อ.อ.ป. จับมือ ม.มหิดล เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมต้นแบบการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้ ด้วย ‘โดรน’ เพื่อใช้เป็นแนวทางการสำรวจปริมาณคาร์บอนเครดิตในสวนป่าเศรษฐกิจ...

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาต้นแบบด้านนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ ในการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต โดยมี นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และรองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ร่วมลงนามในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นายสุกิจ จันทร์ทอง ผอ.อ.อ.ป. เปิดเผยว่า การร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาต้นแบบด้านนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ ในการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือ
ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนางานวิจัยต้นแบบการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ และพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัยเพื่อบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ตลอดจนเพื่อพัฒนาวิธีการประเมินคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ ตามระเบียบของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program, T-VER) และเพื่อพัฒนาต้นแบบโครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ของ อ.อ.ป.

โดย อ.อ.ป. - ม.มหิดล จะร่วมกันคัดเลือกพื้นที่สวนป่าและกำหนดแปลงสำรวจถาวร เพื่อสำรวจปริมาณคาร์บอนเครดิต โดยใช้อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับพื้นที่ นำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดจริงภาคสนาม เพื่อพิสูจน์ต้นแบบการสำรวจและประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตที่มีความถูกต้องแม่นยำ และสามารถนำไปขอรับรองและขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกต่อไปได้

ผอ.อ.อ.ป. กล่าวต่อไปอีกว่า ขอบเขตของความร่วมมือในครั้งนี้ อ.อ.ป. - ม.มหิดล จะร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานวิจัยต้นแบบการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ ในพื้นที่สวนป่าเป้าหมายของ อ.อ.ป. ให้สามารถเข้าร่วมโครงการ T-VER เพื่อผลักดันให้สวนป่าไม้เศรษฐกิจในประเทศไทยยกระดับพัฒนาคุณภาพของสวนป่าไม้เศรษฐกิจให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจนทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัยเพื่อการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของ อ.อ.ป. ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทันการณ์ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนำผลงานวิจัย หรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย และเชิงสาธารณะในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ จากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาต้นแบบด้านนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ ในการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต อ.อ.ป. - ม.มหิดล มุ่งหวังว่า การใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อสำรวจปริมาณคาร์บอนเครดิตนี้จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย และเชิงสาธารณะ รวมถึงร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงานให้มีองค์ความรู้และทักษะเพื่อบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของประเทศด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพต่อไป ผอ.อ.อ.ป. กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ.อ.ป. จัดอบรมถ่ายทอดข้อมูลการเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านCarbon Credit แก่คณะกรรมการของ อ.อ.ป.

วันนี้ (14 มีนาคม 2566) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการของ อ.อ.ป. ให้เกียรติเป็นประธานและรับฟังการอบรมถ่ายทอดข้อมูลการเพิ่มประสิทธิภาพด้าน Carbon credit ร่วมกับคณะกรรมการฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ เชิญของขวัญปีใหม่พระราชทาน มอบให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2566) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง

อ.อ.ป. MOU อสส. มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิชาการ - วิจัยสัตวแพทย์ ‘ช้างไทย’

องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ - องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทาง

อ.อ.ป. ขอขอบคุณ พญ.นลินี ไพบูลย์ ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนงานด้านอนุรักษ์และดูแลช้างไทย ที่ ส.คช.

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พร้อมด้วยนายสุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ ผู้อำนวยการสำนักสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) และ น.สพ.ดร.

ภาษา’ไทยยวน’ใกล้สูญ เร่งทำฐานข้อมูลดิจิทัล

ไทยมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวไทยยวนเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์ที่กระจายอยู่ในหลายภาค โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางมีชาวไทยยวนอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทยจำนวนมาก ซึ่งมีอัตลักษณ์ด้านภาษาและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาษาไทยยวนเสี่ยงสาบสูญไปพร้อม