ป่าไม้ลุยทวงคืนสมบัติชาติ นายทุนบุกรุกปิดกั้นหาดนุ้ยภูเก็ต สั่งรื้อถอนใน 30 วัน

12 มี.ค.2567 - นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกับ พ.ต.อ.ธีรวัฒน์ เลี่ยมสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต นำกำลังตำรวจสภ.กะรน ,ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ,ตำรวจภูธรภาค 8 ฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต และกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ภูเก็ต 2 รวมกว่า 100นาย พร้อมหมายศาลจังหวัดภูเก็ต เลขที่ 88/2567 ทำการตรวจค้นพื้นที่หาดนุ้ย ซอยแหลมมุมนอก หมู่ที่ 2 ตำบล กะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

เมื่อเดินทางถึงจุดเกิดเหตุมีป้ายประกาศไว้ด้านหน้าทางลงหาดนุ้ย เขียนข้อความว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินของ นายสิงหา เพ็งแก้ว จำนวนเนื้อที่ 18 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา โดยชอบด้วยกฎหมายห้ามบุคคลภายนอกเข้ายุ่งเกี่ยวรบกวนการครอบครองเด็ดขาดผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากนั้น พ.ต.ท.วิวัฒน์ ชำนาญกิจ รองผกก.ป.สภ.กะรน ได้นำหมายศาลจังหวัดภูเก็ตเข้าชี้แจงกับ นายธนากร เสียมหาญ ทนายความ ที่อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจในคดีพื้นที่ตรงนี้ เป็นผู้อนุญาตให้ตรวจค้น ซึ่งยินดีให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่และมีหลักฐานในการครอบครองที่ดิน มีเรื่องเดิมที่มีการต่อสู้คดีอยู่ในชั้นศาล

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ กรมป่าไม้ โดย อธิบดีกรมป่าไม้ ให้ ลงตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่สาธารณะโดยเฉพาะในเขตป่าสงวนแห่งชาติและตามพรบ.ป่าไม้ ทั่วประเทศ

"วันนี้(12 มี.ค.) ลงพื้นที่หาดนุ้ย ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ตรวจสอบว่ามีการก่อสร้างบุกรุกเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร ทำบัญชีตรวจยึดว่ามีสิ่งก่อสร้างอะไรบ้างจำนวนเท่าไร นำไปเป็นบัญชีของกลางเพื่อประกอบการดำเนินคดีที่ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้วที่สภ.กะรน ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด

พื้นที่ตรงนี้ เป็นคดีเดิมที่ได้ยึดจับกุมไว้ตั้งแต่ปี 61 และปี 62 แล้ว มีการรื้อถอนตามมาตรา 25 ของพรบ. ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในปี 63 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมายังมีผู้เข้ามาบุกรุกใหม่ในที่เดิม ทราบว่าเป็นกลุ่มบุคคลเดิม โดยเข้าไปดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ว่ามีการบุกรุกก่อสร้างหรือเปลี่ยนแปลงป่าสงวนแห่งชาติจากเดิมอย่างไรมีจำนวนเท่าไรมีสิ่งก่อสร้างอะไรบ้าง จากนั้นจะแจ้งความเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวนสภ.กะรน

เนื่องจากได้แจ้งความไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2567 เรื่องพื้นที่ต่างๆที่ถูกบุกรุกตามคดีเดิม และจะใช้ดำเนินการตามมาตรา 25 ของ พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในการรื้อถอนโดยทำหนังสือให้ผู้ครอบครองทำการรื้อถอนเองก่อน หากผู้ครอบครองไม่ยอมรื้อถอนเองเจ้าหน้าที่จะดำเนินการรื้อถอน โดยคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ผู้ที่ครอบครองในพื้นที่นั้นตามมาตรา 25 ดำเนินการตามกระบวนการทางปกครองทุกอย่าง

โดย พื้นที่ทั้งหมดมี 2 แปลงตั้งแต่ 61 จับกุมไปกว่า 8 ไร่ แปลงที่ 2 ปี 62 กว่า 5 ไร่ และมีพื้นที่สปกรวมอยู่ด้วยประมาณ 1 ไร่ พิสูจน์ชัดแล้วว่าสปก.ไม่ได้เป็นเจ้าของ รวมทั้งหมด ประมาณ 18ไร่ ในพื้นที่ดังกล่าวทั้ง 2 แปลง มีการล้อมรั้วแสดงความเป็นเจ้าของ ปิดกั้นไม่ให้คนเข้า และมีการเก็บเงินค่าผ่านทางเข้าไป เพื่อเดินลงสู่หาดนุ้ย

จากการที่คำพิพากษาของศาลฎีกาในอดีตเพิกถอน เอกสารสิทธิ์นส.3 ในพื้นที่ดังกล่าว ออกไปให้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 621 ในปี 2566 ซึ่งการสำรวจของการครอบครอง หลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ฉะนั้นไม่มีข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 4 และมาตรา 6 คือ ผู้ใดครอบครองที่ดินมาก่อนประกาศประมวลกฎหมายที่ดินมีผลบังคับใช้ สามารถใช้เป็นสิทธิ์ครอบครองรวมทั้งการถ่ายโอน หมายความว่าครอบครองก่อนปี 2497 ถือว่ายังมีสิทธิ์ครอบครองต่อไป ตามประมวลกฎหมายที่ดินยกเว้นไว้ให้

แต่รายนี้ มีครอบครองครั้งแรกปี 2501 ฉะนั้นหลังประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้ ถือว่าเป็นป่า ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ของรัฐในป่าสงวนแห่งชาติ มีการ นำสค. 1 บิน มาจากที่อื่นแล้วมาสวมตรงนี้พิสูจน์แล้วว่าสค.1 นั้นไม่ใช่บริเวณนี้ ดังนั้น พื้นที่นี้จึงกลับคืนสู่สถานะป่าสงวนแห่งชาติตามเดิม

ซึ่งทราบว่าเป็นกลุ่มบุคคลเดิม ที่แสดงตัวครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่ จะมีกรอบตามกฎหมายออกประกาศให้ทำการรื้อถอนภายใน 30 วันหรือ 45 วันถ้าครบกำหนดไม่ดำเนินการจะดำเนินการเองกำหนดกรอบเวลาไว้ตามกฎหมาย

จากการตรวจสอบ พบว่า พื้นที่ดังกล่าว มีการบุกรุกชายหาด โดย ชายหาดจะต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันไม่สามารถปิดกั้นให้ใครเข้าลง ซึ่งสภาพภูมิประเทศสวยงาม เดินทางเข้ามาลำบากมากถ้าไม่ใช่รถโฟวิลเข้ายาก ถ้าเป็นอดีตเข้ามาทางเรือ มาจอดถ่ายรูปเล่นน้ำและออกไป แต่ถ้ามาทางบกเข้ามาลำบากมาก ดูสภาพพื้นที่ตรงนี้

คือมองเห็นแล้วชัดเจนว่า เหมาะสำหรับเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นพื้นที่ป่าเขาเป็นพื้นที่ชายหาดมีสภาพภูมิประเทศสวยงามเป็นอ่าวส่วนตัวเอาเล็กๆมีโขดหินมีหาดทรายพอสมควร เป็นชายหาดที่สงบธรรมชาติ ควรให้ประชาชนส่วนรวม ใช้ประโยชน์ภายใต้การควบคุม ให้มีการสมดุลและยั่งยืนให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยไม่สามารถเป็นส่วนบุคคลได้ ซึ่งข้างบนมีการก่อสร้าง เป็นบ้านพัก ร้านจำหน่ายอาหารจุดชมวิวต่างๆมีการบริการเซิร์ฟบริการดำน้ำบริการท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถทำได้ตามพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากสถานะพื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด เป็นกฎหมาย ที่ทุกคนรู้ว่าการบุกรุกไม่ถูกต้อง เป็นหน้าที่ของกรมป่าไม้ต้องเข้ามาดูแล

ส่วนทนายความ ให้ความร่วมมือดีเพียงแต่ถามว่าเราได้รับคำสั่งการจากใคร หรือจากกระแสข่าวเราได้บอกว่าเราดำเนินการมาตลอดตั้งแต่ปลายปี 66 แต่ถูกปิดกั้นไม่ให้เข้ามีการวางแผนการเข้ามาในพื้นที่วันนี้ ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่จากการที่รู้แล้วว่าปี 66 มีการบุกรุกการก่อสร้างในพื้นที่เดิมจึงวางแผนปฏิบัติการในวันนี้ดำเนินการตามขั้นตอนไม่ใช่ตามกระแสข่าว แต่เมื่อกระแสข่าวออกมาแล้ว ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการมาที่ปลัดกระทรวงฯ และถึงอธิบดีกรมป่าไม้ ให้ลงมาตรวจสอบประสานภูธรภาค 8 และฝ่ายพลเรือน ทุกฝ่ายมาใช้ขั้นตอนตามกฎหมายขอหมายค้นมาเรียบร้อย ทำถูกต้องตามกฎหมายทางผู้ยึดถือครอบครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ตรวจสอบ พบว่า มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมา กว่า 50 รายการ เจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัด แต่ละหลังพิกัดกว้างยาว ถ่ายรูปสิ่งก่อสร้างนำไปประกอบดำเนินคดีตามพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่แจ้งความไว้ แล้วจะใช้วิธีการ ทางการปกครองออกคำสั่งให้ ผู้ครอบครองดำเนินการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่บุกรุกป่าสงวนทั้งหมดด้วยตนเองภายในกำหนดเวลาถ้าไม่ดำเนินการเจ้าหน้าที่จะทำการรื้อถอนเองโดยคิดค่าใช้จ่าย จากผู้ครอบครอง เป็นกระบวนการตามกฎหมายที่จะดำเนินการ

นอกจากนี้ กรมป่าไม้อยู่ระหว่างดำเนินการ โครงการพื้นที่ป่านันทนาการเช่นหาด Freedom อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนใกล้เคียงได้รับรู้เห็นชอบกับการทำโครงการป่านันทนาการเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ถ้าตกเป็นส่วนบุคคลจะลงชายหาดไม่ได้ ดังนั้น กรมป่าไม้พยายามจะปรับปรุงรูปแบบการทำงาน ให้ยึดคืนพื้นที่มาได้อย่างถาวรต่อไป"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปฏิบัติการ 'สิงห์ทมิฬ' ทลายสินค้าเถื่อนเมืองภูเก็ต มูลค่าเสียหาย 500 ล้านบาท

กรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ "สิงห์ทมิฬ" นำหมายศาลบุกค้น ร้านขายบุหรี่เถื่อน เหล้าเถื่อน กลางเมืองภูเก็ต มูลค่าความเสียหายกว่า 500 ล้านบาท ลักลอบขนเข้าทางเรือ

นายกฯ ยัน ร่วมโต๊ะอาหารเที่ยงกับ 'เอกนัฏ'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับนายกรัฐมนตรีและคณะ

พบแล้ว ร่างลูกเรือประมงพลัดตกน้ำใกล้เกาะมุก ไต๋เรือนำศพกลับขึ้นฝั่งที่ภูเก็ต

น.อ.พิเชษฐ์ ซองตัน ผอ.กองสารนิเทศ และโฆษก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค3) เปิดเผยว่า วันนี้ เวลา 09.43 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภูเก็ตได้รับแจ้งจาก เรือ พิชัยสมุทร 9 ประเภท อวนลากคู่

เกาะหูยง อุทยานฯสิมิลัน แหล่งอนุรักษ์เต่าทะเล เผยสถิติเต่าวางไข่กว่า 1 หมื่นฟองต่อปี

กองทัพเรือ ได้จัดทำโครงการ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน โดยมอบให้ ทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เมื่อปี 2538 ซึ่งกำหนดจุดอนุบาลเต่า ทะเลจำนวน 2 จุดพื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพราะฟักไข่เต่าในพื้นที่เกาะ

ทส. ส่งมอบความสุขวันสงกรานต์ 13-15 เม.ย. ยกเว้นค่าบริการท่องเที่ยวป่านันทนาการ 3 แห่ง

พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายขับเคลื่อนด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบป่านันทนาการ

อ.อ.ป. ผสานความร่วมมือ กรมป่าไม้ และ ม.เกษตรฯ ลงนามความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัยไม้เศรษฐกิจพันธุ์ดีสู่ประชาชน”

วันนี้ (29 มีนาคม 2567) นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และ นายดำรง ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ