เมื่อวันที่ 30 พ.ค.รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะโฆษก อว. เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.) สำนักงานปลัด อว.ดำเนินโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศและโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ผ่านแผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในโครงการพัฒนาสูตรอาหารต้นทุนต่ำและการแปรรูปไก่งวงสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวงในเขตตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ที่มี ผศ.ดร.สุทิศา เข็มผะกา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส.เป็นผู้ดูแลโครงการ
รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่งวงครบุรี เป็นกลุ่มที่มีการเลี้ยงไก่งวงเพื่อจำหน่าย มีสมาชิก 22 ครัวเรือน และมีแนวโน้มที่จะมีการเลี้ยงไก่งวงมากขึ้นเพื่อเป็นอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนาหรือปลูกมันสำปะหลัง โดยกลุ่มหลักจะอยู่ที่ หมู่ 8 ตำบลแชะ อำเภอครบุรี มีกิจกรรมการเลี้ยงไก่งวง 2 รูปแบบ คือ เลี้ยงไก่งวงพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกจำหน่าย และเลี้ยงไก่งวงขุน อย่างไรก็ตามเกษตรกรกลุ่มนี้ยังมีปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ที่ทำให้เกษตรกรขาดศักยภาพในการผลิตไก่งวงให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานของตลาด ถึงแม้ว่าความต้องการเนื้อไก่งวงขุนของตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรต้องการแก้ไขในเบื้องต้น คือ 1.ต้องการอาหารไก่งวงคุณภาพดีแต่ต้นทุนต่ำ 2.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่งวงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดความเสี่ยงในบางช่วงที่ไม่สามารถจำหน่ายไก่งวงขุนได้ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการพัฒนาสูตรอาหารให้กับเกษตรกรใน 2 รูปแบบ คือ อาหารผสมสำเร็จรูปสำหรับไก่งวงระยะขุน อายุ 12–16 สัปดาห์ ที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 21 % และหัวอาหารเข้มข้นที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 40% สำหรับไก่งวงขุนอายุ 16–24 สัปดาห์ โดยหัวอาหารเข้มข้นสามารถนำไปผสมต่อกับวัตถุดิบแหล่งพลังงานที่เกษตรกรสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ข้าวโพด รำละเอียด มันเส้น เป็นต้น
“ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ดำเนินการผลิตหัวอาหารเข้มข้นจำหน่ายให้กับกลุ่มสมาชิก ทำให้ต้นทุนค่าอาหารลดลง 15-20% ค่าอาหารเหลือ 13-14 บาท/กก. จากเดิม 16 – 18 บาท/กก. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 40-45% หรือ รายได้เพิ่มขึ้น 50-100 บาท /กิโลกรัม ในส่วนของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่งวงจ๊อได้มีการพัฒนาสูตรขึ้น ผ่านการประเมินคุณภาพในห้องปฏิบัติการและทดสอบ sensory test จากผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่งวงทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น 60 % โดยไก่งวง ราคา 520 บาท สามารถขายได้ 800 บาท” รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทคฟันด์ เผยในรอบ 6 ปี สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมได้กว่า 1,937 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ เทคฟันด์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)
“เอนก” ปลื้มครบรอบ 4 ปี กระทรวง อว. การอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ของไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า วันที่ 2 พ.ค.นี้ กระทรวง อว. ตั้งมาครบ 4 ปี
ราชกิจจาฯ แพร่กฎกระทรวง ห้ามไล่ออกนักเรียน-นักศึกษาที่ตั้งครรภ์
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดําเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
อว.ยิ้มปีงบประมาณ 2567 กวาดงบกว่า 1.46 แสนล้าน!
อว.ปลื้ม ครม.อนุมัติงบประมาณปี 2567 รวมกว่า 1.46 แสนล้านบาท ฟุ้งพร้อมตอบโจทย์ประเทศทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจี เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนากำลังคน
กระทรวง อว. นำมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและทุกหน่วยงานในสังกัด 200 แห่ง กว่า 20,000 คน พร้อมใจกันถวายพระพรชัยมงคล “พระองค์ภา”
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. เวลา 08.00 น. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล