HATSAYA จากเบญจรงค์ สู่เครื่องประดับ Luxury ที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit มีบทบาทที่มุ่งให้ความสำคัญกับ สืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน และคำนึงถึงการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการผลิตชิ้นงาน แต่ยังคงไว้ซึ่งความประณีตตามแบบแผนของงานหัตถกรรมไทย โดยส่งเสริมการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อรับมือกับเทรนด์ของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อย่างเช่น “คุณหัสยา ปรีชารัตน์” ที่แรกเริ่มสานต่องานเบญจรงค์ของครอบครัวด้วยใจรัก แต่ก็พบว่าการสร้างสรรค์ งานศิลปหัตถกรรมไทยท่ามกลางวิวัฒนาการโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การอยู่กับที่ด้วยรูปแบบดั้งเดิมอาจมีข้อจำกัดในด้านการตลาด ประกอบกับที่ผ่านมาได้มีโอกาสรับคัดเลือกเป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2560 ของ sacit  ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการผลิตชิ้นงานตลอดจนได้รับโอกาสในการเพิ่มช่องทางการขายในระดับประเทศ ทำให้ทุกวันนี้เกิดแนวคิดในการพัฒนาชิ้นงานให้สามารถตอบโจทย์เทรนด์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

นางสาวหัสยา ปรีชารัตน์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมไทย เจ้าของแบรนด์ HATSAYA เปิดเผยว่า เนื่องจากงานเบญจรงค์เป็นศิลปหัตถกรรมแขนงหนึ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งทางด้านรูปทรงและลวดลายต่างๆ ปัจจุบันได้พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปทรงและลวดลายให้เข้ากับยุคและสมัย เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงเอกลักษณ์ของงานเครื่องเบญจรงค์ให้ยังคงอยู่ แต่ด้วยความต้องการของผู้คนมีการปรับเปลี่ยนตลอด ส่งผลให้การสร้างสรรค์งานเบญจรงค์ต้องมีการปรับตัวอยู่สม่ำเสมอ ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยิ่งทำให้การจำหน่ายเบญจรงค์ในรูปแบบข้าวของเครื่องใช้ ของที่ระลึก มีการชะลอตัว จึงได้เกิดแนวคิดว่า “จะทำอย่างไรให้เบญจรงค์สามารถเข้าถึงผู้คนได้ จับต้องได้ง่ายขึ้น ดังเช่นที่เคยได้เข้ารับการเพิ่มศักยภาพทั้งความคิดสร้างสรรค์และด้านการตลาดจาก sacit ซึ่งมุ่งเน้นให้งานศิลปหัตถกรรมไทยสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน” จึงต่อยอดจากงานเบญจรงค์จากชิ้นใหญ่ ๆ ปรับเปลี่ยนมาเป็นเครื่องประดับที่มีดีไซน์ และมีความ Luxury ไม่ว่าจะเป็นต่างหู จี้สร้อยคอ เข็มกลัดตกแต่ง ฯลฯ โดยผลิตคอลเล็คชั่นให้มีความมินิมอล ตอบโจทย์ไลฟสไตล์ของผู้หญิงในหลายๆ รูปแบบ สามารถนำไปมิกซ์แอนด์แมทช์ได้อย่างลงตัว

การสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่ง นอกจากจะเป็นผลดีกับยอดจำหน่ายที่จะทำให้อาชีพจากงานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความมั่นคงแล้ว ยังช่วยให้การอนุรักษ์และสืบสานสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น และให้กลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างลงตัว

ความยากของ HATSAYA Gem คือ การสร้างสรรค์งานเบญจรงค์ที่ถอดรูปแบบกรรมวิธีการผลิตที่เป็นรูปแบบเฉพาะของเบญจรงค์ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น เคลือบ เผา ตลอดจนการเขียนลายน้ำทอง ซึ่งเป็นลายเฉพาะของ HATSAYA อาทิ ลายก้านต่อดอก ที่ปรับประยุกต์จากลายนาคกระดานซึ่งเป็นลายดั้งเดิม แต่มาเขียนในเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ นับว่าต้องอาศัยความประณีต เพื่อให้ทุกชิ้นงานสามารถบอกเล่าเรื่องราวของงานเบญจรงค์ได้อย่างอย่างมีคุณค่า ซึ่งปัจจุบันได้นำไปทดสอบตลาดในต่างประเทศ อาทิ ดูไบ บาเรน และ ญี่ปุ่น ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี และในอนาคตยังได้เตรียมต่อยอดเครื่องประดับเบญจรงค์ HATSAYA ให้เข้าถึงกลุ่มตลาดแบบ Unisex มากขึ้น เพื่อการขยายตลาดที่กว้างมากขึ้นอีกด้วย  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

sacit ชวนสัมผัสประสบการณ์ “เที่ยวฟินอินผ้าไทย” โดนใจคนรุ่นใหม่ วัยเกษียณ และต่างชาติ ดัน Soft Power ปล่อยพลังคราฟต์ไทยให้กระหึ่ม

sacit ชูศิลปหัตถกรรมไทยเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างแบรนด์ดิ้งให้ประเทศไทย ดึงเยาวชนคนรุ่นใหม่จนถึงวัยเกษียณอายุ

SACIT ผลักดันพัฒนาผลิตภัณฑ์งานคราฟท์เข้าสู่ตลาดโดยฝีมือคนไทยในงาน Maison & Objet ณ กรุงปารีส

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) จัดงานแถลงข่าวเปิดงานจัดแสดงนิทรรศการผลงานและกิจกรรมการทดสอบตลาดผู้ซื้อพบผู้ขายในโครงการพัมนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล

sacit ดัน Soft Power หัตถศิลป์ไทยในแดนปลาดิบ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมกว่า 30,000 ราย ได้เข้าถึงภูมิปัญญาของไทย ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023

sacit โชว์งานหัตถศิลป์ไทยในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เข้าชมงานกว่า 30,000 ราย เป็นการยกระดับงานหัตถศิลป์ไทย

sacit ปลื้มผลสำเร็จงาน “ฝ้ายทอใจ” คึกคัก สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 15 ล้านบาท ปลุกกระแสคนรักผ้าฝ้าย สืบสานงานศิลป์ต่อเนื่อง

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ปลื้มผลสำเร็จการจัดงาน “ฝ้ายทอใจ” ระหว่างวันที่ 7-13 สิงหาคม 2566 ณ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย อ.บางไทร

sacit โชว์พลัง Soft Power ในแดนปลาดิบ อวดโฉมหัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญาไทย ผสานความคิดสร้างสรรค์ ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit มีนโยบายเสริมสร้างภาพลักษณ์งานศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อขับเคลื่อน "เศรษฐกิจสร้างสรรค์"

sacit ประกาศศักดางานหัตถศิลป์ไทยในแดนปลาดิบ สร้างแบรนดิ้ง ดันคราฟต์ไทยลุยตลาดต่างประเทศ พร้อมดึง “เลดี้ปราง” ร่วมสร้าง Soft Power ผ้าไทย อวดสายตาชาวโลก ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit โชว์ศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2566