สสส.แนะเคล็ดลับ “กินเจ” ได้สารอาหารครบสร้างสุขภาพดีและห่างไกลโรค NCDs

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการกินเจอย่างไรให้มีสุขภาพดี ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ในช่วงเทศกาลอาหารเจที่กำลังจะมาถึงนี้ว่า การกินเจเป็นการปรับเปลี่ยนมิติการรับประทานอาหาร โดยงดบริโภคเนื้อสัตว์แล้วหันมากินอย่างอื่นแทน อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงการเลือกวัตถุดิบทดแทนด้วยเพื่อให้ได้ทั้งสุขภาพที่ดีและได้บุญตามความเชื่อที่ปฏิบัติกันมา ซึ่งส่วนใหญ่การกินเจหนีไม่พ้นใช้อาหารแปรรูปประเภทแป้ง ประเภทมีไขมันสูง ซึ่งมีส่วนผสมทั้งหวาน มัน เค็ม โดยเฉพาะโซเดียมหรือเกลือที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะช่วยให้รสชาติดี อาหารเก็บได้นานขึ้น ซึ่งถ้ามีโซเดียมเยอะไปเกินความพอดีของร่างกาย ส่งผลให้เสี่ยงโรคอ้วนและมีโรคต่างๆตามมา เช่น โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สสส.กำลังรณรงค์การลดการกินเค็มหรือลดปริมาณโซเดียม ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะคนไทยบริโภคเค็มเป็น 2 เท่าในปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเฉพาะอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปที่เก็บนานๆ มีเกลือเป็นส่วนผสมหลัก ไม่ว่าในน้ำซุป หรือเครื่องปรุงต่างๆ รวมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใน 1 ซองก็มีปริมาณโซเดียม 1000 มิลลิกรัม ซึ่งการควบคุมไม่ให้ทานโซเดียมมากเกินไปเราสามารถคุมได้ โดยควรเลือกอาหารที่ปรุงสด ปรุงเอง เพื่อให้รู้ปริมาณโซเดียมที่ใส่ลงไปในอาหาร เพราะร้านอาหารทั่วไปเราไม่สามารถรู้ได้ว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแต่ละคนย่อมรู้ตัวว่าเราควรกินรสชาติแบบไหนถึงพอ หรือใช้เทคนิคการเลือกกินอย่างไรเพื่อไม่ให้กินเค็มมากเกินไป เช่น กินเฉพาะเนื้อไม่กินน้ำซุป หรือ การไม่ปรุงเพิ่ม

ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า สสส.ได้รณรงค์การรับประทานอาหารให้เหมาะสมมาต่อเนื่องภายใต้ข้อมูลทางวิชาการ โดยใช้สูตร 2:1:1 ในอาหาร 1 จานแบ่งเป็น 4 ส่วน โดย 2 ส่วนเป็นผัก 1 ส่วนเป็นอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ในช่วงเทศกาลเจ อาจเปลี่ยนเป็นโปรตีนทดแทนจากธรรมชาติ และอีก 1 ส่วนเป็นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต วิธีนี้จะช่วยให้ได้ปริมาณอาหารที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องงด หวาน มัน เค็มทั้ง 3 มื้อ แต่บริหารการรับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อให้สมดุล และให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ สำหรับการเลือกบริโภคโปรตีนแปรรูปทดแทนเนื้อสัตว์ในช่วงเทศกาลเจนี้ ขอให้เลือกจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ถูกหลักอนามัย และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะส่วนใหญ่มีแป้งเป็นส่วนผสมซึ่งหากกินมากจะทำให้อ้วนได้ และควรเลือกกินผักหรือถั่วแทน เพราะผักสามารถกินได้ในปริมาณมาก

“โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมลภาวะทางอากาศ ถือเป็น 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดโรค NCDs โดยมีประเด็นเรื่องอาหารสำคัญที่สุด มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญกับโรค เบาหวาน ไขมัน ความดัน มะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตาย 3 ใน 4 ของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งคนไทยควรให้ความสำคัญและระมัดระวังพฤติกรรมความเสี่ยงของตัวเองด้วย” ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส.กล่าวย้ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง