eTree ขึ้นทะเบียนแหล่งปลูกไม้ถูกกฎหมาย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย : ปัจจุบันกรมป่าไม้ปรับกลยุทธ์การอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าโดยใช้แพลตฟอร์ม eTree สนับสนุนปลูกป่าเศรษฐกิจและการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย พร้อมช่วยเกษตรกรจัดการป่าปลูกได้ครบวงจร  สนับสนุนให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืน ตั้งเป้าเพิ่มการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม่น้อยกว่า 40% ในปี 2580

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายมิติ ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าให้มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี 2580 ขณะที่สถานการณ์ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ที่ร้อยละ 31.68 เท่านั้น การเพิ่มพื้นที่ป่าอีกร้อยละ 9 หรือ 27 ล้านไร่ จึงเป็นความท้าทายของหน่วยงานรัฐว่าจะวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในการรักษาพื้นที่ป่าจากการบุกรุกทำลาย ทั้งการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการนำพื้นที่ป่าไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม และแม้จะมีความพยายามในการเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นกรมป่าไม้จึงได้นำระบบ eTree แพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้ เพื่อช่วยในการลงทะเบียนต้นไม้และบริหารจัดการไม้ ส่งเสริมให้เกิดป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน พร้อมยังช่วยปลดล็อกให้เกิดการปลูกและการตัดจำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย มีใบอนุญาตรับรองถูกต้อง ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าให้ถึงเป้าหมาย

กรมป่าไม้และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์ม eTree ขึ้น เพื่อรองรับการลงทะเบียนการปลูกไม้เศรษฐกิจสำหรับประชาชนที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่าได้ ระบบ eTree จะอำนวยความสะดวกเกษตรกร ทั้งในด้านบริหารจัดการไม้ในที่ดินและจัดทำหนังสือสำแดงความถูกต้องด้วยตนเอง การตัดไม้ที่ขึ้นในที่ดินและนำขนย้ายไปจำหน่าย โดยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับซื้อขายเป็นรายต้น/ท่อน และแบบน้ำหนัก/ปริมาตร จากข้อมูลต้นไม้ที่ได้ลงทะเบียนไว้ นอกจากนี้ ระบบดังกล่าว ยังได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่า หากจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะสามารถลดความเสี่ยงของไม้และสินค้าไม้ผิดกฎหมายที่จะเข้ามาหมุนเวียนในตลาด และสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดได้ เมื่อไม้และสินค้าไม้ในตลาดนั้นมาจากกระบวนการปลูกและทำไม้ที่ถูกกฎหมาย ตลาดสินค้าไม้จะขยายตัวและเกิดการค้าไม้ที่ยั่งยืนขึ้นในประเทศไทย

“การตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิด จะทำให้ผู้ซื้อและผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากไม้ที่ปลูกและขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานของการค้าไม้ เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงจากการค้าโดยไม่ต้องลักลอบตัดไม้ ผู้ประกอบการสามารถทำการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการค้าไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละหลายหมื่นล้านบาทและยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการปลูกป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน บรรลุเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าได้ตามเป้าหมายไม่น้อยกว่า 40% และก่อให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืนขึ้นในประเทศไทย” อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าว

นายจงสถิตย์ อังวิทยาธร ผู้ประสานงานโครงการค้าไม้ยั่งยืนของประเทศไทยใน UN-REDD กล่าวว่า eTree หรือระบบการรับรองการขึ้นทะเบียนไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในแนวทางส่งเสริมให้เกิดการปลูกป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าและลดการตัดไม้ทำลายป่าอย่างได้ผล ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมายอย่างถูกต้องและยั่งยืน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ โครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (UN-REDD) จึงร่วมกับกรมป่าไม้ผลักดันให้ eTree เป็นแพลตฟอร์มหลักในการขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกในชุมชน ในป่าชุมชน และในป่าเศรษฐกิจ

นายบุญสุธีย์ จีระวงค์พานิช ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ กรมป่าไม้ กล่าวว่า เกษตรกรสามารถขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกได้ 2 ระบบ คือ ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าผ่านระบบสวนป่าออนไลน์ และ ขึ้นทะเบียนระบบ eTree เพื่อสำแดงการเพาะปลูกไม้อย่างถูกต้องบนที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งแพลตฟอร์ม eTree จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูล การทำเอกสารสำแดงตนเองผ่านระบบออนไลน์สำหรับเกษตรกรและชุมชน เพื่อใช้ในการยืนยันเอกสารสิทธิ์ทางการค้าในเอกสารที่ดิน แหล่งกำเนิดของไม้และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ช่วยในการเตรียมเอกสารเบื้องต้นสำหรับใช้ในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน เช่น หลักฐานการถือครองที่ดิน ข้อมูลผลิตภัณฑ์ไม้ สัดส่วนการใช้ประโยชน์และสภาพพื้นที่ป่า รวมถึงช่วยจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้เพื่อเป็นหลักฐานในการเคลื่อนย้าย การค้าขายผลิตภัณฑ์ไม้ และการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นไม้ในแปลงปลูก ตลอดจนการพัฒนาการจัดทำรายงานและ QR Code เพื่อแสดงผลแหล่งที่มา นอกจากนี้แพลตฟอร์ม eTree ยังมีประโยชน์ในการช่วยเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานจริง จากภาคประชาชนผู้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมการเชื่อมข้อมูลจากภาคประชาชน ไปสู่ระบบ RFD-Single window ช่วยให้กรมป่าไม้สามารถเข้าถึงและนำหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนไปสู่ชุมชน ภาคประชาชนง่ายยิ่งขึ้น และช่วยให้กรมป่าไม้เข้าถึงระบบสารสนเทศของชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

“ปัจจุบัน พบว่ามีการลงทะเบียนต้นไม้ในระบบ eTree มากกว่า 580,000 ต้น และพื้นที่เพาะปลูกกว่า 30,000 ไร่ โดยมีผู้ลงทะเบียนในระบบแล้วมากกว่า 5,000 คน ดังนั้น การนำระบบ eTree มาใช้ จึงเป็นทางออกของประเทศในการสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานให้กับตลาดการค้าไม้ นำไม้ที่ปลูกบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เข้าสู่ระบบอย่างถูกกฎหมาย ลดการลักลอบตัดไม้ ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการค้าไม้อย่างถูกต้อง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างธุรกิจต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และสนับสนุนให้เกิดการค้าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย”

นายธนพล  ต่อสิทธิเดชกุล : National Consultant on Tree Inventory and Forest Product กล่าวถึงแพลตฟอร์ม eTree ที่แบ่งการใช้งานเป็น 2 ระบบ

ระบบแรกคือ ระบบจัดการป่าอย่างยั่งยืน เป็นระบบที่พัฒนาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดการจัดการสวนป่า และป่าชุมชนอย่างยั่งยืน  ในเกณฑ์ ข้อ 1.1 หลักฐานแสดงสิทธิถือครองที่ดิน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ชัดเจน 2.2 การกำหนดขนาดและสัดส่วนของพื้นที่ป่ามีความเหมาะสม 2.3 มีแผนที่ แผนที่สังเขป ผังป่า และป้ายแสดงขอบเขตพื้นที่ที่จัดการอย่างชัดเจน 4.1 มีข้อมูลกำลังการผลิตของพื้นที่ป่าที่จัดการ 4.2 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติและรายได้จากการใช้ประโยชน์ผลผลิตและบริการจากพื้นที่ป่าที่จัดการดังที่แสดงให้ทุกท่านได้รับชม

ส่วนระบบที่ 2 คือระบบสำแดงความถูกต้องตามกฎหมายด้วยตนเอง การตัดและการนำเคลื่อนที่ไม้
(Self-Declaration) ดังจะแสดงให้ทุกท่านได้รับชม”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านเฮ!! 'พัชรวาท' มอบ 'กรมป่าไม้' เร่งพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ป่า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมป่าไม้ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ ชั้น 2 ซึ่งมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ป่าไม้

ทส. ส่งมอบความสุขวันสงกรานต์ 13-15 เม.ย. ยกเว้นค่าบริการท่องเที่ยวป่านันทนาการ 3 แห่ง

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายขับเคลื่อนด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบป่านันทนาการ

อ.อ.ป. ผสานความร่วมมือ กรมป่าไม้ และ ม.เกษตรฯ ลงนามความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัยไม้เศรษฐกิจพันธุ์ดีสู่ประชาชน”

วันนี้ (29 มีนาคม 2567) นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และ นายดำรง ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

บุกรุกป่าสงวน ตัดไม้เผาป่าเสม็ด ลอบปลูกปาล์มน้ำมัน หวังขายต่อนายทุนท่องเที่ยว

ผอ.สำนักบริหารจัดการป่าไม้ 12 กระบี่ คาดโทษ หาก จนท.รู้เห็นให้มีการบุกรุกป่าเสม็ด ย้ายออกจากพื้นที่ หลังไฟไหม้ป่า มีการบุกรุกป่าเสม็ด เกาะลันตาเป็นจำนวนมาก

กรมป่าไม้จัดกิจกรรม“วันป่าไม้สากล ปี 2567” จ.กาญจนบุรี

วันที่ 21 มี.ค. 67 พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้นายนพดล พลเสน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ป่าไม้ลุยทวงคืนสมบัติชาติ นายทุนบุกรุกปิดกั้นหาดนุ้ยภูเก็ต สั่งรื้อถอนใน 30 วัน

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกับ พ.ต.อ.ธีรวัฒน์ เลี่ยมสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต นำกำลังตำรวจสภ.กะรน ,ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ,ตำรวจภูธรภาค 8 ฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต และกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำหน่วยป้องกัน