พอช. จัดอบรมนักสื่อสารชุมชนครั้งที่ 2 ‘การเล่าเรื่องผ่านคลิป’

พอช. /  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ พอช.จัดอบรม สร้างนักสื่อสารชุมชนปี 2566’  ครั้งที่ 2  “การเล่าเรื่องผ่านคลิป” ซือ  สื่อ  ซื่อ  ซื้อ  สือ โดยกองบรรณาธิการ The  Isaan  Record  นำโดยโกวิท  โพธิสาร  บรรณาธิการ  มาแนะนำกลวิธีการเล่าเรื่อง  การเล่าเรื่องผ่านงานเขียน  การถ่ายภาพและตัดต่อ VDO. ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมอีก 4 ครั้ง  โดยวิทยากรชื่อดังในสื่อออนไลน์  เช่น  ‘บังฮาซัน’ นักขายมือทอง ผู้โด่งดังจากการไลฟ์ขายอาหารทะเล  สร้างยอดขายหลายร้อยล้านบาท  จะมาแนะวิธีการขายสินค้าชุมชน “ขายยังไงให้ปัง”   ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมได้ทางเพจ codinews                                   

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’  นอกจากจะมีภารกิจเสริมสร้างชุมชนและองค์กรชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้ว  พอช.ยังมีภารกิจในการส่งเสริมให้ชุมชนทั่วประเทศนำเรื่องราวดีๆ ของชุมชนออกมาเผยแพร่  เพื่อเป็นต้นแบบ  หรือนำรูปธรรมการพัฒนาชุมชนที่โดดเด่นออกมาสื่อสารให้สังคมได้รับรู้  รวมทั้งใช้เป็นช่องทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน  และการจำหน่ายสินค้าจากชุมชนได้ด้วย

โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมนี้  พอช.จัดอบรม ‘นักสื่อสารชุมชน  ประจำปี 2566’  เพื่อสร้างนักสื่อสารชุมชนจากชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ  รวมทั้งผู้ที่สนใจทั่วไป  และเจ้าหน้าที่ พอช.  มีเป้าหมายผู้เข้าอบรมประมาณ 500  คน  โดยจะจัดอบรมทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์   มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตสื่อต่างๆ  มาให้ความรู้ 

โดยจัดอบรมครั้งที่ 1  เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา  โดย ‘ปรัชญา  ปิ่นแก้ว’  ผู้กำกับภาพยนต์ไทยชื่อดังจากเรื่ององค์บากและต้มยำกุ้งที่ออกฉายทั่วโลก  ทำรายได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศหลายร้อยล้านบาท  บรรยายเรื่อง ‘เรื่องเล่าจากชุมชน’  โดยถ่ายทอดมุมมอง  ประสบการณ์  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักสื่อสารชุมชน  คิดค้น  มองหาเรื่องราวดีๆ จากชุมชนท้องถิ่นของตนเองออกมาเผยแพร่

ส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมอบอรมนักสื่อสารชุมชนครั้งที่ 2 ที่ พอช. ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ

อบรมครั้งที่ 2  “การเล่าเรื่องผ่านคลิป” ซือ  สื่อ  ซื่อ  ซื้อ  สือ

โดยในวันนี้ (15 มิถุนายน) ระหว่างเวลา  9.00-16.00 น. ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  เป็นการจัดอบรมครั้งที่ 2  “การเล่าเรื่องผ่านคลิป” ซือ  สื่อ  ซื่อ  ซื้อ  สือ โดยกองบรรณาธิการ The  Isaan  Record  นำโดยโกวิท  โพธิสาร  บรรณาธิการ  อาชวิชญ์  อินทร์หา และกชกร  บัวล้ำล้ำ  มาแนะนำกลวิธีการเล่าเรื่อง  การเล่าเรื่องผ่านงานเขียน  การถ่ายภาพและตัดต่อ VDO. กิจกรรม “Vlog แบบไทบ้าน  หลังบ้านเราก็เล่าได้”  ฯลฯ  โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทางระบบออนไลน์ Zoom  ประมาณ 80  คน  และในห้องประชุมสถาบันฯ  ประมาณ 60  คน 

นางสาวสุธิดา  หัวหน้าสำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  พอช.

นางสาวสุทธิดา  บัวสุขเกษม  หัวหน้าสำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนานักสื่อสารชุมชนว่า  พอช.มีเป้าหมายการอบรมครั้งนี้ คือ  1.การพัฒนาคน  โดยการพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชนและชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของประเด็นงานในพื้นที่รูปธรรมให้เป็น นักสื่อสารชุมชน  2.การพัฒนาเนื้อหา  โดยใช้กระบวนการส่งเสริมให้ขบวนองค์กรชุมชน  นักสื่อสารชุมชน จัดทำข่าวสาร บทความ และคลิป VDO.งานพัฒนา การจัดการตนเองของชุมชนในด้านต่างๆ เพื่อนำมาสื่อสารกับสังคมและสาธารณะ 

และ 3.การพัฒนาช่องทางการสื่อสาร   โดยสร้าง เครือข่ายนักสื่อสารชุมชน และช่องทาง’ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นำเสนอข้อมูลข่าวสารพื้นที่รูปธรรมงานพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง

นายโกวิท  บรรณาธิการ  The  Isaan  Record  

นายโกวิท  โพธิสาร  บรรณาธิการ  The  Isaan  Record   และทีมงานวิทยากร   ให้คำแนะนำผู้เข้าร่วมอบรมเรื่องการเล่าเรื่องว่า   ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องเล่าได้หมด  ตั้งแต่ตื่นนอน ประสบการณ์ส่วนตัว สุข ทุกข์ เศร้า มีวิธีการเล่าเรื่องเล่าอย่างไร ? และเล่าอย่างไรให้น่าสนใจ ?

ตัวอย่างเรื่องเล่าที่สนใจ  เช่น  ประวัติศาสตร์  ศิลปะ ชุมชน วิทยาศาสตร์ เรื่องลี้ลับ เรื่องตลก เรื่องสุข เรื่องเศร้า เรื่องประทับใจ เรื่องราวส่วนตัว ประสบการณ์  ขึ้นอยู่กับว่าเราสนใจในเรื่องไหนเป็นพิเศษ

นอกจากนี้  วิทยากรได้ยกตัวอย่างการเขียน 3 รูปแบบที่น่าสนใจ  ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ได้  คือ 1.การเขียนข่าว 2. บทสัมภาษณ์   และ 3. ไทม์ไลน์

บรรยากาศการอบรม

การเขียนข่าว  มีโครงสร้าง  คือ 1.หัวข่าว  2.โปรยข่าว  3.เนื้อข่าว  หรือการเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  โดยใช้หลัก 5W1H  คือ  1.Who  ใคร  2.What  ทำอะไร  3.          Where ที่ไหน  4.When เมื่อไหร่   5.Why ทำไม  และ 1 How  คือ  ทำอย่างไร  โดยนำเนื้อข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาบอกเล่า  มีรายละเอียดจากการให้สัมภาษณ์ของคนที่เกี่ยวข้อง

การสัมภาษณ์  มีโครงสร้างหลัก  คือ  1.ชื่อเรื่อง   2.พาดหัว 3.การเกริ่นนำ  4.การสัมภาษณ์หรือนำคำถาม-คำตอบมาเรียบเรียง  หากมีเนื้อหาซ้ำหรือยาวเกินไป อาจตัดทิ้งบางส่วน  ความยาวประมาณ 10 หน้าพิมพ์ขนาด A 4

นอกจากนี้วิทยากรได้แนะนำการสัมภาษณ์ให้เกิดความมั่นใจ  คือ 1.ผู้สัมภาษณ์ต้องทำการบ้าน  ศึกษาข้อมูลผู้ที่จะสัมภาษณ์มาล่วงหน้า  2.ทำโครงสร้างคำถามล่วงหน้า 3.ใช้เครื่องบันทึกเสียง  หรือตั้งกล้องสัมภาษณ์เพื่อบันทึกข้อมูลได้ถูกต้อง

การเขียนแบบไทม์ไลน์  หรือเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์  สถานการณ์ที่เกิดขึ้น   โดยการเกริ่นนำเพื่อเข้าสู่เนื้อหาก่อน   จากนั้นจึงใช้หลักการ 5W1H  ใคร  ทำไร  ที่ไหน  เมื่อไหร่  ทำไม  และอย่างไร ?  นำมาเล่าเรื่อง  ฯลฯ

แนะนำเทคนิคการถ่ายภาพ  จัดแสง

บังฮาซัน’ นักขายมือทองมาด้วย  แนะเทคนิค ‘ขายสินค้าชุมชนยังไงให้ปัง’

นอกจากการอบรมนักสื่อสารชุมชนในวันนี้แล้ว พอช.ยังจัดอบรมหลักสูตรต่างๆ อีก 4 ครั้ง  โดยผู้ผลิตสื่อออนไลน์ที่มีชื่อเสียง  เช่น   นายศิลา  พีรวัฑฒึก หรือ ‘พ่อมดติ๊กต๊อก’  จะมาแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพนิ่งและทำคลิป VDO ให้ปังและโดนใจผู้ชม  โดยเฉพาะผู้ที่อยากจะมีผลงานบน Tiktok 

นายสุวัฒน์  คงแป้น  อดีตหัวหน้างานสื่อสารและประชาสัมพันธ์ พอช. ผู้มีผลงานการเขียนข่าว  บทความ  สารคดีงานพัฒนาชุมชนมานานกว่า 20 ปี  นอกจากนี้ยังมีผลงานการเขียนนวนิยายเชิงสร้างสรรค์ในนามปากา ‘ชลลดา ปะการัง’ เช่น  เด็กชายชาวเล  ลุงเย็นคนสามัญ  ฯลฯ  จะมาแนะนำหลักการเขียนเพื่อสื่อสารงานพัฒนา

นอกจากนี้ยังมี ‘บังฮาซัน’  นักขายออนไลน์  ผู้ไลฟ์สดขายอาหารทะเลสร้างยอดขายระดับหลายร้อยล้านบาท  จะมาเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่นักสื่อสารชุมชนและผู้ที่สนใจผ่านระบบซูมในวันที่  6 กรกฎาคมนี้  เพื่อแนะวิธีการ “ขายยังไงให้สุดปัง”  เพื่อให้สินค้าจากชุมชนเป็นที่รู้จัก สร้างรายได้ให้ชุมชน

บังฮาซัน  

ทั้งนี้เนื้อหาจากการฝึกอบรมในหัวข้อต่างๆ เหล่านี้   พอช.จะนำจัดทำเป็นคลิป VDO.  หรือสรุปเป็นชุดความรู้เพื่อให้นักสื่อสารชุมชนและผู้ที่สนใจได้ศึกษาทบทวน  และนำไปปฏิบัติจริง  เพื่อสื่อสารเรื่องราวดีๆ ของชุมชนท้องถิ่นให้ปรากฏในโลกออนไลน์ต่อไป

**********

เรื่องและภาพ :  สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’

พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ