สสส. สานพลัง ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ จ.นครปฐม ลุยขยายผลพื้นที่สุขภาวะ ชู ชุมชนบ้านเอื้ออาทรสาย 5 พัฒนานวัตกรรมเสริมกิจกรรมทางกาย-กองทุนเพื่อผู้สูงอายุยั่งยืน

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. สานพลัง สถาบันอาศรมศิลป์ การเคหะแห่งชาติ มูลนิธิสังคมสุขใจ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมบูรณาการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานส่งเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่” อ.พุทธมณฑล และ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 และ 5 สสส. และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมกว่า 100 คน เรียนรู้การพัฒนานวัตกรรมและกลไกพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย มุ่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ ทั้งรูปแบบชุมชนเมือง 6 แห่ง และชนบท 6 แห่ง พร้อมจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในชุมชน ลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“การกินมีส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาพดี สสส. บูรณาการระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ครบวงจร มียุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ 1. ขับเคลื่อนการบูรณาการภายใต้แนวคิด “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 2. สาน เสริมพลังภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ร่วมกันต่อยอดและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3. ยกระดับต้นแบบและขยายผลงานอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับพื้นที่ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนเกิดความรอบรู้และเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้โมเดลธุรกิจที่เกื้อกูลสังคม นำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างสมดุลภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นายประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ ประธานสาขาวิชาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ กล่าวว่า ชุมชนบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑลสาย 5 จ.นครปฐม เป็นต้นแบบพื้นที่สุขภาวะรูปแบบชุมชนเมือง ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางให้ทุกกลุ่มวัยได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีถึง 138 คน จากสมาชิกกว่า 2,000 คน มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน จัดกิจกรรม “รักเฒ่ากัน” ร้องเพลงเต้นรำ ส่งเสริมอาชีพ รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางร่วมกับสาธารณสุขท้องถิ่น และจิตอาสาในชุมชน วางแผนดูแลผู้ป่วยติดเตียง ธนาคารอุปกรณ์ลดการเกิดอุบัติเหตุ และร่วมกับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนานวัตกรรมเครื่องยกตัวผู้ป่วย และระบบ Tele-Health ดูแลผู้ป่วยทางไกล ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

นายอรุษ นวราช เลขาธิการมูลนิธิสังคมสุขใจ กล่าวว่า สวนสามพราน เป็นองค์กรต้นแบบในการขับเคลื่อนธุรกิจเกื้อกูลสังคมจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนบนฐานการค้าที่เป็นธรรม และนำ BCG Model มาประยุกต์ใช้ให้เกิดความยั่งยืน โดยพัฒนา “สามพรานโมเดล” ให้เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต สอดแทรกการใช้ระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ที่ครบวงจร ที่เริ่มจากการเตรียมการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ซื้อ/ขาย การจัดการขยะ มีการออกแบบให้สามารถเรียนรู้ใน 6 ด้าน 1. ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม 2. อาหารและการเกษตร 3. ดูแลสุขภาพองค์รวม 4. พลังงานทดแทนชีวเคมี 5. ท่องเที่ยวและเศรฐกิจสร้างสรรค์ 6. เศรษฐกิจหมุนเวียน ฟื้นฟูระบบอาหารให้สมดุลระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค เชื่อมช่องทางการตลาด รวมทั้งพัฒนาให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย 193 คน ให้ได้การรับรองผลผลิตแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐาน PGS และเตรียมยกระดับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ