อุทยานวิทยาศาสตร์ ลุยขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาคยกระดับคุณภาพชีวิต จ้างงานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารจากเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ เขตภาคเหนือได้ถึง 1,600 อัตรา

              เมื่อวันที่ 31 มี.ค.น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (FOODFABR: Innovative Food Fabrication Pilot Plant) เพื่อตรวจเยี่ยมผลงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(RD Facility Boost Up) โดยมี ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหารนำเยี่ยมชม โดยมีผลงานเด่นที่ภาคเอกชนได้เข้ามาใช้ห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์และโรงงานต้นแบบเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์และผลิตเพื่อทดสอบตลาด อาทิ ผลิตภัณฑ์น้ำอินผลัมสด โดยบริษัท เอ็น พี ลานนา อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง ที่ใช้บริการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำอินทผลัมจากกระบวนการรีสอร์ทจากโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร ผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มอบแห้งฟรีซดราย โดยบริษัทเนื้อทิพย์ จำกัด ใช้บริการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มอบแห้งฟรีซดรายจากโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร ผลิตภัณฑ์กระเทียมปรุงรส โดยบริษัททุ่งสุวรรณ ออร์แกนิคฟาร์ม จำกัด ใช้บริการผลิตกระเทียมปรุงรสจากโรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น

               น.ส.ทิพวัลย์ กล่าวว่า ผลงานเด่นที่ผู้ประกอบการนำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เป็นผลงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up) ภายใต้แผนงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยบางส่วนผ่านโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้วยการสนับสนุนภาคเอกชนให้มาใช้บริการห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์และโรงงานต้นแบบ ซึ่งให้บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์และผลิตเพื่อทดสอบตลาด โดยจะสนับสนุนไม่เกิน 80% ของค่าบริการ และไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาคเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนและภาครัฐ รวมถึงช่วยผสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานระดับผู้ให้ทุน ผู้สนับสนุนนโยบายเพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่อันจะนำไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน

จากนั้นเข้าเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ทั้งนี้ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โรงงานต้นแบบฯ สนับสนุนผู้ประกอบการอาหารให้มีโอกาสในการขยายขนาดธุรกิจ ทำให้เพิ่มอัตราการลงทุน การจ้างงานในพื้นที่พร้อมทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน โดยมีการให้บริการใน 4 สายการผลิต ได้แก่ 1. กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปประเภทปรับกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม ซอส แยม 2.กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปประเภทกรดต่ำ ที่มีค่า ph มากกว่า 4.6 และมีค่า Water Activity มากกว่า 0.85(ไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) เช่น นม เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท 3.กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปประเภทการทำแห้ง หรือลดความชื้นของอาหารด้วยการระเหยน้ำด้วยวิธีอบแห้ง เช่น ผลิตภัณฑ์ชงละลาย อย่างนมผง ชาผง กาแฟผง ผักผลไม้อบแห้งด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น แคปซูล สมุนไพรอัดเม็ด นมอัดเม็ด สารสกัด และ 4.กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น Premium quality product สารสกัด สารให้กลิ่นรส โดยไม่ใช้ความร้อน

ดร.ธัญญานุภาพ กล่าวว่า คาดว่าในระยะเวลา 5 ปี โรงงานต้นแบบฯ จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้ารับบริการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท โดยสามารถสร้างโอกาสให้แก้ผู้ประกอบการในการเข้าถึงเครื่องมือในกระบวนการแปรรูปอาหารที่ทันสมัยจากภาครัฐได้ไม่น้อยกว่า 700 รายพร้อมสร้างการจ้างงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารจากเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ เขตภาคเหนือได้ถึง 1,600 อัตรา

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.

“อว. For EV” เดินหน้า 23 หน่วยงาน MOU “ศุภมาส” ประกาศขับเคลื่อนประเทศสู่ Go Green

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV ของ 23 หน่วยงานสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็น EV HUB