กยท. ลงนามร่วม ซี ซี ไอซี และ SMEs ASEAN เสริมเขี้ยวเล็บส่งออกยางไทยไปจีน

การยางแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังร่วม ซี ซี ไอซี และ SMEs ASEAN หนุนส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางไปจีน-อาเซียน ทำทันที เดินหน้า 4 โครงการ พัฒนามาตรฐานยางไทยสร้างแบรนด์ยางไทยให้อยู่ในใจลูกค้าต่างชาติ

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากที่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) บริษัท ซี ซี ไอซี (ประเทศไทย) จำกัด (C.C.I.C) และสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน (SMEs ASEAN) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านธุรกิจยางพาราและไม้ยางพารา ณ การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14  มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีเป้าหมายผนึกกำลังผสานเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนามาตรฐานและการตรวจรับรองสินค้า มุ่งสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มโอกาสทางธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราไทยในตลาดจีน และประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน  ภายใต้ความร่วมมือนี้ กยท. จะผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง มุ่งพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราได้รับการรับรอง สามารถส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อก้าวสู่บทบาทผู้ส่งออกยางรายใหม่  ที่สร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราและไม้ยางพาราทั้งระบบอย่างยั่งยืนและมั่นคง

“การสนับสนุนผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการ ถือเป็นภารกิจสำคัญของ กยท. และการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า การตรวจรับรองก่อนกระบวนการผลิต  กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ และกระบวนการส่งออก อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ ให้กับผู้นำเข้าและผู้บริโภค และการที่สร้างโอกาสในตลาดจีน ถือเป็นเรื่องที่สร้างประโยชน์อย่างมาก ด้วยปัจจุบันประเทศจีนถือเป็นตลาดหลักของไทย มีสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราไปจำหน่ายถึงร้อยละ 60 ขณะไม้ยางพารามีการส่งออกถึงร้อยละ 80-90 การร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นการสร้างโอกาสที่ดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทาง ซี ซี ไอซี และ SMEs ASEAN พร้อมสนับสนุน”นายณกรณ์ กล่าว

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ขณะนี้ ทั้ง 3 ฝ่ายพร้อมเดินหน้าพัฒนา 4 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการเพื่อรับรองระบบการจัดการ เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาทางธุรกิจให้เป็นไปตามกฎและข้อกำหนดของการรับรองระบบการจัดการในประเทศจีน โครงการเพื่อการรับรองกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์จากยางพาราและไม้ยางพารา เพื่อเพิ่มความนิยมและความเชื่อมั่นของผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยางพาราจากประเทศไทย ผ่านการใช้ “ฉลาก QR ร่วม” ซึ่งเป็นการนำสัญลักษณ์ของ 3 องค์กรมาใช้ประกอบในสัญลักษณ์ เพื่อสื่อถึงการบูรณาการร่วมกันให้เป็นหนึ่งเดียว และเป็นเอกภาพ มีเป้าหมายเดียวกัน ที่จะพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยางพารา สร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศผู้ใช้ยางในประชาคมโลก โครงการเพื่อตรวจสอบสินค้าก่อนการส่งออก เพื่อรับประกันความปลอดภัยในการเดินทางและยืนยันคุณภาพสินค้า และโครงการเพื่อการตรวจสอบซัพพลายเออร์ โดยตรวจสอบและช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในประเทศไทย ให้ได้รับใบรับรองซัพพลายเออร์อย่างถูกต้อง

“ดังนั้น ในเดือนกรกฎาคม 2566 ที่จะถึงนี้ กยท. ได้กำหนดจัดฝึกอบรมเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ที่มีเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรวมถึงไม้ยางพาราไปยังประเทศจีน และประเทศในอาเซียน เพื่อให้เข้าใจถึงกฎและข้อกำหนดของการรับรองระบบการจัดการในประเทศจีน พร้อมทั้งส่งเสริมระบบมาตรฐาน การตรวจสอบรับรอง การลงทุนทางการค้า และพัฒนาระบบตลาดได้อย่างถูกต้อง ลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการส่งออก”นายณกรณ์ กล่าว

ด้าน Mr.Liu Hua Lyu กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับ
ซี ซี ไอซี เป็นรัฐวิสาหกิจของจีน ที่ดำเนินธุรกิจในการให้บริการตรวจสอบ ประเมิน และให้การรับรองสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ยางรวมถึงไม้ยางพารา ที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศจีนและระดับสากล ซึ่งพร้อมที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในจีน ให้ผลิตภัณฑ์และแบรนด์สินค้าจากประเทศไทยมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น โดยจะสนับสนุน กยท. ในการให้ความรู้และฝึกอบรมการรับรองระบบการจัดการในประเทศจีน อีกทั้งเตรียมสร้างแพลทฟอร์มรวมถึงจัดทำแผนรองรับการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยางพาราและไม้ยางพารา และอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารในกระบวนการและกฎระเบียบของการรับรองและตรวจสอบซัพพลายเออร์ และช่วย กยท. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาลจีนเพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรฐานของยางพารา และให้บริการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกโดยออกเอกสารรายงานการตรวจสอบที่สร้างความเชื่อมั่นระหว่างคู่ค้า เพิ่มการรับรู้ผลิตภัณฑ์ยางไทยในตลาดและกลุ่มผู้นำเข้าของจีนต่อไป” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) กล่าว

Mr.Jacky Saechen นายกสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน กล่าวอีกว่า ทางสมาคมจะดำเนินการประสานงานในเบื้องต้น โดยเลือกกลุ่มตลาดเป้าหมายในประเทศจีน  แนะนำผลิตภัณฑ์ยางพาราให้กับผู้ประกอบกิจการที่มีความสนใจ ตรวจสอบพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบกิจการในจีนที่มีความสนใจซื้อสินค้าไทย และส่งเสริมระบบการค้าขายระหว่างประเทศ รวมถึงพัฒนาโมเดลระบบตลาดให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกให้เป็นที่ยอมรับในสากล และขยายขอบเขตทางธุรกิจทั้งในประเทศจีน และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

กยท.ตั้งเป้ากำหนดราคายางโลก เร่งตรวจสอบย้อนกลับ3.5ล้านตัน ใช้EUDRเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพ/ขยายตลาด

กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก