ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ไปตรวจราชการในเขตภาคใต้ ได้เห็นถึงศักยภาพของเกษตรกรซึ่งเป็น Young Smart Farmer ในเขตตำบลถ้ำน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ที่ได้ทำกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกร มีการปลูกผักเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้และมีตลาดรองรับ น่าจะสามารถเป็นต้นแบบขยายผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูกผักรายอื่นในจังหวัดได้ จึงเกิดแนวคิดที่จะให้มีการพัฒนาต่อยอดจังหวัดพังงาเป็นครัวอันดามัน และได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกผักของจังหวัดพังงาผ่านระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ผักจังหวัดพังงาขึ้น และรายงานความก้าวหน้าให้ทราบเป็นระยะนั้น สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาจึงได้มีการประชุมชี้แจงแนวทางการจำหน่ายพืชผักในห้างสรรพสินค้าขึ้น โดยนำตัวอย่างของกลุ่มแปลงใหญ่ผักบางท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาเป็นโมเดลการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่การผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักจังหวัดพังงา พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดข้อกำหนดของพืชผักที่จะสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าได้ โดยจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และโรงคัดบรรจุผักจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP ด้วย นอกจากนี้ยังมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าและรับฟังปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานจากเกษตรกรสมาชิกและผู้รับซื้อผลผลิต ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปให้เกษตรกรสมาชิกทดลองปรับเปลี่ยนมาปลูกชนิดผักที่เป็นที่ต้องการของตลาดและมีการรับซื้อในปริมาณมาก เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ตะไคร้ พริกทุกชนิด บวบ ผักชี ขึ้นฉ่าย ชะอม และกวางตุ้งไต้หวัน โดยเฉพาะชะอมที่มีราคาจำหน่ายสูงถึงกิโลกรัมละประมาณ 90 บาทตลอดทั้งปี
ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาได้ประชุมจัดทำแผนขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับ Young Smart Farmer และดำเนินการประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเกษตรกรที่มีความประสงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ผัก จังหวัดพังงา ในพื้นที่ 4 อำเภอต้นแบบ ได้แก่ อำเภอเมืองพังงา อำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานตามข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ทั้งนี้เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้ปลูกผักในการรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการ และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ฝั่งอันดามันอีกด้วย
“สำหรับความก้าวหน้าในด้านการบริหารจัดการแปลงใหญ่ผักจังหวัดพังงา นำร่องในพื้นที่ 4 อำเภอ ขณะนี้มีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมแล้วจำนวน 112 ราย แยกเป็น อำเภอเมือง จำนวน 20 ราย อำเภอทับปุด จำนวน 30 ราย อำเภอตะกั่วป่า 32 ราย อำเภอท้ายเหมือง จำนวน 32 ราย โดยในส่วนของการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปนั้น สำนักเกษตรอำเภอแต่ละแห่งจะมีการสำรวจจัดทำข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่ พร้อมสำรวจเกษตรกรที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการเกษตรแบบแปลงใหญ่ผักเพิ่มเติม โดยให้แกนนำเกษตรกร และแกนนำเกษตรกร (YSF) ในแต่ละพื้นที่ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ผัก เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลต่อไป จากนั้นจะจัดให้มีการประชุมขับเคลื่อนโครงการฯ เดือนละ 1 ครั้ง ให้สำนักเกษตรอำเภอรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งประสานติดต่อจุดรับซื้อผลผลิต และเชื่อมโยงการซื้อขายผลผลิตให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงาให้ใช้สถานที่ในการสร้างโรงบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐาน GMP โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาได้ประสานเตรียมการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรเข้ามาดำเนินการแล้ว พร้อมทั้งให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้ามาร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมดังกล่าวด้วย” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า การดำเนินงานในปี 2565 เน้นไปที่การพัฒนาด้านลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรสู่ Smart Farmer และความเข้มแข็งของเกษตรกลุ่ม/องค์กรวิสาหกิจชุมชน การทำตลาดและการเชื่อมโยง และต่อยอด ส่งผลดีต่อเกษตรกร/คน พื้นที่ สินค้า ภาครัฐ และอื่น ๆ โดยรายละเอียดเงื่อนไขในการจัดตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ ได้แก่ 1) เกษตรกรสมัครใจรวมกลุ่ม เข้าร่วมดำเนินการ โดยเป็นการรวมแปลงผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน โดยที่ที่ตั้งแปลงไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกันเป็นผืนเดียว แต่ควรอยู่ภายในชุมชนที่ใกล้เคียงกัน 2) ขนาดพื้นที่และจำนวนเกษตรกร ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร หรือพืชอื่น ๆ มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘รมว.นฤมล’เผย ยอดออมเงินทั่วประเทศ ในโครงการเสริมสร้างวินัยทางการเงินภาคครัวเรือนฯ มีกว่า 21 ล้านบาท เตรียมสานต่อโครงการช่วยวางรากฐานให้เกษตรกร
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปิดโครงการเสริมสร้างวินัยทางการเงินภาคครัวเรือนขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (กิจกรรมเปิดกระปุกออมสิน) โดยมี
กระทรวงเกษตรฯ เปิดรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรฯ นำโดยนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้
'นฤมล' เปิดงาน 'วันเกษตรแห่งชาติ' เชียงใหม่ ชวนคนไทย 'ชม-ชิม-ช็อป' สินค้าเกษตร
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีรับถ้วยรางวัลพระราชทานการประกวดพืชและ
รมว.เกษตรฯ พบ USABC สหรัฐอเมริกา มุ่งผลักดันเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ สู่นานาชาติ
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หารือความร่วมมือภาคเกษตร ร่วมกับนายไบรอัน แมคฟี
'นฤมล' ร่วมประชุม รมต.เกษตร ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ชู ความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการหารือกับ H.E. Mr. Zhang Zhili รัฐมนตรีช่วย
กษ.คิกออฟโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ
นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน Kick Off “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้