กยท. ร่วมไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากเหตุโกดังพลุระเบิด พร้อม เร่งเบิกจ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือจากประกันอุบัติเหตุกลุ่มชาวสวนยาง

กยท. ร่วมไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากเหตการณ์โกดังพลุระเบิด เร่งรัดดำเนินการขอเบิกเงินค่าสินไหมทดแทน – ค่าปลงศพจากประกันอุบัติเหตุกลุ่มที่จัดทำให้ชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. พร้อมมอบเงินจากกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49 (5) ช่วยเหลือทายาทฯ

เมื่อวันที่ 31 ก.ค.66 ณ วัดชลเฉลิมเขต อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดย นายวีระ นุ้ยผอม  ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาสุไหงโก-ลก เป็นตัวแทนมอบพวงหรีด เพื่อร่วมไว้อาลัยและแสดงความเสียใจแก่ครอบครัวของ นายสมศักดิ์ - นางอุทัย ชูโชติ  เกษตรกรชาวสวนยางที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์โกดังพลุระเบิด เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา  โดยพูดคุยให้กำลังใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมชี้แจงกับทายาทของผู้เสียชีวิตให้ทราบถึงขั้นตอนเพื่อขอรับเงินจากบริษัทประกัน ซึ่ง กยท. ได้จัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ไว้ ผู้รับผลประโยชน์สามารถขอรับเงินค่าสินไหมทดแทน จำนวน  500,000 บาท  ค่าปลงศพเพื่อใช้จ่ายในการจัดงาน จำนวน 30,000 บาท และ กยท. จะมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ทายาท กรณีเกษตรกรชาวสวนยางเสียชีวิตอีกรายละ 3,000 บาท โดยเป็นเงินจากกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49 (5) ที่เป็นสวัสดิการของชาวสวนยางด้วย ทั้งนี้ กยท. พร้อมอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือแก่ทายาทเกษตรกรชาวสวนยางอย่างเต็มที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว

“กยท. มีระบบจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกร ตาม พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ครอบคลุมทั้งสวนยางพาราและตัวเกษตรกรชาวสวนยางเองด้วย ถือเป็นหน่วยงานเดียวในประเทศที่ดูแลทั้งสวนยางและชาวสวนยาง ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และได้รับความเดือดร้อนหรือประสบเหตุ สามารถตรวจสอบสิทธิ์ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม ทางเว็บไซต์การยางแห่งประเทศไทย www.raot.co.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กยท. ในพื้นที่ทั่วประเทศ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

กยท.ตั้งเป้ากำหนดราคายางโลก เร่งตรวจสอบย้อนกลับ3.5ล้านตัน ใช้EUDRเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพ/ขยายตลาด

กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก