‘21 ปี พอช. พลังองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’ ทิศทางการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนและสังคมแนวใหม่

การจัดงาน ‘21 ปี พอช.’

พอช./ จัดงานครบรอบ 21 ปี พอช. พลังองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’  ไมตรี  อินทุสุต  ประธานบอร์ด พอช.แนะทิศทางการทำงานข้างหน้า  ต้องปรับตัวเพื่อเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก  ไม่ทำงานคนเดียว  ใช้พื้นที่เป็นฐาน  ประชาชนเป็นหลัก  ต้องคิดใหม่  ทำใหม่และปฏิบัติชอบ  เผยผลงานสำคัญ พอช. สนับสนุนการพัฒนาแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศแล้วกว่า 1 แสนครัวเรือน  ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศกว่า 6 พันกองทุน  เงินกองทุนเกือบ 2 หมื่นล้านบาท

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  หรือ พอช.เป็นหน่วยงานรัฐรูปแบบใหม่  สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  เปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543  มีภารกิจสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรชุมชน  เครือข่ายองค์กรชุมชน  ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย  เช่น  โครงการบ้านมั่นคง  การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชุมชนเมืองและชนบท  ส่งเสริมอาชีพ  การจัดสวัสดิการชุมชน  สภาองค์กรชุมชน  ดูแลสิ่งแวดล้อม  การจัดการภัยพิบัติ  ฯลฯ

วันนี้ (26 ตุลาคม) ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา 7.00-13.00 น.  มีการจัดงานเนื่องในโอกาสที่สถาบันฯ หรือ พอช.ดำเนินงานครบรอบ 21 ปี  โดยในช่วงเช้ามีพิธีทางศาสนา  หลังจากนั้นมีปาฐกถาและเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลการดำเนินงานของ พอช.ในช่วงที่ผ่านมา  และทิศทางการทำงานในช่วงต่อไป  โดยมีผู้บริหาร  เจ้าหน้าที่ พอช. และผู้นำชุมชนเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน  โดยมีการถ่ายทอดผ่านระบบ Zoom ไปยังสำนักงานภาคและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ 

นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผอ.พอช. (ที่ 2) จากขวา

นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า  ประเด็นสำคัญในการจัดงานวันนี้คือการใช้วันที่ 26 ตุลาคมมาพบปะเจอกันเพื่อทบทวนและสรุปบทเรียนการทำงานในช่วงที่ผ่านมา  พอช.นับแต่วันก่อตั้งจนถึงวันนี้เป็นองค์กรของประชาชน  และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง  นอกจากนี้การทำงานของ พอช.ที่ผ่านมาได้ร่วมกับทุกภาคส่วน  ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความรักความสามัคคี  เกิดการทำงานอย่างสร้างสรรค์ 

การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 21 ปีของ พอชเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งอยู่บนความถูกต้อง  ความดีงาม  ความสร้างสรรค์  และนับต่อจากนี้ไปบทบาทในการพัฒนาประเทศ  พอช.จะให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการรวมพลังขององค์กรชุมชนที่จะขับเคลื่อนและเผชิญกับปัญหาต่างๆ ต่อไปอย่างท้าทาย”    ผอ.พอช.กล่าว

นายไมตรี  อินทุสุตร  ประธานกรรมการสถาบันฯ  กล่าว ในหัวข้อ เปิดโลกทัศน์ พอช.กับการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนและสังคมแนวใหม่’  มีประเด็นสำคัญ  คือ  ปัจจุบันในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและดิจิทัลที่รวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่  ไม่มีขอบเขต 

นายไมตรี  อินทุสุตร

ดังนั้นบทบาทและงานของ พอช.ในช่วงต่อไปจะต้องมีพลวัตร  มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยมีโจทย์สำคัญ 4 ด้าน  คือ 1.เราคือใคร  ต้องตอบโจทย์ตรงนี้ให้ได้  ต้องมองตัวเอง  วิเคราะห์ตัวเอง  ทั้ง  พอช.  แกนนำขบวนชุมชน  ธรรมชาติของคนและองค์กร  เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนวิธีคิด   วิธีการทำงานให้เข้ากับยุคสมัย 

2.เราจะไม่ทำงานคนเดียว  ต้องแสวงหาภาคีมาร่วมงาน  ใช้ ทฤษฎีเบาแรง ไม่ทำงานคนเดียว  เช่น  ร่วมกับ ‘Depa’ (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาส่งเสริมชุมชน.ในด้านต่างๆ   3.ใช้พื้นที่เป็นฐาน  ประชาชนเป็นหลัก  นำไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ  เช่น  เรื่องสวัสดิการชุมชน  ธุรกิจชุมชน  และ 4.ต้องคิดใหม่  ทำใหม่  และปฏิบัติชอบ

ขอสรุปตอนท้ายว่า 1.คนจะทำงานดีที่สุดจะต้องรู้ว่า  หน่วยงานอื่นกำลังทำอะไร  เราจะไปเชื่อมเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันได้อย่างไร  2.เราจะเดินไม่เร็ว  แต่เราจะไม่เดินถอยหลัง   3.เราต้องอาศัยและเรียนรู้ความเป็นราชการ แต่จิตวิญญานอยู่ที่ประชาชน   เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง  และ 4.ใครเอาชนะใจภาคประชาชนไม่ได้  จะไม่ได้รับชัยชนะทั้งกระดาน  ประธานกรรมการ พอช.กล่าวย้ำ

จากนั้นมีเวทีแลกเปลี่ยน  หัวข้อ เหลียวหลัง  แลหน้า  ทิศทาง พอช.กับการพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนและสังคมแนวใหม่

นางสาวสมสุข  บุญญะบัญชา  ที่ปรึกษากรรมการสถาบันฯ  กล่าวว่า  ความพิเศษของ พอช. 10 ประการ  คือ  1.เป็นองค์กรที่ให้ชาวบ้าน  ชุมชนเป็นหลัก  เป็นเจ้าของ    เป็นผู้จัดการ  และบริหารงานพัฒนาเอง  2.การเปลี่ยนแปลงจากฐานราก  จากพื้นที่  ท้องถิ่น  3.ร่วมมือกับทุกฝ่าย  หลายฝ่ายช่วยกัน  4.สนับสนุน  เชื่อมโยงชุมชน  ครอบคลุมทั้งพื้นที่  ทุกชุมชนมีโอกาสเข้าถึง พอช.ได้ 

สมสุข  บุญญะบัญชา

5.ใช้การเงินที่ยืดหยุ่นเป็นเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาโดยชุมชน  งบจากรัฐบาล  สนับสนุนโครงการของชุมชน  ปรับโครงสร้าง   สร้างทุน  ที่อยู่อาศัย  ถิ่นฐาน  เศรษฐกิจ  สังคม  สวัสดิการ  ทรัพยากรธรรมชาติ  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  6.พอช. มีกองทุนพัฒนาเองกว่า 6,000 ล้านบาท   ใช้กองทุนเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเงินและสินเชื่อชุมชน 

7.เป็นองค์กรของรัฐและประชาชน  8.กลไกมีส่วนร่วมทุกระดับ  ตั้งแต่คณะกรรมการ  อนุกรรมการภาค  คณะทำงาน  9.จัดตั้งก่อเกิดจากกลุ่มคนและกระบวนผู้เกี่ยวข้องที่มีอุดมการณ์  มีความรู้  ประสบการณ์  ความตั้งใจ  10.เชื่อมโยงความรู้กับต่างประเทศ 

ส่วนทิศทางข้างหน้านั้น  นางสาวสมสุขเสนอความเห็นตอนหนึ่งว่า  โลกวันนี้เปลี่ยนไปเร็วมาก  ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว  เราจะต้องพัฒนาความรู้ใหม่ๆ  พัฒนาตัวเอง  พัฒนาระบบการบริหารจัดการ  และเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลง  ต้องมีพลวัตรใหม่  เพราะโลกสมัยใหม่เป็นโลกของประชาชน  เป็นประชาธิปไตย   และต้องขยับเขยื้อนระบบเก่า  วิธีคิดเก่าให้เขยื้อนไปกับเรา 

นายวิเชียร  ทาหล้า  อาสาสมัครศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน จ.เชียงใหม่  กล่าวว่า  การทำงานกับคนรุ่นใหม่ถือว่ามีความสำคัญ  ต้องมีการส่งต่อการทำงานกับคนรุ่นใหม่  เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา  เพราะสุดท้ายผลประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชน  และอยากให้ พอช.ก้าวเดินต่อไปอย่างเข้มแข็งมั่นคง  ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนได้อย่างสมดุล

นางนุชจรี  พันธ์โสม  ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลาง  กรุงเทพฯ  กล่าวว่า  ทิศทางข้างหน้าของ พอช. ควรจะต้อง 1.การพัฒนาเจ้าหน้าที่  โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ของ พอช.  ควรเติมเต็มหลักคิด  อุดมการณ์  เพื่อให้เข้าใจกระบวนการการของชาวบ้าน  2.ทำอย่างไรจะสร้างขบวนการความเข้มแข้งของสภาองค์กรชุมชนเพื่อให้เกิดความเชื่อถือของภาคีภายนอก  ทั้งเรื่องข้อมูลและการบริหารจัดการ และ 3.อยากให้ พอช.มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงภาคประชาชนให้เข้าไปเป็นกลไกการแก้ไขปัญหา   เชื่อมโยงกับภาครัฐตั้งแต่ระดับจังหวัด ภาค  จนถึงระดับนโยบาย  เพื่อสร้างคน  สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชาวบ้าน

นายสมบูรณ์  คำแหง  ผู้แทนภาคประชาสังคมรักจังสตูล  กล่าวว่า  หัวใจหลักของ พอช.และพี่น้องขบวนองค์กรชุมชนคือการทำให้เกิดพื้นที่กลางในระดับตำบล  และต้องสร้างกลไกให้เกิดความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น  ยกระดับให้สภาองค์กรชุมชนตำบลที่มีอยู่กว่า 7,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ  ไปช่วยกันขับเคลื่อนงานให้เชื่อมโยงกับท้องถิ่น 

เช่น  สภาองค์กรชุมชนในแต่ละท้องถิ่นสามารถทำข้อเสนอให้ผู้สมัคร อบต.มีข้อตกลงว่า  หากได้รับเลือกตั้งแล้วจะทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนแบบไหน  อย่างไร  เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนสามารถทำงานเชื่อมโยงกับภาคีต่างๆ ได้  มีแผนพัฒนาจากท้องถิ่น  สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพ   ถือเป็นการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง”  นายสมบูรณ์กล่าว

นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าว  ยังมีการมอบรางวัล  ‘1 คนดี  มีจริยธรรม 1 หน่วยงาน  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ประจำปี 2564’  โดย พอช. มีผู้รับรางวัลได้แก่  นางสาวรัชนก  ชัยลังกา ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค (บริหารสำนักงาน) สำนักงานปฏิบัติการภาคเหนือ 

มอบรางวัล

รวมทั้งยังมีผู้ได้รับรางวัลชมเชย  คือ 1.นางอภิพร ศรีบัณฑิต เจ้าหน้าที่การเงินอาวุโส สำนักงานปฏิบัติการภาคเหนือ  2.นางชัชฎาพร  อำนวยสุวรรณ  หัวหน้างานประสานนโยบาย  สำนักผู้อานวยการ  3. นางอุษา เลิศเจริญพบ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. สำนักผู้อำนวยการ  4. นางสาวพิมพรศรี  ไชยนารี เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลอาวุโส  สำนักทรัพยากรบุคคล  และ 5. นางสาวจิรวดี  ศรีสวัสดิ์  เจ้าหน้าที่การเงินอาวุโส  สำนักงานปฏิบัติการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่าน  พอช.ได้สนับสนุนการพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาต่างๆ  เช่น  การพัฒนาที่อยู่อาศัยประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ  (บ้านมั่นคง  บ้านพอเพียงชนบท  ชุมชนริมคลองลาดพร้าว-เปรมประชากร  คนไร้บ้าน  ฯลฯ)  รวมทั้งสิ้น 116,854  ครัวเรือน

การพัฒนาที่อยู่อาศัยในคลองลาดพร้าวจากชุมชนแออัดริมคลองเป็นชุมชนใหม่ที่สวยงาม

การส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เทศบาล   ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศจำนวน 6,069 กองทุน  มีสมาชิกรวมกว่า 6.42 ล้านคน   มีการจัดสวัสดิการในมิติต่างๆ กว่า 20 ประเภท   ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย  ช่วยเหลือสมาชิกไปแล้กว่า  2.4  ล้านราย   เป็นเงินกว่า 2,500  ล้านบาท   ปัจจุบันมีเงินกองทุนรวม 19,804 ล้านบาทเศษ

การส่งเสริมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งถือเป็นสภาของประชาชน  เป็นรากฐานของการสร้างประชาธิปไตยฐานรากของชุมชนท้องถิ่น  ปัจจุบันมีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศแล้ว 7,795 แห่ง  มีสมาชิกรวมทั่วประเทศกว่า 250,000 คน   องค์กรสมาชิกที่ร่วมจัดตั้งสภาฯ จำนวนกว่า 156,000  องค์กร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเงื่อนไข 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ รับเดือนละ 3 พัน

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยเงื่อนไขคุณสมบัติ 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3 พันบาท เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.

'กลุ่มผู้สูงวัย' จี้ 'วราวุธ' เพิ่มเบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้าในปีนี้ จ่อบุกทำเนียบฯหลังสงกรานต์

กลุ่มเครือข่ายผู้สูงอายุประมาณ 35 คน นำโดย น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้เดินทางไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตั้งแต่เวลา 10.00 น. โดยได้มีการชูป้ายเรียกร้องให้รัฐเห็นความสำคัญของการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ

'ผู้สูงวัย' นัดรวมตัวบุก พม. ทวงถามเบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้า

ศูนย์ประสานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เพื่อทวงถามถึงมติเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้า 1,000 บาท/คน/เดือน ที่ประกาศไปเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567

รมว.พม. ยันไม่ส่งตัวเด็กต่างด้าว 19 คนกลับประเทศต้นทาง

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกระแสข่าวโจมตีกระทรวง พม.ในขณะนี้ เกี่ยวกับกรณีการส่งตัวเด็กต่างด้าว 19 คน ที่อยู่ในบ้านพักเด็ก

19 เด็กไร้สัญชาติ ถูกออกเรียนกลางคันอีก รัฐส่งกลับพม่าหลังไปเรียนอยู่ลพบุรี

19 เด็กไร้สัญชาติถูกออกเรียนกลางคันอีก พม.จับมือตม.เตรียมส่งกลับฝั่งพม่าหลังพบไปเรียนอยู่ลพบุรี มูลนิธิบ้านครูน้ำยื่น กสม.สอบด่วนเผยละเมิดสิทธิเด็กซึ่งหนีภัยการสู้รบ-ยาเสพติด

‘วราวุธ’ รมว.พม. เยี่ยมชุมชนริมคลองเปรมประชากร ด้าน ‘พอช.’ เดินหน้าพัฒนาที่อยู่อาศัย-คุณภาพชีวิตแล้ว 17ชุมชน 1,699 ครัวเรือน

คลองเปรมประชากร/ ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ รมว.พม.ลงพื้นที่เยี่ยมชาวชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดยลงเรือบริเวณท่าเรือชั่วคราวสะพานสูง เขตบางซื่อ