'สายพันธุ์ใหม่' เรียกร้อง สว. โหวตแก้รธน. ปากแจ๋วหากเสียงไม่ถึง ก็ไม่ต่างจากชุด คสช.

สว.พันธุ์ใหม่' เรียกร้อง 'สว.' ร่วมโหวตวาระแรก 'แก้ รธน.' มอง หากเสียงไม่ถึง คงไม่ต่างจากชุด คสช. จี้ 'นายกฯ' แสดงจุดยืนสนับสนุน ย้ำ เป็นไปตามระบบนิติบัญญัติ เหตุ 'ปธ.สภา' บรรจุลงระเบียบวาระแล้ว

10 ก.พ. 2568 - ที่รัฐสภา กลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ นำโดย นางสาวนันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงประชุมร่วมกันของรัฐสภา วาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 เพื่อเปิดทางให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในวันที่ 13-14 ก.พ.นี้ ว่า เป็นครั้งแรกที่ประธานรัฐสภาได้บรรจุลงระเบียบวาระ ซึ่งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการที่ถูกต้อง และเป็นที่สนใจของสังคมทั่วไป

โดยกลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ มองว่า เราเห็นด้วยกับการทำประชามติ 2 ครั้ง คือครั้งแรก ภายหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยให้ประชาชนลงมติว่าเห็นด้วยกับวิธีการที่จะได้มาซึ่งสมาขิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หรือไม่ และเมื่อ สสร.ร่างเสร็จเรียบร้อย จึงจัดประชามติครั้งที่ 2 เพื่อถามประชาชนว่ารับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ย้ำว่า การทำประชามติ 2 ครั้ง จะทำให้เราได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมาจากประชาชน และไม่สิ้นเปลืองประมาณจนเกินไป

กลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ ย้ำว่า เห็นด้วยกับการลดอำนาจของ สว.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีที่มาจากการเลือกกันเอง แตกต่างจาก สส. ที่มาจากการเลือกการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้น จึงควรให้น้ำหนักหลักอยู่ที่ สส.

กลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ ยังกล่าวถึงกรณีที่ สว.ตกเป็นจำเลยของสังคม เพราะการที่แก้รัฐธรรมนูญได้นั้น ต้องใช้เสียง สว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และหาก สว.ไม่ยอมโหวตให้ การแก้รัฐธรรมนูญก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสังคมก็จะมองไม่ต่างอะไรจาก สว. 250 คน ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งขึ้นมา แล้ว สว.ชุดนี้ จะหวงอำนาจไว้กับตัวเองเพื่ออะไร

"เราจึงอยากเชิญชวน สว. ที่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย มาร่วมโหวต เพื่อผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปด้วยกัน ให้เราได้กติกาตามประชาธิปไตย ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชน และเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง"

กลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ ยังเรียกร้องให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เนื่องจากในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีเองก็เคยพูดว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นมรดกของ คสช. รวมถึงประชาชนทุกท่านที่รู้สึกได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และไม่พอใจการทำงานขององค์กรอิสระ ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน

ส่วนข้อเสนอให้มีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความตามมาตรา 210 นั้น กลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ ยืนยันว่า การบรรจุลงระเบียบวาระ เป็นการปฏิบัติตามกระบวนการนิติบัญญัติที่ถูกต้อง ไม่มีอะไรที่ผิดปกติ และไม่มีอะไรที่ทำให้การกระทำตรงนี้ไม่ถูกต้อง เพราะหากเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ประธานรัฐสภาคงไม่บรรจุลงระเบียบวาระ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิสุทธิ์' เผย 'ภูมิใจไทย' ไม่ขัดข้อง ญัตติด่วนยื่นศาลตีความแก้ รธน.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 17 มี.ค.

'สว.พันธุ์ใหม่' บี้สภาสูงเลื่อนโหวต 'ตุลาการศาลรธน.' จนกว่าจบ 'คดีฮั้ว'

'นันทนา' เรียกร้องชะลอลงมติ 'ตุลาการศาลรธน.' ออกไปก่อน จนกว่าปิดคดีฮั้วฮว. หวั่นส่งผลกระทบระยะยาว อาจส่งผลโมฆะ ด้าน 'ทนายอั๋น' ยก 3 ข้อห่วงใย ค้านโหวต 18 มี.ค.

ตามคาด! สภายุโรป สุมหัวจุ้นไทย เรียกร้องยกเลิก ม.112 สร้างเงื่อนไขเจรจาการค้าเสรี

เฟซบุ๊ก "อานนท์ นำภา" โพสต์ข้อความว่า คืนนี้! ส.ส. สภายุโรป จะดีเบทเรื่อง “ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์และการส่งกลับชาวอุยกูร์”

'พิพัฒน์' แจงกระทู้สด สภาสูง หนุนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ควบคู่มาตรการลดค่าครองชีพ พร้อมดูแลแรงงาน-นายจ้างเต็มที่ เผย ลุ้นผลประชุม กก.ค่าจ้าง 12 มี.ค.นี้

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสมาชิกวุฒิสภา ย้ำถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับมาตรการช่วยเหลือแรงงานและนายจ้าง เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างสมดุล

โปรดเกล้าฯ ปิดประชุมสภาฯ 11 เม.ย. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ พ.ร.ฎ. อย่างเป็นทางการ

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2568 มีผลตั้งแต่ 11 เม.ย. 2568