นักกฎหมายมหาชน เปิดแนวทางคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดียิ่งลักษณ์ โครงการจำนำข้าว ชี้มีทั้งยก ยืน กลับ หรือแก้ไข พร้อมเผยผลสะเทือนถึงการยึดทรัพย์และการคืนเงินหากคำพิพากษาเปลี่ยน
21 พฤษภาคม 2568 - ความคืบหน้าคดี “โครงการรับจำนำข้าว” ซึ่งเกี่ยวพันกับคำสั่งทางปกครองให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชดใช้ค่าสินไหมแก่รัฐ ตามคำสั่งของกระทรวงการคลัง ล่าสุดศาลปกครองสูงสุดได้นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 นี้
ด้าน นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้เปิดเผยว่า ฝ่ายจำเลยเตรียมรับฟังคำวินิจฉัยอย่างใกล้ชิด และมั่นใจในคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นที่เคย เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ของกระทรวงการคลังมาก่อน
ขณะเดียวกัน ดร.ณัฏฐ์ ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน ได้วิเคราะห์แนวทางที่ศาลปกครองสูงสุดอาจมีคำวินิจฉัยไว้ 5 แนวทางหลัก โดยระบุว่า คดีนี้มีความซับซ้อน และคำพิพากษาอาจเป็น หมุดหมายสำคัญต่อสิทธิในการคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชนที่ถูกกล่าวหาโดยรัฐ
แนวทางแรก หากศาลพิพากษา “ยืน” ตามศาลปกครองชั้นต้น หมายถึง ยิ่งลักษณ์ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามคำสั่งชดใช้เงินของกระทรวงการคลัง ซึ่งถือเป็น คำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
แนวทางที่สอง หากศาลพิพากษา “กลับ” ความหมายคือ คำสั่งของกระทรวงการคลัง มีผลใช้บังคับ แต่ไม่อาจนำไปสู่การยึดทรัพย์ได้ทันที เพราะไม่ใช่หนี้ภาษี และยังไม่ใช่คำพิพากษาของศาลตามหลักกฎหมาย
แนวทางที่สาม ศาลอาจ “แก้ไข” คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในประเด็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ เช่น ลดหรือเพิ่มยอด โดยให้รับผิดบางส่วนแทนทั้งหมด
แนวทางที่สี่ หากพิพากษา “ยืน” ก็จะไม่มีผลกระทบต่อ คำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่ตัดสินจำคุก 5 ปี ไปแล้ว เพราะเป็นคนละคดีคนละศาล และไม่เกี่ยวกับมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้ผลผูกพันต่อทุกองค์กรในกรณีศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น
แนวทางสุดท้าย ดร.ณัฏฐ์ระบุว่า หากบ้านของนางสาวยิ่งลักษณ์ถูก ยึดและขายทอดตลาด ไปก่อนหน้านี้ โดยอ้างอิงคำสั่งทางปกครองของกระทรวงการคลัง ซึ่งหากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐอาจต้อง คืนทรัพย์สินหรือจ่ายค่าชดเชยเท่ามูลค่าทรัพย์ ให้ผู้เสียหาย
นักกฎหมายมหาชนย้ำว่า แม้ผลคดีนี้จะไม่ย้อนลบคำพิพากษาทางอาญา แต่จะมีผลโดยตรงต่อกระบวนการ บริหารจัดการทรัพย์สินและความรับผิดทางแพ่งของอดีตนายกฯ และอาจกลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญว่ารัฐจะใช้อำนาจลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในเชิงปกครองได้อย่างไรภายใต้หลักนิติธรรมในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ณัฏฐ์ ชี้มติแพทยสภาเป็น 'คำสั่งทางปกครอง' ยังไม่ถึงที่สุด!
จากกรณีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษมีความเห็นวีโต้มติแพทยสภา ต่อมาในวันนี้ ที่ประชุมแพทยสภา มีมติเป็นเอกฉันท์
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ปมศาลรธน.ไม่รับคำร้องตั้ง 'ธรรมนัส' ไม่เกี่ยวจริยธรรมร้ายแรง
นักกฎหมายมหาชน เตือน รัฐบาลแพทองธาร เสี่ยงซ้ำรอย “เศรษฐา” หากเดินหน้าดันชื่อ “ธรรมนัส” เข้าครม. ชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.กรณีเดิม ไม่ได้ตัดสินเนื้อหา จึงไม่เป็นบรรทัดฐานในการตั้งรัฐมนตรีได้
ดร.ณัฏฐ์ แฉกฎเหล็กพรรค รทสช. ขัดรัฐธรรมนูญ-พ.ร.ป. ใช้กีดกันสส.เห็นต่าง!
นักกฎหมายมหาชนเตือน “ข้อบังคับพรรครวมไทยสร้างชาติ” ฉบับแก้ไขใหม่ เปิดช่องใช้บีบ สส.เห็นต่าง-ฝักใฝ่พรรคอื่น ขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมือง ชี้ กกต.มีอำนาจเพิกถอน หากพบการแก้ไขไม่ชอบด้วยกฎหมาย
'สมชาย' เตือน! ซ้ำรอย 'ยิ่งลักษณ์' เสียพระวิหาร ยุค 'อุ๊งอิ๊ง'อาจเสีย 'ตาเมือนธม' ยัน 'เกาะกูด'
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความว่า ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พศ2556 นายกยิ่งลักษณ์ เสียพระวิหาร รอบ2 พศ25
ดร.ณัฏฐ์ ชี้สว. เดินหน้าตั้ง กกต.-ปปช.-ตุลาการศาลรธน. ไม่ขัดรธน.แม้ถูกร้องคดีฮั้ว
นักกฎหมายมหาชน ยืนยัน การตั้ง กมธ.กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบ กกต.-ป.ป.ช.-ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปโดยชอบ แม้สมาชิกวุฒิสภาถูกร้อง คดีล็อบบี้ สว.ชี้ชัดอำนาจหน้าที่ยังสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยเด็ดขาดจากศาลฎีกา