ไทยเฮมพ์ เวลเนสจับมือมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ เชื่อมโยงภารกิจเพื่อ “เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม”

เพื่อการเข้าสู่ธุรกิจยั่งยืนทุกมิติส่งเสริมการปลูกกัญชงแลกป่า ผลักดันอุตสาหกรรมสารแคนาบินอยด์ (CBD) โตควบคู่กับการสร้างสมดุล

โดย ดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเฮมพ์เวลเนส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ร่วมกับมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ โดยมี นายดิเรก ตนพยอม ประธานกรรมการมูลนิธิฯ พลเอกสุทัศน์ จารุมณี ประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ ดร.เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชศาสตร์ และกรรมการมูลนิธิฯ จัดงาน “แถลงผลงาน 3 ปี มูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์”  ในวันเสาร์ ที่ 23 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมประดู่แดง 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด ได้ดำเนินภารกิจเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สังคมและการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม โดย นายแพทย์เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ประธานบริษัทฯ ร่วมมือกับทีมแพทย์ และนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ด้านพืชศาสตร์ นิเวศวิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมอาหาร ผนึกกำลังกับมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานภาครัฐ วิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร ในภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำสายพันธุ์กัญชงพื้นเมืองดั้งเดิม (native strains) จำนวน 83 สายพันธุ์ ที่ทำการรวบรวม วิจัยและพัฒนามานานกว่า 20 ปี ภายใต้สภาพภูมิประเทศและอากาศที่เอื้ออำนวยของไทย มีคุณสมบัติพิเศษที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี สามารถพัฒนาเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indicator หรือ GI) เช่น ดิน อุณหภูมิ แสง และอากาศ ของเขตพื้นที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทย ตลอดจนความชำนาญที่ได้จากภูมิปัญญาในการเพาะปลูกกัญชงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 5,000 ปี

ดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด กล่าวว่า “สายพันธุ์กัญชงที่กำลังวิจัยและพัฒนาอยู่นี้ นอกจากคุณลักษณะที่ดี คือมีสารพฤกษเคมีในกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) สูงแล้ว บริษัทฯ ยังมุ่งคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีเทอร์ปีน (terpenes) ซึ่งเป็นสารให้กลิ่นสร้างความสดชื่น ช่วยผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเวชสำอาง ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องดื่ม รวมถึงสายพันธุ์ที่ให้เมล็ดมีคุณภาพที่ดี อุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่เรียกว่า โอเมก้า 3,6,9 โดยน้ำมันเมล็ดกัญชงมีสัดส่วนใกล้เคียงกับความต้องการของร่างกายคือประมาณ 1:3:1 ที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งอื่นๆ ซึ่งดีต่อสมองและช่วยควบคุมความดันป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ ถือเป็นโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อที่ทำให้เสียชีวิตในอัตราใกล้เคียงกับโรคมะเร็ง

ส่วนการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชงที่มีสาร CBD สูง และสาร THC ต่ำ สู่การนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เวชสำอาง เครื่องสำอาง อาหารเสริม ยารักษาโรค และใช้ในการปศุสัตว์ โดยกำหนดจะสัดส่วนของสารแคนนาบินอยด์หรือโปรไฟล์ (cannabinoid profiles) ของสารให้พอดี นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่นๆ จากกัญชงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งบริษัทฯ มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในภาคเหนือที่กำลังทำงานวิจัยเรื่องนี้อยู่ ทั้งนี้กัญชงจำนวน 83 สายพันธุ์ที่นำมาทดสอบ ได้รวบรวมและอนุรักษ์ไว้โดยมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์

กัญชง มีศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมั่นคง บริษัทฯ มุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างรายได้มากกว่า 600,000 บาท/คน/ปี โดยการปลูกกัญชง 1 ไร่ หลังจากหักต้นทุนแล้วเกษตรกรจะมีกำไรไม่ต่ำกว่า ไร่ละ 100,000 บาท หรือเทียบเท่ากับการปลูกข้าวโพด 100 ไร่   สามารถลดปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าและลดปัญหาการเผาป่าซึ่งสร้างมลพิษจากหมอกควันไฟ อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงสอดคล้องกับหมุดหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goals, SDGs)  ทุกมิติ”

สำหรับผู้ที่สนใจสารสกัดซีบีดี (CBD) และผลิตภัณฑ์จากกัญชง  หรือต้องการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงร่วมกับบริษัทฯ สามารถติดต่อกับทางบริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด CONTACT  0619262466 Line at : @thaihempwellness  www.thaihempwellness.com 

เพิ่มเพื่อน