รมว.สุชาติ ปลื้ม!! ไทย - กัมพูชา บรรลุข้อตกลงการจ้างแรงงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสองประเทศ

วันที่ 21 เมษายน 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการประชุมระดับวิชาการกัมพูชา - ไทย ว่าตามที่ได้รับรายงานจากนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย เข้าร่วมการประชุมร่วมกับ ดร.เส็ง ศักดา (H.E.Seng Sakda) อธิบดีกรมแรงงาน กระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ที่โรงแรมอังกอร์พาราไดซ์ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 19 - 21 เมษายน 2566 ซึ่งภายหลังการประชุมดังกล่าวทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ การออกเอกสารประจำตัวให้แก่แรงงานกัมพูชาในประเทศไทย แรงงานกัมพูชาสามารถเดินทางไปทำเอกสารเดินทาง (TD) ณ ศูนย์ One Stop Services ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ พระตะบอง และบันเตียเมียนเจย กรณีแรงงานกัมพูชาไม่มีเอกสารเดินทาง สามารถขอเอกสารข้ามแดนได้ที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำราชอาณาจักรไทย เพื่อเดินทางไปกัมพูชาเพื่อขอบัตรแรงงานกัมพูชาในต่างแดน (Overseas Cambodia Worker Card : OCWC) และเอกสารเดินทาง (TD) ณ ศูนย์ One Stop Services ได้ ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะแจ้งข้อมูลของแรงงานกัมพูชาที่จำเป็นต้องจัดทำเอกสาร เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลเพื่อพิจารณาออกเอกสารเดินทาง (TD) ฉบับใหม่

นายสุชาติ ยังกล่าวถึงรายงานผลการประชุมวิชาการต่อว่า สำหรับการปรับปรุงแก้ไขบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชานั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้การตรวจสุขภาพในประเทศต้นทางต้องกำหนดโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศผู้รับ โดยแรงงานจะต้องตรวจสุขภาพจากประเทศต้นทางก่อนที่แรงงานจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย สำหรับการแก้ไขบทเฉพาะกาล ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ประเทศผู้รับสามารถปรับขั้นตอนการบริหารจัดการแรงงานโดยเน้นที่การคุ้มครองสิทธิ และประโยชน์ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดที่กระทบต่อนโยบายและประสิทธิภาพในการจัดส่งแรงงานในส่วนของการจัดตั้งศูนย์สนับสนุนแรงงานกัมพูชา (Cambodian Migrant Workers Supporting Center) ในประเทศไทย ฝ่ายไทยรับทราบและจะนำประเด็นดังกล่าวไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนการเสนอให้ใช้ระบบการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการส่งและรับแรงงานกัมพูชาตาม MOU ผ่านช่องทางออนไลน์นั้น ฝ่ายไทยเห็นด้วยในหลักการในการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนี้ ในประเด็นอื่น ๆ ฝ่ายกัมพูชาจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้แรงงานกัมพูชาสามารถเข้ามาทำงานในฤดูเก็บเกี่ยวในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร

ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ผลจากการประชุมระดับวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงานจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจ้างแรงงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนต่าง ๆ แก่แรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยได้เข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกต้อง ได้รับการดูแลคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานสากล อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ให้สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง/ผู้ประกอบการในประเทศไทย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และที่สำคัญจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โลกเดือด !!! “พิพัฒน์” ห่วงใย “ผู้ใช้แรงงาน” แนะ 6 ข้อ ช่วงอากาศร้อนจัด 40-43 องศา

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ

ผู้ใช้แรงงานเฮ! 1 พ.ค.2567 วันแรงงาน "พิพัฒน์" ย้ำชัดประกาศแน่ ทำเร็วขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)