เทคฟันด์ เผยในรอบ 6 ปี สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมได้กว่า 1,937 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ เทคฟันด์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า เทคฟันด์ ดำเนินงาน ภายใต้วิสัยทัศน์ “แหล่งเงินทุนและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ” ให้ทุนสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2559-2565 ไปแล้ว 670 โครงการ รวมมูลค่าการสนับสนุนกว่า 653 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศไทยได้อย่างมากมาย  โดยจากการประเมินผลการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ระหว่างปี 2561-2565 เทคฟันด์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมได้กว่า 1,937 ล้านบาท โดยพื้นที่ภาคเหนือ มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ที่ 200 กว่าล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของภาครัฐในการลงทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ และมีการเติบโตให้เห็นอย่างก้าวกระโดด

ดร.ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เทคฟันด์ สนับสนุนผู้ประกอบการภายใต้ 3 โครงการใหญ่ด้วยกัน คือ 1.โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น หรือ TED Youth Startup กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต นักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 5 ปี มีการสนับสนุนทุนใน 2 โปรแกรม หลัก คือ 1. Ideation Incentive Program (Idea) มูลค่า 100,000 บาท ตั้งเป้าการสนับสนุนอยู่ที่ 200 โครงการ และ 2. โปรแกรม Proof of Concept (POC) สนับสนุนทุนตั้งแต่ 750,000-1,500,000 บาท เป็นรูปแบบทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน เพื่อให้ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและนำไปพิสูจน์ความเป็นไปได้ด้านการตลาด 2.โครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling Up) สนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถขับเคลื่อนและนำผลงานนวัตกรรมไปสู่การขยายผล เพื่อสร้างผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศได้ โดยให้การสนับสนุนสูงสุดอยู่ที่ 2,000,000 บาทต่อโครงการ  ตั้งเป้าการสนับสนุนอยู่ที่จำนวน  40  โครงการ และ 3.โครงการพัฒนาภาคเอกชนเพื่อการยกระดับระบบนิเวศการสร้างผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน (Startups for Startups)  ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการสนับสนุนของโครงการอื่นๆ ที่เน้นการพัฒนา ผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ผู้บริโภคในวงกว้าง (B2C : Business to Consumer) เพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยโครงการ Startups for Startups จะให้การสนับสนุนสูงสุดอยู่ที่ 2,000,000 บาท ต่อโครงการ ตั้งเป้าการสนับสนุนอยู่ที่จำนวน 5 โครงการ รวมทั้ง 3 โครงการ จะสนับสนุนทั้งสิ้น 245 โครงการ มูลค่า 290 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.