม่ต้องผ่านบอร์ดคดีพิเศษ
'ดร.ณัฏฐ์' มือกฎหมายมหาชน ชี้ ข้อหาสมคบฟอกเงิน เป็นอำนาจดีเอสไอ ตามบัญชีท้ายอยู่แล้ว ไม่ต้องผ่านบอร์ดคดีพิเศษ แต่คดีหลัก กกต.ต้องวินิจฉัยชี้ขาดก่อน ทุจริตฮั้ว สว.หรือไม่ เป็นเกมสับขาหลอก มวยล้มต้มคนดู
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ซักฟอก 'ขึงพืดแพทองธาร' ไม่หมู-ฝ่ายค้านเหนื่อยฟรี!
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ "ดร.ณัฏฐ์" นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลที่ฝ่ายค้านพุ่งเป้าไปที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เพียงคนเดียวอย่างไร นั้นตนเห็นการตรวจสอบทำหน้าที่ต
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัดศาลรธน.ไม่มีหน้าที่ให้คำปรึกษา-ให้ความเห็นทางกฎหมาย
ที่อาคารรัฐสภาดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่ากรณีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้