เลขานุการ รมว.อว.หนุนอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง เป็น HUB เครื่องสำอางและสมุนไพร แข่งกับเกาหลีและญี่ปุ่น ชี้

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย น.ส.สุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการ อว. และ น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัด อว. ลงพื้นที่ติดความคืบหน้าการการดำเนินของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดยมี รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มฟล. กล่าวถึงการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ มฟล. ว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มฟล. เน้นในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องสำอางและสมุนไพร ซึ่งเป็นวาระหลักของประเทศไทย ทั้งการผลิตและการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การยอมรับที่แพร่หลาย จับต้องได้ และมีความเป็นสากล เครื่องสำอางที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มฟล.พัฒนาขึ้น เน้นในเรื่องของ BCG โดยมีคณะวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นแห่งแรกในทวีปเอเชียที่จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-โท-เอก ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาและผู้ประกอบการ โดยนำพืชพันธุ์ที่เป็นพื้นฐานหลักมาทำเป็นเครื่องสำอาง ซึ่งจะไม่ใช่สินค้าโอท็อปทั่วไปแต่เป็นสินค้าโอท็อปที่มีคุณภาพสูง ขณะที่เรื่องสมุนไพรก็ได้มีการคัดสรรสมุนไพรที่มีคุณภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนถึงการผลิต เพื่อนำมาทำเป็นยาและเครื่องสำอาง เพราะ มฟล. มุ่งมั่นที่จะเป็น HUB หรือศูนย์กลางด้านเครื่องสำอางที่มีคุณภาพแทนประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ตนคิดว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ทุกแห่งควรมีความโดดเด่นของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่ทำแค่ให้ มฟล. พัฒนา แต่จะทำให้ทุกมหาวิทยาลัยโตตามกัน

ด้าน ดร.ดนุช กล่าวว่า เห็นด้วยกับการที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มฟล. วิจัยและพัฒนาด้านเครื่องสำอางและสมุนไพร เพราะมีความโดดเด่น และนี่คือสิ่งที่ทำให้ตนคิดว่ามหาวิทยาลัยไม่มีวันตาย บทบาทของมหาวิทยาลัยก็คือการสร้างผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นทั้งนักศึกษา ทั้งบัณฑิต รวมทั้งผู้ที่ไม่จบปริญญาก็สามารถมาใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการที่อุทยานวิทยาศาสตร์ได้ ที่ผ่านมาตนลงพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จนถึงอุทยานวิทยาศาสตร์ มฟล. เพื่อต้องการสื่อสารและส่งข่าวไปให้ผู้ประกอบการและผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการได้เข้ามาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุทยานวิทยาศาสตร์ทุกแห่ง ทุกมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.