นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ
งานสัมมนา เรื่อง “เปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง”
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ มีการจัดสัมมนา เรื่อง “เปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง” โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วม เช่น สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ผู้บริหารโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สต. จากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาค และภาคเอกชนจากบริษัทมีวนา จำกัด
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ กล่าวในประเด็น “ตัวอย่างพื้นที่ต้นแบบ การจัดการพื้นที่เข้มแข็ง ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน” มีใจความสำคัญว่า พอช. เป็นองค์กรที่สนับสนุนการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคมในการสร้างความเข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชน โดยมีเป้าหมาย “ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง เต็มพื้นที่ประเทศไทย” โดย พอช. มีการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งจนเกิดพื้นที่ต้นแบบและรูปธรรมการดำเนินงาน ดังนี้
1.กองทุนสวัสดิการชุมชน หรือ ‘กองทุนวันละบาท’ โดยให้สมาชิกสมทบเงินเข้ากองทุนวันละ 1 บาท แล้วนำเงินนั้นมาช่วยเหลือสมาชิกในยามจำเป็น เช่น เกิด แก่ เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุนการศึกษาเด็ก ฯลฯ ตามระเบียบและเงื่อนไขที่แต่ละกองทุนกำหนดเอาไว้ โดยรัฐบาลจะสมทบเงินเข้ากองทุนผ่าน พอช. รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนก็สามารถสมทบเงินเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชนได้ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกและผู้ด้อยโอกาสได้ทั่วถึง
ปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในระดับตำบล/เทศบาลทั่วประเทศ จำนวน 5,915 กองทุน สมาชิกกองทุนรวม 6,486,679 ราย เงินกองทุนรวมกันจำนวน 20,413 ล้านบาท (ประมาณ 10,300 ล้านบาทมาจากการสมทบของชาวบ้าน)
กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านส้อง จ.สุราษฎร์ธานี มอบสิ่งของช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบความเดือดร้อน
ตัวอย่างเช่น การพัฒนากองทุนเงินออมสู่กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน โดยตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการให้แก่สมาชิกในชุมชน โดยเฉพาะการจัดสรรสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิกเพื่อเข้าถึงสวัสดิการสุขภาพคนในตำบล โดยกองทุนมีค่าเดินทางให้แก่สมาชิกที่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่เมื่อจำนวนสมาชิกในตำบลมีมากขึ้น มีค่าเดินทางรวมประมาณปีละ 2 ล้านบาท กองทุนจึงปรับเปลี่ยนระบบ โดยนำโรงพยาบาลมาสู่ชุมชน เพื่อให้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้เปราะบาง ได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้หลายกองทุนได้ทำเรื่องอาหารปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์
2.การขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นพื้นที่กลางในการสร้างการอยู่ร่วมกัน ปัจจุบันมีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล/เทศบาล ประมาณ 7,801 แห่งทั่วประเทศ เกือบเต็มพื้นที่ อปท. โดยให้องค์กรชุมชนที่จดแจ้งจัดตั้งมาร่วมเติมเต็มข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชน เช่น บ้านพอเพียง พอช.สนับสนุนงบประมาณซ่อมแซมบ้านเรือนที่ยากจนหลังละ 20,000 บาท แต่บางหลังใช้งบไป 100,000 บาท ส่วนที่เกินมาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน หรือถ้าซ่อมไม่ถึง 20,000 บาทก็สามารถเฉลี่ยสุขให้บ้านหลังอื่นๆ ได้ และชุมชนได้จัดทำเป็นแผนตำบล และเสนอเป็นแผนบูรณาการในระดับจังหวัด ปัจจุบันพี่น้องเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) รวมทั้งมีการขับเคลื่อนความเข้มแข็งผ่านโครงการบ้านมั่นคงทั้งเมืองและชนบท โดยใช้เรื่องบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ดูแลช่วยเหลือกัน
3.การพัฒนาเศรษฐกิจฐากราก เช่น เรื่องสัมมาชีพชุมชน โดยมีโจทย์สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้พี่น้องมีระบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่สามารถดูแลตัวเองอย่างเข้มแข็ง มีระบบตลาดรองรับสู่มาตรฐานอย่างยั่งยืน
4.การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชน โดยมีพื้นที่นำร่องใน 15 จังหวัด ทั้งป่าชุมชน ป่าชายเลน ฯลฯ ทำอย่างไรจะทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกัน โดยบูรณาการร่วมกับสำนักจัดการป่าไม้ และภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง พอช.และหน่วยงานต่างๆ ในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้
5.การขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ผ่านรูปแบบการเรียนการสอน Active Learning โดยได้ทำความร่วมมือกับ อปท. 60 พื้นที่ เป้าหมายเพื่อให้เกิดการสร้างเด็กให้มีระเบียบวินัย กระจายทุกภาคของประเทศไทย และสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้กระจายไปทั่ว ควบคู่ไปกับการสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
“แต่อาจมีคำถามว่าเกี่ยวอะไรกับ พอช. ? โดยการขับเคลื่อนเรื่องนี้ เราเน้นให้เกิดสร้างคน หรือสร้างผู้นำฟันน้ำนม เพราะถ้าเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีระเบียบ มีจิตสาธารณะ เป็นผู้นำในการพัฒนาพื้นที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ผอ.พอช.อธิบาย
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาศูนย์เด็ก โดยมีศูนย์ต้นแบบที่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
6.การขับเคลื่อนแผนบูรณาการจังหวัด มีตัวอย่างอีกหลายพื้นที่ที่ชุมชนเข้มแข็งลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เช่น ‘พังงาเมืองแห่งความสุข’, ‘รักจังสตูล’ , ‘อำนาจเจริญเมืองธรรมเกษตร’ , ‘ชัยนาทการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งจังหวัด ใช้บ้านเป็นเครื่องมือ” ฯลฯ ที่เชื่อมโยงมิติในการดูแลความเป็นอยู่ผู้คนในชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มคนเปราะบาง รวมทั้งการส่งต่อการช่วยเหลือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีมิติเรื่องการศึกษา มิติสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
7.การขับเคลื่อนการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดย พอช. ร่วมมือในการสร้างความเข้าใจการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อนำเงินกองทุนในพื้นที่มาใช้เพื่อการพัฒนาสุขภาพอนามัย สร้างองค์ความรู้ขององค์กรชุมชน และถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกลไกระดับพื้นที่ ทั้งในระดับเขต ท้องที่ ท้องถิ่น และจังหวัด ในการพัฒนาให้พี่น้องมีส่วนร่วมทำแผน ให้งบประมาณให้พี่น้องมาดูแลสุขภาพชุมชน โดยใช้ รพ.สต. เป็นกลไกในการพัฒนาไปด้วยกัน 5 ภาค โดยแต่ละภาคทำความเข้าใจ และจะขยายผลทุกท้องถิ่นที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งภายใต้กองทุน สปสช.
“ในปี 2567 พอช.จะเปิดมิติในการบริบาลและส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีนักบริบาลท้องถิ่น โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี ใช้มิติในการทำงานเชิงวิจัย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการทำงาน ผลักดันให้เกิดช่องทางงบประมาณต่างๆ สนับสนุนพื้นที่ โดยมีกลไกส่งเสริมสุขภาพตำบล โดย พอช.จะร่วมหนุนเสริมเครื่องมือ และจัดระบบสนับสนุนให้พี่น้องขบวนองค์กรชุมชนได้ร้อยเรียงผ่านแผนบูรณาการจังหวัดนำร่อง 24 จังหวัด เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะมีการทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายและภาคีทุกระดับต่อไป โดย พอช.จะขยับขับเคลื่อนร่วมกันทั้งพื้นที่ในระดับกลุ่มจังหวัด ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัด ประชาสังคม สถาบันวิชาการ ภาคี หน่วยงานทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาของชุมชนและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และประเทศไปด้วยกัน” นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช. กล่าวในตอนท้าย
นายกฤษดา ผอ.พอช.
************
รายงานโดย พิชยาภรณ์ หาญวณิชานนท์ เจ้าหน้าที่บริหารงานข้อมูลอาวุโส สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’
พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด
เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”
คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย
บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ