อนันต์ วาร์ม่า ช่างภาพเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เอ็กซ์พลอเรอร์ เด็กชายที่ฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ผันตัวเองมาเป็นช่างภาพ นำเสนอเรื่องราวชีวิตสัตว์ในเชิงวิทยาศาสตร์

อนันต์ วาร์ม่า เคยเป็นเด็กชายตัวน้อยที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง และใฝ่ฝันที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ เพราะเชื่อว่ามันคืออาชีพที่จะช่วยให้เขาได้ใช้ชีวิตอยู่กับกิจกรรมกลางแจ้งอยู่เสมอ แต่อนันต์ไม่เคยคาดคิดว่าเขาจะไม่ได้ทำงานทำการทดลองหรือค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ใด ๆ ทว่า เขากลายมาเป็นช่างภาพประจำเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เอ็กซ์พลอเรอร์ที่หาตัวจับยาก

อนันต์เป็นหนึ่งในวิทยากรที่มาเล่าถึงพลังของการเล่าเรื่องในแบบเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ในงาน Sustainability Expo 2023 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดถึงในเช้าวันสุดท้ายก่อนปิดงาน ตลอดชีวิตการทำงานที่ผ่านมา อนันต์เลือกเล่าเรื่องที่ยากและซับซ้อนอย่างชีวิตสัตว์ ผ่านภาพนิ่งหรือวิดีโอ และริเริ่ม WonderLab ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องในรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพและวิดีโอแบบสร้างสรรค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความเข้าใจใหม่ ๆ ของโลกเรา โดยเวทีนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีประสบการณ์อันเข้มข้นจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก อีกท่านอย่าง เคทลิน ยาร์แนล (Kaitlin Yarnall) ซึ่งมีตำแหน่งเป็น Chief Storytelling Officer ที่ National Geographic Society ที่ส่งคลิปเล่าเรื่องพลังแห่งการเล่าเรื่องมาทางวิดีโอ

ทุกอย่างเริ่มขึ้นเมื่อเขาได้มีโอกาสหยิบกล้องของพ่อเป็นครั้งแรกเมื่อตอนมัธยมปลายเพื่อนำมาถ่ายรูปงูที่บังเอิญเจอพร้อมกับเพื่อน "ภาพงูช็อตนั้นไม่ได้สวยงามน่าประทับใจอะไรเลย แต่ผมประทับใจกับรายละเอียดที่เพื่อนผมเห็นจากภาพนั้นต่างหาก" อนันต์เล่าถึงภาพงูที่มีองค์ประกอบภาพ แสงเงาลงตัวมากที่สุดภาพหนึ่ง  เขากลับไม่ได้ประทับใจองค์ประกอบใด ๆ ของภาพ แต่สนใจปฏิกิริยาของเพื่อนที่มองเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ในภาพ "มันทำให้ผมรู้ว่าภาพช่วงเวลานั้นมีเรื่องราว"

ในวันที่เขาไปเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยก็ยังไม่เลิกล้มความตั้งใจ วิ่งตามฝันอาชีพนักวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาได้มีโอกาสลงไปสำรวจถ้ำแห่งหนึ่ง และค้นพบว่าการค้นหาทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถทำได้ผ่านการถ่ายภาพ เขาจึงเริ่มส่งประเด็นเกี่ยวกับ "ไร" เสนอไปยังเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ผ่านรูปถ่ายเป็นครั้งแรกของเขา และนั่นจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นความพลิกผันจากเส้นทางนักวิทยาศาสตร์เข้าสู่เส้นทางช่างภาพ

หลังจากนั้นเขาเริ่มโปรเจ็กต์ถ่ายภาพเคลื่อนไหวของผึ้ง และสัตว์บางประเภทที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วอย่างนกฮัมมิงเบิร์ด ซึ่งกลายเป็นโจทย์ใหม่ของการนำเสนอ เนื่องจากภาพชีวิตสัตว์บางประเภทมีความน่าสนใจมากกว่าแค่การเผยแพร่เป็นภาพนิ่ง นั่นจึงเป็นที่มาของการนำเสนอการเคลื่อนไหวหรือชีวิตของสัตว์บางประเภทในรูปแบบวิดีโอ วิดีโอเหล่านี้มีทั้งการย่นชีวิตภาพการเจริญเติบโตของผึ้งตลอด 21 วันแรกให้เหลือเพียง 1 นาทีในรูปแบบของ Time lapse หรือวิดีโอภาพเคลื่อนไหวของนกขนาดเล็กที่สุดในโลกที่บินด้วยความเร็วสูงอย่างนกฮัมมิงเบิร์ด ที่ต้องใช้กล้องที่สามารถจับความเร็วได้สูงเพื่อจับภาพให้เราได้เห็นจังหวะการบินช้าลงถึง 100 เท่าเพื่อให้เห็นจังหวะที่นกตัวน้อยบินลงมากินน้ำจากปลายหลอดเข็มฉีดยา หรือแม้แต่จังหวะกะพริบตาอย่างชัดเจน

"มีนักวิทยาศาสตร์บางคนบอกผมว่าเขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากวิดีโอ Time lapse การเจริญเติบโตของผึ้ง" อนันต์เล่าถึงความเห็นจากนักวิทยาศาสตร์หลังจากที่วิดีโอผึ้งถูกเผยแพร่อออกไป ทำให้เขามั่นใจว่า การเป็นช่างภาพในแบบของเขาก็ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับวงการวิทยาศาสตร์ได้เช่นกัน

อีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่อนันต์ภูมิใจมากคือการทำวิดีโอแมงกะพรุน ที่เขาต้องสร้างแล็บขนาดย่อมด้วยการติดตั้งตู้ปลาในโรงรถเฝ้าดูการเติบโตของแมงกะพรุน ตั้งแต่การเริ่มต้นจากตัวอ่อนเกาะที่ดอกไม้ทะเลก่อนจะเริ่มเติบโตและแบ่งตัวออกจากกันไปเจริญเติบโตในท้องทะเล

"บางสิ่งบางอย่างนั้นไม่ได้เหมาะกับการเผยแพร่ในรูปแบบภาพพิมพ์" อนันต์เล่าถึงที่มาของการจัดนิทรรศการการเจริญเติบโตของแมงกระพรุน ที่นำเอาวิดีโอที่เล่าถึงการเริ่มต้นชีวิตของแมงกะพรุนให้ผู้เข้าชมนิทรรศการดูโดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ จนกระทั่งจบ เมื่อเดินออกจากห้องฉายวิดีโอที่ทำให้ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการรู้สึกราวกับเพิ่งเดินออกจากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์จึงมีโอกาสได้เห็นคำอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ที่เขาเพิ่งชมจากวิดีโอ

ปัจจุบันเขาทำโครงการ WonderLab (https://www.nationalgeographic.org/society/our-programs/wonderlab/) ที่สร้างความร่วมมือระหว่างแล็บของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก สตูดิโอถ่ายภาพ และสถานศึกษา เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้เข้ามาเรียนรู้ชีวิตและการเคลื่อนไหวของสัตว์ผ่านเลนส์ด้วยการมีส่วนร่วมในการลงมือถ่ายทำเอง ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและมุมมองใหม่ ๆ ของการเล่าเรื่องผ่านภาพถ่ายและวิดีโอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SX2023 พลังแห่งความร่วมมือ ต้นแบบ Platform ความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ปลุกกระแสเยาวชน และผู้เข้าชมงาน มากกว่า 3 แสนคน

นับเป็นต้นแบบของ “Collaboration platform” พลังแห่งความร่วมมือด้านความยั่งยืนระดับโลก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สำหรับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023)

ร่วมกันสู้กับขยะในทะเลเพื่อคืนความหลากหลายทางชีวภาพแก่โลก

นอกจากปัญหาโลกร้อนที่กำลังจะเข้าสู่ยุคโลกเดือดที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกประเด็นหนึ่งที่ทุกภาคส่วนพยายามอย่างหนักในการร่วมกันบรรเทาความรุนแรง

ทำความ “ต่าง” ให้เป็นความ “ปกติ” ชุมชนชาติพันธุ์กับการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและธรรมชาติในท้องถิ่น

ทุกประเทศทั่วโลกไม่ได้ประกอบไปด้วยประชากรเพียงกลุ่มเดียว แต่สร้างขึ้นจากกลุ่มชาติพันธุ์มากมายที่มีความหลากหลายทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม และความเป็นอยู่

WAVE BCG เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานให้ได้รับรองเป็น “CARBON NEUTRAL EVENT” สำหรับงาน Sustainability Expo 2023

นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด หรือ WAVE BCG ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทเวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน)

ผ่าแนวคิด "อยู่อย่างไร...ให้เป็นสุข? บนโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา" บนเวที SX

เราต่างรู้กันดีว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง จากที่เราได้เห็นตามสื่อต่างๆ และเริ่มรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของโลก ในการก้าวเข้าสู่ “ยุคโลกเดือด”

เผยความลับการนอน หัวใจหลักของการมีชีวิตที่ดี บนเวที SX2023

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ ร่วมไขความลับการมีสุขภาพดีที่ยั่งยืน เผยหัวใจหลักเริ่มต้นที่การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ